มีการศึกษาและตีพิมพ์งานวิจัยลงในวารสารระดับนานาชาติเกี่ยวกับโรคมะเร็ง (International Journal of Cancer) ทีมได้วิจัยข้อมูลจากผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก 621 คน และ ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม 1,205 คน และผู้ที่ไม่ได้เป็นมะเร็ง ผู้ชาย 872 คน ผู้หญิง 1,321 คน
อาสาสมัครถูกเก็บข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันทั้ง พฤติกรรมการกิน เวลาในการรับประทานอาหาร การนอนหลับ กิจกรรมที่ทำในตอนเช้าหรือตอนเย็น
“การศึกษาในครั้งนี้สรุปว่าการรับประทานอาหารในแต่ละวัน มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของโรคมะเร็ง” Manolis Kogevinas นักวิจัยจากสถาบันบาร์เซโลนาเพื่อสุขภาพระดับโลก (ISGlobal) ในสเปนได้กล่าว
การรับประทานอาหารมื้อเย็นก่อน 3 ทุ่ม หรืออย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมากได้ โดยเปรียบเทียบกับผู้ที่รับประทานอาหารมื้อเย็นหลัง 3 ทุ่ม หรือผู้ที่เข้านอนหลังอาหารทันที ผู้ที่รับประทานอาหารเย็นก่อน ก่อน 3 ทุ่ม. หรือรออย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งประมาณ 20% เลยทีเดียว
นักวิจัยพบว่ามะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมาก ยังมีผลกับคนที่ต้องทำงานกะกลางคืนมากที่สุด ซึ่งอาจเป็นเพราะนาฬิกาชีวิต เนื่องจากเป็นการฝืนกระบวนทางชีวภาพของร่างกายในรอบ 24 ชั่วโมง จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง
การวิจัยยังได้แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ชอบรับประทานอาหารหรือของว่างตอนกลางคืน อาจมีผลกระทบคล้ายกันกับผู้ที่ทำงานกะกลางคืนเพราะส่งผลต่อระบบการทำงานในร่างกายเสี่ยงเป็นมะเร็งได้เช่นกัน
ที่มา zeenews