คัดลอก URL แล้ว
“วัฒนธรรมการเบียดเสียด” ของเกาหลีใต้ที่หลายฝ่ายเริ่มกลับมาให้ความสนใจหลังโศกนาฏกรรมที่อิแทวอน

“วัฒนธรรมการเบียดเสียด” ของเกาหลีใต้ที่หลายฝ่ายเริ่มกลับมาให้ความสนใจหลังโศกนาฏกรรมที่อิแทวอน

KEY :

จากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในย่านอิแทวอนจนทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 156 ราย และกลายเป็นข่าวดังไปทั่วโลกทำให้นักวิชาการบางส่วนในเกาหลีใต้ เริ่มตั้งข้อสังเกตกับ “วัฒนธรรมเบียดเสียด” และความคุ้นเคยกับความแออัดกันในสถานที่ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันที่พบได้ทั่วไปในเกาหลีใต้อาจจะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดเหตุสลดในครั้งนี้

นักวิชาการในประเทศเกาหลีใต้ได้ตั้งข้อสังเกตถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ว่า ปัจจัยหนึ่งมาจากคนจำนวนมากที่ไปรวมตัวกันในย่านอิแทวอน เพื่อเที่ยวในเทศกาลวันฮาโลวีนที่จัดขึ้น โดยในปีนี้ ถือว่า เป็นปีแรกที่มีการจัดงานโดยได้รับการยกเว้นมาตรการการรักษาระยะห่าง ๆ ต่าง หลังจากที่มีโควิด-19 ระบาด ในประเทศเกาหลีใต้

เมื่อผู้คนต่างหลั่งไหลกันไปในย่านอิแทวอน ต่างก็ต้องการเข้าบรรยากาศดังกล่าว โดยต่าง “เบียดเสียด” กันเข้าไปในซอยที่มีสถานบันเทิง ผับ บาร์ เรียงรายกันสองฝั่งของซอยแคบ ๆ ต่างคนก็ต่างเบียด ผลัก ดันกันตาม ๆ กันไป ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งที่คุ้นชินกับวัฒนธรรมของชาวเกาหลีใต้

อะไรขึ้นวัฒนธรรมการเบียดเสียดอะไรขึ้นวัฒนธรรมการเบียดเสียด

โดยในแต่ละวันในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน รถไฟใต้ดิน จะมีผู้คนจำนวนมากต่างไปรอที่จะขึ้นรถไฟใต้ดินในกรุงโซลเพื่อเดินทางไปทำงาน เมื่อรถไฟมาถึง ผู้คนก็จะเบียดเสียดกันเข้าไปในรถไฟเพื่อให้ตัวเองสามารถขึ้นไปอยู่บนขบวนรถไฟ เพื่อเดินทางไปยังปลายทางที่ตั้งใจไว้ได้

สำหรับคนไทย อาจจะคุ้นตากับภาพของการเบียดเสียดกันในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนของญี่ปุ่นที่มีผู้คนแออัดกันในรถไฟ ซึ่งเกาหลีใต้ ก็ไม่ต่างกัน ผู้คนต่างเบียดเสียด ผลัก-ดันกัน

และนั่น ถือเป็น “เรื่องปรกติ” ที่พบได้ทั่วไปในประเทศเกาหลีใต้ เช่นเดียวกับการไปร่วมงานอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น คอนเสิร์ต งานเทศกาล สถานที่ต่าง ๆ ที่มีผู้คนรวมตัวกันเป็นจำนวนมาก

การเดินชนกัน กระแทกกัน เบียดกัน ถือเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไป สำหรับคนไทยอาจจะไม่คุ้นเคยในวิถีชีวิตในลักษณะนั้นเท่าไหร่ ด้วยความรู้สึกที่ไม่ชอบการที่จะต้องให้ใครมาเบียด หรือแตะเนื้อต้องตัวกัน

ความเคยชินทำให้ไม่ตระหนักถึงอันตรายนั้น

ในทางกลับกัน ชาวเกาหลีใต้ที่อยู่ในประเทศไทย กลับรู้สึกแปลกใจเมื่อเห็นคนไทย “ยืนรอรถไฟฟ้าขบวนถัดไป” เพื่อคนเต็ม ซึ่งชาวเกาหลีใต้หลายคนระบุว่า ในรถไฟฟ้านั้น ยังคงเบียดกันเข้าไปได้อยู่ และไม่เข้าใจว่า “ทำไมต้องรอ” ดังนั้นการที่จะดันตัวเองเข้าไปในขบวนรถไฟจึง “เป็นเรื่องปรกติ” สำหรับชาวเกาหลีใต้

การดันและเบียดเสียดกันเข้าไปในขบวนรถไฟจึงกลายเป็น “ความคุ้นชิน” กับสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งนักวิชาการชาวเกาหลีใต้ระบุว่า “นั่นทำให้เราไม่ได้ตระหนักถึงอันตราย” จากการเบียดกันแต่อย่างใด

ข้อมูลจาก Seoul Metro webzine ระบุว่า รถไฟใต้ดินในกรุงโซลนั้น มีความจุอยู่ที่ 160 คน/ตู้โดยสาร ซึ่งในชั่วโมงเร่งด่วนพบว่า ความแออัดของผู้โดยสารโดยเฉพาะที่สถานีกูโร นั้นสูงถึง 403 คน หรือคิดเป็นจำนวนผู้โดยสาร 252% ของความจุ

หรือที่สถานีทงจัก อยู่ที่ราว 380 คน/ตู้ หรือคิดเป็น 238% ของความจุผู้โดยสาร

จำนวนผู้โดยสารกว่า 400 คนในพื้นที่ในตู้โดยสารขนาด 60.84 ตร.ม. คิดเป็น 6.6 คนต่อตารางเมตร และเมื่อคำนวณความหนาแน่นของนักท่องเที่ยวในเหตุการณ์ที่อิแทวอนพบว่า “อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน”

ทางลาดเอียงของจุดเกิดเหตุสลด

และความคุ้นชินกับสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ นักวิชาการของเกาหลีใต้คาดว่า นักท่องเที่ยวหลายคนไม่ได้ตระหนักต่อสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอิแทวอน และยังคงเบียดและดันกันเข้าไปในตรอกแคบ ๆ

เมื่อไปเจอกับทางลาดในซอยข้างโรงแรมแฮมิลตัน ซึ่งเป็นจุดเกิดเหตุการณ์ในครั้งนี้ ทำให้ผู้คนบางส่วนล้มลงและคนที่อยู่ด้านหลังล้มทับตามกันลงมาจนกลายเป็นโศกนาฏกรรมในที่สุด

หลายฝ่ายจึงเริ่มจับตามองไปยังงานเทศกาลหรือกิจกรรมอื่น ๆ อีกเช่น งานเทศกาลดอกไม้ไฟที่เมืองปูซาน ที่มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 1 ล้านคน, การแข่งขันกีฬา, งานคอนเสิร์ต, จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นยอดนิยมที่คังวอนโด ซึ่งมักจะมีคนจำนวนมากไปร่วมงานกันอย่างแออัด

ซึ่งความคุ้นเคยกับ “วัฒนธรรมเบียดเสียด” การผลัก-ดันกันในสถานที่ต่าง ๆ อาจจะก่อให้เกิดเหตุโศกนาฏกรรมซ้ำรอยกับที่อิแทวอนได้ในอนาคต

หลายฝ่ายเริ่มเรียกร้องให้ตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้น

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่อิแทวอน จึงทำให้ฝ่ายบริหารของเกาหลีใต้ เริ่มกลับมามองต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานีรถไฟใต้ดินของเกาหลีใต้ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ซึ่งมีจำนวนคนมากมายใช้เดินทางในแต่ละวัน

และอาจจะเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยกับที่เกิดขึ้นที่อิแทวอนได้เช่นกัน โดยนักกฏหมายในท้องถิ่นได้เรียกร้องให้ รัฐหามาตรการจัดการในการลดความแออัดในสถานีรถไฟใต้ดิน โดยเฉพาะรถไฟใต้ดินจากเมืองกิมโปโด ที่ถูกขนานนามว่า “นรกเหล็ก” เนื่องจากความแออัดของผู้ใช้บริการในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนสูงถึง 285% ของความจุผู้โดยสาร

ซึ่งรถไฟในเมืองกิมโบแห่งนี้ มีระยะทางรวม 23.67 กม. จากสถานีสนามบินกิมโปไปยังกรุงโซล โดยมีผู้โดยสารเฉลี่ยราว 68,000 คนต่อวัน ในขณะที่จำนวนพนักงานที่ดูแลมีจำนวนเพียง 212 คน จึงเป็นเรื่องยากที่จะรับมือกับจำนวนผู้โดยสารที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก

ที่ผ่านมา มีผู้ใช้บริการหลายรายได้มีการร้องเรียนว่า จำนวนผู้ใช้บริการรถไฟใต้ดินมีจำนวนมาก หลายคนระบุว่า หลายครั้งที่มีอาการหายใจไม่ออกจากการเบียดเสียดกันในขบวน

(ภาพ – ซินหัว)

อ้างอิง :


ข่าวที่เกี่ยวข้อง