คัดลอก URL แล้ว
ตากระตุก เกิดจากอะไร? ในทางการแพทย์ไม่ใช่ ขวาร้าย ซ้ายดี

ตากระตุก เกิดจากอะไร? ในทางการแพทย์ไม่ใช่ ขวาร้าย ซ้ายดี

ขวาร้าย ซ้ายดี ประโยคความเชื่อนี้หลายคนคงเคยได้ยินกันมานาน ในทางการแพทย์ หากมีอาการ ตากระตุก นั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า คุณกำลังมีปัญหาสุขภาพอยู่

สาเหตุตากระตุก

อาการตากระตุกแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ 1.เปลือกตากระตุก 2.ตากระตุก

เปลือกตากระตุก อาจเกิดจากนิสัยความเคยชินในวัยเด็ก เด็กบางคนสามารถกระตุกเปลือกตาและใบหน้าเป็นครั้งคราวได้ และสามารถหยุดได้ทันทีเมื่อต้องการหยุด อาการจะหายไปได้เมื่อโตขึ้น นอกจากนั้นอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ มักพบในคน สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป อาการจะเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย จะมีอาการเปลือกตา ค่อยๆ บีบตัวเกร็งทีละน้อยจนกลายเป็นหลับตาแน่นมากทั้งสองตา เกิดเป็นครั้งคราว เป็นๆ หายๆ ขณะหลับจะไม่มีอาการ

หากทิ้งไว้นาน ความรุนแรงและความถี่จะมากขึ้นจน กลายเป็นตาปิดตลอด ทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ เปลือกตากระตุกอีกชนิดเกิดจากกล้ามเนื้อตาและกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้ากระตุก มักเกิดจากเส้นเลือดในสมองโป่งพอง หรือมีเนื้องอกกดเส้นประสาทที่มาเลี้ยงเปลือกตา จะมีอาการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อเปลือกตาและกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีกอาการเกร็ง จะคงอยู่แม้ขณะหลับจะมีอันตรายต้องได้รับการผ่าตัด

ตากระตุก เป็นอาการกระตุกของลูกตาเป็นจังหวะด้วยทิศทางและความแรงแตกต่างกันออก ไป เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น เกิดขึ้นภายใน 2-3 เดือนแรก หลังคลอดหากลูกตากระตุกเท่าๆ กันในตาทั้งสองข้าง อาจร่วมกับการมีศีรษะสั่นด้วย ผู้มีอาการหรือผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น นอกจากนี้ยังพบได้จากการความล้าของกล้ามเนื้อตา ทำให้ตากระตุก กลุ่มนี้ไม่มีปัญหาอะไรหายเองได้ แต่หากอาการตากระตุกเป็นอยู่นานๆ ควรต้องไปพบแพทย์ เพื่อตรวจสอบ หาสาเหตุของโรคจะได้แก้ไขอย่างถูกต้องต่อไป

โดยมักเกิดจากการยิงสัญญาณประสาทตามเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ซึ่งปกติจะหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อเปลือกตาและใบหน้ามากกว่าปกติ ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อเปลือกตา และกล้ามเนื้อใบหน้าเป็นไปโดยไม่ได้สั่งงาน บางคนจะมีเฉพาะเปลือก ตากระตุก บางคนก็มีกล้ามเนื้อใบหน้าหรือมุมปากกระตุกร่วมด้วย

โรคที่อาจเป็นสาเหตุของเปลือกตากระตุก

มีหลายโรค เช่น หลอดเลือดแดงไปกดทับเส้นประสาทในคนที่มีความดันเลือดสูง เนื้องอกของอวัยวะใกล้เส้นประสาท หรือของเส้นประสาทเอง แต่ส่วนใหญ่จะไม่พบโรคร้ายแรง (และไม่มีโรคที่เป็นสาเหตุ) และมักเป็นข้างเดียว พบมากในผู้สูงอายุ ตัวกระตุ้นก็เช่น ความเครียด การอดนอน กาเฟอีน แอลกอฮอล์

การรักษา มีหลายทางเลือก

แนะนำให้พบแพทย์และตรวจร่างกายจากนั้นขอคำปรึกษาเรื่องทางเลือกการรักษาที่เหมาะสม

ที่มา doctor, thaihealth


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง