คัดลอก URL แล้ว
carhorn

จะเปลี่ยนเสียงแตรรถใหม่ให้ดีต่อใจ ควรคิดให้ดีอาจมีโทษ!

แตรรถ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการแจ้งเตือนหรือส่งสัญญาณแก่ผู้สัญจรด้านอก ซึ่งบางครั้งก็ใช้สำหรับแจ้งเตือน ขอทาง เรียกเพื่อนร่วมทาง หรือแม้แต่ใช้ในการสนทนาทั้งเชิงบวก และเชิงลบ ซึ่งขึ้นกับปัจจัย และสภาพอารมณ์ของผู้ขับขี่ แต่หลาย ๆ ท่านคงอาจจะรู้สึกเบื่อเสียงแตรรถแบบเก่าที่ฟังแล้วรู้สึกจี๊ดหัวใจ เลยคิดในใจว่าจะดีกว่านี้ไหมหากสามารถเลือกเสียงแตรได้ตามต้องการ ซึ่งทางทฤษฎีแล้วก็สามารถเปลี่ยนชิ้นส่วนแตร หรือซอร์ฟแวร์ได้

แต่ตามกฎหมายนั้นทำไม่ได้แน่นอน! เนื่องจากบางประเทศ หรือบางรัฐ จะมีกฎห้ามดัดแปลงแตร หรือกำหนดเสียงแตรรถตามกฎหมายแล้ว ซึ่งในไทยก็มีกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน

กฎหมายที่เกี่ยวกับแตรรถ

Carhorn
(ภาพ freepick.com)

พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ได้กำหนดไว้ว่ารถยนต์ต้องมีแตรสัญญาณโดยกำหนดให้เป็นเสียงเดียว ดังไม่น้อยกว่า 90 – 115 เดซิเบล เอ (จากด้านหน้ารถ 2 เมตร) มีระยะได้ยินไม่น้อยกว่า 60 เมตร และติดตั้งได้เพียง 1 ชุดเท่านั้น

ไม่อนุญาตให้ติดตั้งเสียงแตรแบบอื่น แตรสองเสียง เสียงแตกพร่า หรือไม่อนุญาตดัดแปลงเสียงสัญณาณอื่นนอกเหนือจากที่กำหนด รวมถึงไม่อนุญาตติดตั้งแตรลม หากฝ่าฝืน จะมีโทษปรับ 1,000 – 2,000 บาท

รวมถึงในมาตรรา 13 ยังไม่อนุญาตให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรน เสียงสัญญาณนกหวีด หรือเสียงสัญญาณเฉพาะสำหรับรถยนต์เจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติภารกิจฉุกเฉิน ได้แก่ รถตำรวจ รถพยาบาล รถกู้ภัย รถฉุกเฉิน และรถดับเพลิง หรือยานพาหนะอื่น เช่น เรือ รถไฟ ตามที่อธิบดีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความสับสนในการใช้ถนนได้

และมาตรา 14 การบีบแตร จะใช้ได้เฉพาะเมื่อจําเป็นหรือป้องกัน อุบัติเหตุเท่านั้น โดยจะต้องกดในจังหวะสั้น ๆ เท่านั้น ห้ากดยาว หรือกดย้ำถี่เกินไป หากฝ่าฝืนจะมีมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท


เสียงแตรเดิมอาจจะไม่รื่นรมย์หู และหัวใจ แต่ด้วยหน้าที่มันจริง ๆ คือการ ส่งสัญญาณ “เตือน” ด้วยเเสียงแก่ผู้สัญจรเพื่อช่วยเพิ่มความระมัดระวังอุบัติเหตุได้เป็นอย่างดี และด้วยเสียงแตรที่คุ้นเคย ก็ช่วยให้ผู้สัญจรสามารถเตรียมตัวหลบเลี่ยง หรือรับมือได้ทันทีดีกว่าได้ยินเสียงแตรที่ไม่คุ้นจนต้องใช้เวลาในการคิด และจบลงด้วยอุบัติเหตุ หรือการกระทบกระทั่งจนเกิดการทะเลาะวิวาทตามมาได้

การเปลี่ยนเสียงแตรใหม่ นอกจากผิดกฎหมายจนต้องเสียค่าปรับแล้ว ยังเป็นการตกแต่งรถที่ไร้ประโยชน์ และเสียเงินสูญเปล่าอีกด้วย

เครดิตข้อมูลจาก กรมการขนส่งทางบก, พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 และ พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง