คัดลอก URL แล้ว
รัสเซียประกาศจำกัดส่งออก “ก๊าซเฉื่อย” ส่อวิกฤติ ชิปขาดตลาด

รัสเซียประกาศจำกัดส่งออก “ก๊าซเฉื่อย” ส่อวิกฤติ ชิปขาดตลาด

KEY :

รัสเซียประกาศจะจำกัดการส่งออกก๊าซเฉื่อย ๆ ต่าง ซึ่งรวมถึงก๊าซนีออน เพื่อตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรต่อสหภาพยุโรป โดยทางการรัสเซียได้เปิดเผยประกาศฉบับใหม่ ของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าที่จะจำกัดการส่งออกก๊าซในกลุ่มก๊าซเฉื่อยต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงก๊าซอย่าง นีออน, อาร์กอน, ซีนอน และก๊าซอื่น ๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิตเซมิคอนดักเตอร์

ซึ่งเซมิคอนดักเตอร์เหล่านี้จะถูกนำไปใช้การสร้างไมโครชิปต่าง ๆ ซึ่งเซมิคอนดักเตอร์เหล่านี้ ปัจจุบันถูกใช้ในอุปกรณ์ไฮเทคหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต ของเล่นไฮเทคหลายอย่าง รวมไปถึงรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ด้วย โดยเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา สหภาพยุโรปได้ประกาศคว่ำบาตรห้ามส่งออกเซมิคอนดักเตอร์ รวมไปถึงอุปกรณ์อิเลคทรอนิกอื่น ๆ ไปยังรัสเซีย

คาด ตลาดชิปป่วน

ในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ จำเป็นต้องใช้ก๊าซนีออนในกระบวนการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ โดยทั้งรัสเซียและยูเครนถือเป็นประเทศผู้ส่งออกก๊าซนีออน รวมถึง แพลเลเดียม รายใหญ่ของโลก และทั้งก๊าซนีออน และแพลเลเดียม ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ เพื่อใช้สร้างชิป

เฉพาะยูเครน มี 2 บริษัทที่เป็นผู้ส่งออกก๊าซนีออน ในเกรดสำหรับผลิตเซมิคอนดักเตอร์ คือ Ingas และ Cryoin ที่ตั้งอยู่ในเมือง Mariupol ได้มีการประกาศหยุดดำเนินกิจการไปตั้งแต่เมื่อต้นเดือนมี.ค. 65 ที่ผ่านมา หลังจากรัสเซียเปิดปฏิบัติการทางทหาร โจมตียูเครน ส่งผลให้ก๊าซนีออน ในเกรดดังกล่าว หายไปจากตลาดกว่า 600 ล้านลิตร หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของการส่งออกในตลาดโลก ส่งผลให้ราคาก๊าซพุ่งสูงขึ้นไปอีก โดยก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2014 เมื่อรัสเซียผนวกคาบสมุทรไครเมีย ส่งผลให้ราคาก๊าซนีออน เพิ่มสูงขึ้นถึง 600%

สำหรับอุตสาหกรรมในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์นั้นประสบปัญหาขาดแคลนต่อเนื่องมาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว จากปัญหาหลายประการ เช่น

จากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาทำให้สายพานการผลิตสินค้าอิเลคโทรนิกต่าง ๆ ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ราคาชิปเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนสินค้าที่ต้องใช้ชิปเพิ่มสูงขึ้น

ซึ่งเมื่อรัสเซียเป็นผู้ส่งออกก๊าซนีออน ราว 30% ของโลก ประกาศการระงับการส่งออกก๊าซนีออนในครั้ง ก็คาดว่า จะส่งผลกระทบต่อตลาดชิปทั่วโลกอีกครั้ง เนื่องจากการขาดแคลนก๊าซที่ใช้ในกระบวนการผลิต

โดยผลกระทบหลัก ๆ น่าจะอยู่กับผู้ผลิตที่อยู่ในสหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และประเทศอื่น ๆ ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อประเทศที่ไม่เป็นมิตรของรัสเซีย

ซึ่งจะส่งผลให้ชิปส่อแววจะขาดตลาดต่อเนื่องไปอีก ส่งผลกระทบต่อสินค้าอิเลคทรอนิกส์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน แท็บเลต รวมไปถึงรถยนต์อีกด้วย


ข่าวที่เกี่ยวข้อง