คัดลอก URL แล้ว
“ผู้ปกครองสงสัยโรงเรียนปิดกระทันหัน มีปมมากกว่าเรื่องขาดทุน!”

ผู้ปกครองสงสัยโรงเรียนปิดกระทันหัน มีปมมากกว่าเรื่องขาดทุน!”

“ผู้ปกครองขอผอ.ประสานโรงเรียนปลายทางลดหย่อนค่าแรกเข้า หลังได้รับผลกระทบปิดกิจการกะทันหัน ขณะสช.พร้อมเป็นคนกลางช่วยเหลือ ชี้โรงเรียนยังปิดไม่ได้ต้องแก้ปัญหาให้จบก่อน”

ในรายการเจาะข่าวเด็ด The Day News Update Special ทางช่อง Mono 29 พิธีกร คุณบ๊อบ ณัฐธีร์ โกศลพิศิษฐ์ พูดคุยกับตัวแทนผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งย่านอ่อนนุช หลังได้รับผลกกระทบโรงเรียนแจ้งปิดกิจการกะทันหัน ทำเด็กกว่า 600 คนต้องหาที่เรียนใหม่กลางคัน จี้โรงเรียนตั้งโต๊ะเจรจา พร้อมต่อสายพูดคุยกับ คุณมณฑล ภาคสุวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) ที่จะเข้ามาเป็นคนกลางช่วยเหลือ แก้ปัญหาให้ทั้งโรงเรียนและผู้ปกครอง ขณะที่คุณสมโรจน์ เตียงนิล ผู้อำนวยการโรงเรียนเพชรรัชต์ ร่วมเปิดแนวทางการบริหารงานโรงเรียนเอกชน

พิธีกร : โรงเรียนเอกชนย่านอ่อนนุช แจ้งผู้ปกครองบอกว่ากำลังจะปิดกิจการ เด็กจะทำยังไง มาพูดคุยความเดือดร้อนของผู้ปกครอง ตอนนี้ลูกๆรู้หรือยังว่าจะไม่ได้เรียนที่นี่อีกต่อไป
ศิริพร ผู้ปกครอง : รู้แล้ว เศร้ามาก
อารยา ผู้ปกครอง : เศร้าตั้งแต่วันแรก ร้องไห้ พออ่านจดหมายก็โทรศัพท์มาร้องไห้

พิธีกร : จดหมายลงวันที่ 15 ก.พ.
ศิริพร ผู้ปกครอง : ทราบเรื่องวันที่ 16 ตอนเย็น แต่ผู้ปกครองบางท่านทราบจากไลน์กลุ่มผู้ปกครองอยู่แล้ว
อารยา ผู้ปกครอง : ลูกก็โทรมาร้องไห้ ครูยังร้องเลย บอกว่าโรงเรียนจะปิดแล้วจริงเหรอ ก่อนนอนเค้าก็ถามว่าต้องย้ายโรงเรียนจริงๆเหรอ เค้าเศร้า ร้องไห้ เพื่อนก็ร้องกันทุกคน

พิธีกร : แสดงว่าเค้าผูกพัน
อารยา ผู้ปกครอง : เค้าผูกพัน รักโรงเรียนนี้ รักเพื่อนเพราะเค้าเรียนมาตั้งแต่อนุบาล เรียนด้วยกันมา แม่ๆก็สนิทกัน ปีนี้น้องขึ้น ป.4
ศิริพร ผู้ปกครอง : ของแม่มี 2 คนคนหนึ่งอยู่ป. 4 อีกคนอยู่ป.6 ก็จะจบแล้ว ไปต่อม.1 ที่อื่นอันนี้คือไม่มีปัญหาอะไร คนที่อยู่ป.4 นี่แหละที่มีปัญหา

พิธีกร : มีคุณแม่ที่เป็นลูกศิษย์รุ่นแรก คนไหน
จารุวรรณ ผู้ปกครอง : ค่ะ เป็นรุ่นแรกของที่นี่ แล้วก็มีลูกสาวมาเรียนตั้งแต่อนุบาล 3 ถึง ป. 4 แล้วย้ายออก แล้วก็มีน้องชายก็มาเรียน ป.1 ที่นี่

พิธีกร : ผูกพันกับที่นี่
จารุวรรณ ผู้ปกครอง : ก็ใจหาย 35ปีแล้ว คุณพ่อเค้าก็บอกว่าใจหาย เค้าก็รักโรงเรียนนี้ ถึงได้เชื่อมั่นเอาลูกมาโรงเรียนนี้อย่างน้อยก็เป็นโรงเรียนเก่า

พิธีกร : แล้วคุณแม่หนิง ลูกรู้ข่าวแล้วมีปฏิกิริยาอย่างไร
พิชชาภา ผู้ปกครอง : เค้าก็โทรบอก ตอนแรกแม่ยังไม่เชื่อด้วยซ้ำ ก็โทรไปห้องธุรการ แล้วก็โทรกลับไปหาลูก ลูกก็ร้องไห้ เพื่อนๆก็ร้อง เค้าไม่อยากจากเพื่อนแบบกะทันหันแบบนี้

พิธีกร : แล้วครูประจำชั้นของลูกคุณแม่ว่ายังไงกันบ้าง ได้คุยกับครูมั้ย
พิชชาภา ผู้ปกครอง : ครูบางท่านก็ร้องไห้ ครูบอกว่าก็เพิ่งทราบเหมือนกัน รู้พร้อมกับผู้ปกครองเหมือนกัน

พิธีกร : เอกสารที่แจ้งระบุว่าประสบปัญหาจำนวนนักเรียนลดลง โรงเรียนขาดทุนจึงปิดกิจการ และโรงเรียนยังมีชื่อโรงเรียนให้ผู้ปกครองเป็นทางเลือก แสดงว่ามีการประสานงานไปที่โรงเรียนใกล้เคียง
ศิริพร ผู้ปกครอง : ถ้ามีการประสานงานไปที่ 8 โรงเรียนนี้ ทำไมไม่ขอความอนุเคราะห์ไปด้วยว่าหากเป็นเด็กจากโรงเรียนนี้ควรงดเก็บค่าแรกเข้า ขอความอนุเคราะห์ให้ช่วยเหลือผู้ปกครอง แต่เค้าไม่ช่วย เค้าช่วยแค่นี้ ให้เราไปติดต่อโรงเรียนเอง แล้วโรงเรียน 8 โรงเรียนนี้ก็ไม่ได้ตอบโจทย์ทุกโรงเรียน ส่วนมากก็เต็ม ผู้ปกครองที่เอาเด็กเข้าไปได้ ก็เป็นเด็กนักเรียนส่วนเกินที่จะไม่ได้รับเงินสนับสนุนช่วยเหลือจากรัฐบาลปีละพันกว่าบาท

พิธีกร : โรงเรียนที่ลิสต์มา 8 โรงเรียนเป็นโรงเรียนเอกชนทั้งหมดหรือเปล่า
ศิริพร ผู้ปกครอง : ไม่ มีทั้งเอกชน ทั้งนานาชาติ ทั้งรัฐบาล เค้าก็จะเอาที่อยู่ละแวกใกล้เคียงกันกับโรงเรียนเดิม

พิธีกร : จริงๆมีกฎระเบียบอย่างหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ เดี๋ยวเลขา กช. จะมาให้ข้อมูล เพื่อให้รู้ว่าโรงเรียนอยู่ๆปิดแบบนี้ได้หรือไม่ แล้วต้องทำยังไงถึงจะปิดแบบนี้ได้ ส่วนโรงเรียนที่เค้าให้ลิสต์มาถือว่าโอเคมั้ย
ศิริพร ผู้ปกครอง : โอเคสำหรับบางท่าน บางโรงเรียนก็ไม่โอเค
จารุวรรณ ผู้ปกครอง : เด็ก 5-600 คน ไม่มีใครเค้าสะดวกภายใน 8 โรงเรียนที่ให้เลือก

พิธีกร : เด็กมี 660 คน แต่มีนักเรียนที่จบป.6 ประมาณร้อยกว่าคน เหลือนักเรียนประมาณ 550 คนที่ต้องหาโรงเรียนใหม่ เห็นมีที่เพิ่งเข้าเรียนด้วย
อารยา ผู้ปกครอง : ที่บ้าน 3 คน อยู่ป.4 สองคน คือลูกตัวเองและลูกพี่สาว เพิ่งเข้าปีนี้ เพิ่งซื้อชุดได้ปีเดียว เพิ่งจ่ายค่าแรกเข้าไป แล้วก็มีลูกน้องชายอยู่อนุบาล 2 เราว่าคุณครูน่ารักก็เลยชวนญาติพี่น้อง เพราะรู้สึกว่าดี
พิธีกร : โรงเรียนนี้คุณภาพการศึกษาเป็นยังไง
อารยา ผู้ปกครอง : ถือว่าดี ครูน่ารัก เอาใจใส่ดี สมัยตอนอนุบาล แต่พอเริ่มมีโควิดหลายๆอย่างก็เริ่มแย่ลง อย่างเรียนว่ายน้ำก็ไม่มี กีฬาสีปีนี้ก็ไม่มี ตอนโควิดก็เข้าใจได้ แต่ตอนนี้ทุกโรงเรียนมีหมดแล้ว แต่ที่นี่ก็ยังไม่มี ลูกเสือเนตรนารีก็ไม่มีไปข้างนอก

พิธีกร : ตั้งแต่โควิดมา ทุกอย่างแย่หมดเลยเหรอ
จารุวรรณ ผู้ปกครอง : คิดว่าอาจเป็นเพราะโควิดทำให้กิจกรรมน้อยลง แต่ลูกเพื่อนที่เรียนโรงเรียนอื่น มีกิจกรรมทุกอย่างปกติ แต่ลูกเราไม่มี

พิธีกร : ค่าเทอมต่างกันหรือเปล่า ค่าเทอมที่นี่เท่าไหร่
ศิริพร ผู้ปกครอง : 14,770 บาท ก็กลางๆพอๆกับโรงเรียนเอกชนอื่นๆ
อารยา ผู้ปกครอง : กิจกรรมอื่นไม่มี แต่เราก็ยังรักโรงเรียนอยู่ ถ้าโรงเรียนยังเปิดต่อก็ยังเรียน

พิธีกร : ถ้าโรงเรียนส่งจดหมายฉบับใหม่มา ปีหน้าเปิดเทอม ยังให้เรียนอยู่มั้ย
อารยา ผู้ปกครอง : ไม่อยู่แล้ว ตอนนี้เค้าสมัครจ่ายโรงเรียนใหม่ไปกันเกือบหมดแล้ว มัดจำไปก่อนแล้วเพราะกลัวว่าลูกไม่มีที่เรียน

พิธีกร : ถ้ามีที่เรียนแล้ว มาเรียกร้องอะไรตอนนี้
อารยา ผู้ปกครอง : ยังไม่มีค่ะ ยังไม่ได้เลือก เพราปัจจัยคือเลี้ยงลูกเอง ทำงานทั้งคู่ ต้องดูหลายๆอย่างว่าเราจะไปรับส่งลูกเองได้ไหม แล้วค่ารถตู้เท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มมา เพราะเราไม่ได้มีลูกคนเดียว มีลูก 3 คน คนกลางปีนี้ก็จะเข้า ม.4 ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายอยู่แล้ว คนโตมหาวิทยาลัย คิดว่าคนเล็กปีนี้น่าจะไม่ต้องเสียอะไร แล้วก็ต้องมาเสียค่าซัมเมอร์ ค่าชุดนักเรียนอะไรใหม่หมดเลย

พิธีกร : แล้วปกติเราซื้อชุดนักเรียนทุกปีหรือเปล่า
อารยา ผู้ปกครอง : ไม่ค่ะ
จารุวรรณ ผู้ปกครอง : 2-3 ปี ซื้อเผื่อโต

พิธีกร : ซื้อกี่ชุด
อารยา ผู้ปกครอง : ก็ 4-5 ชุด
ศิริพร ผู้ปกครอง : ครบอาทิตย์อยู่แล้ว

พิธีกร : ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่คุณแม่ต้องจ่าย
ศิริพร ผู้ปกครอง : ค่าแรกเขา
อารยา ผู้ปกครอง : ค่าซัมเมอร์
จารุวรรณ ผู้ปกครอง : ถ้าอยู่โรงเรียนเก่าก็ไม่ต้องจ่าย

พิธีกร : ถ้าย้ายโรงเรียนใหม่ต้องมีปรับฐาน ค่าแรกเข้า ค่าเรียนซัมเมอร์ ค่าชุดนักเรียน มีอะไรอีกไหม
จารุวรรณ ผู้ปกครอง : ค่าเดินทางที่เพิ่มขึ้นจากระยะโรงเรียนกับบ้าน ต้องวางแผนใหม่

พิธีกร : เห็นว่าไปร้องเรียนที่กระทรวง 8 ข้อ ที่บอกว่าแจ้งแค่ 14 วันก่อนปิดภาคเรียน
จารุวรรณ ผู้ปกครอง : 14 วันกับการหาคุณภาพชีวิตให้ลูกมันน้อยมาก เราวางแผนไว้แล้วว่าอันนี้สะดวกแล้ว ดีแล้ว ขนาดเลือกแล้ว แล้วนี่ให้เวลา 14 วันเราจะไปหาที่ดีได้ยังไง

พิธีกร : จริงๆโรงเรียนควรจะให้เวลาคุณแม่ซักแค่ไหนถึงจะเพียงพอ
ศิริพร ผู้ปกครอง : ถ้า 1 เทอม แม่มีเวลา ทั้งเตรียมเงิน เตรียมหาโรงเรียนให้ลูก จะได้วางแผน

พิธีกร : โรงเรียนให้เหตุผลว่าเพราะนักเรียนไม่เพียงพอ อันนี้คุณแม่เข้าใจโรงเรียนไหมาว่าโรงเรียนขาดทุน
ศิริพร ผู้ปกครอง : จะพูดยังไงก็ได้ แต่ในสายตาความคิดของผู้ปกครองส่วนใหญ่ เค้าไม่เชื่อว่าขาดทุน

พิธีกร : ประเด็นที่ 2 เรื่องผู้บริหารโรงเรียนที่ไปร้องเรียน ผู้บริหารเป็นยังไง
อารยา ผู้ปกครอง : เค้าจะปิด เค้าร่อนจดหมายมาแค่ฉบับเดียว ไม่มีออกมาคุยกับผู้ปกครองเลย
ศิริพร ผู้ปกครอง : อยากให้ผอ.หรือทางโรงเรียนออกมาชี้แจง ขอให้ชี้แจงด้วยว่าจาดีกว่าแจ้งเป็นเอกสารแบบนี้
อารยา ผู้ปกครอง : ก่อนจะปิดก็มาอบกเราว่าจะขึ้นค่าเทอมหรืออะไร
จารุวรรณ ผู้ปกครอง : ขอให้ได้คุยบ้าง เพราะพยายามติดต่อทุกวิถีทางแล้ว

พิธีกร : ข้อ 3 ที่ไปร้องเรียนคือหาโรงเรียนใหม่ไม่ทัน
ศิริพร ผู้ปกครอง : ใช่ค่ะ หาไม่ทัน จะเรียนโรงเรียนไหนก็ได้ไม่ว่าจะรัฐหรือเอกชน แต่มันมีปัจจัยหลายอย่าง ไม่ใช่แค่เรื่องสะดวก ต้องมีค่าเรียน ค่าเทอมว่าเรารับไหวมั้ย สภาพโรงเรียนเป็นยังไง ให้เรามีเวลาคิด มีเวลาตัดสินใจเปรียบเทียบหลายๆโรงเรียน เรื่องระยะการเดินทางในการทำงานของพ่อแม่ การรับส่ง ถ้ามีเวลาเราจะวางแผนได้

พิธีกร : พูดคุยกับผอ.โรงเรียนเอกชนอีกแห่ง ไม่ใช่โรงเรียนที่จะปิด ถึงการบริหารงาน //ที่โรงเรียนเพชรรัชต์ มีนักเรียนเท่าไหร่
สมโรจน์ ผอ.รร.: 200 กว่าคน

พิธีกร : ประสบภาวะเดียวกันกับโรงเรียนนี้มั้ย
สมโรจน์ ผอ.รร.: ตอนนี้ทุกโรงเรียนเอกชนประสบปัญหาเหมือนกันคือจำนวนนักเรียนลดลง แต่การบริหารจัดการก็ต้องเห็นใจผู้ปกครอง ส่วนผู้ปกครองก็ต้องเห็นใจโรงเรียนด้วย โดยเงินที่โรงเรียนใช้บริหารมี 2 ส่วน คือส่วนที่ได้รับการสนับสนุนรายหัวที่ภาครัฐให้มาตามจำนวนนักเรียน อีกส่วนคือเงินค่าเทอมแต่ละภาคเรียน

พิธีกร : ค่าเทอมที่โรงเรียนเพชรรัชต์ เท่าไหร่ ที่นั่นเค้า 10,000 กว่าบาท
สมโรจน์ ผอ.รร.: ภาพรวมไม่เกิน 20,000 บาท

พิธีกร : เพียงพอกับการบริหารงานหรือไม่
สมโรจน์ ผอ.รร.: พออยู่ได้เพราะทำการศึกษาไม่ได้แสวงหาผลกำไร การบริหารจัดการถ้าติดขัดก็ตรงผู้ปกครองไม่จ่ายค่าเทอม หรือจ่ายไม่ครบ ก็ใช้วิธีการสำรองเงิน

พิธีกร : ถ้าโรงเรียนมีการลงทุนให้โรงเรียนมีการพัฒนาขึ้น อย่างเปลี่ยนแปลงอาคาร อาจขาดทุนได้
ศิริพร ผู้ปกครอง : ไม่มีค่ะ ช่วง 2 ปีที่เค้าบอกว่าประสบปัญหาขาดทุน ไม่ได้มีการพัฒนาโรงเรียน อุปกรณ์ก็ไม่มีเพิ่มเติม
อารยา ผู้ปกครอง : มีแต่ตัดออก
จารุวรรณ ผู้ปกครอง : โรงเรียนนนี้เค้าจะมีศูนย์กีฬา เด็กทุกคนต้องว่ายน้ำเป็น พอโควิดเราก็เข้าใจที่ปิด แต่โรงเรียนอื่นเค้าเปิดปกติแล้ว แต่ที่นี่ทำไมไม่หารายได้เข้าในการสอนว่ายน้ำ เพราะไม่ได้รวมกับค่าเทอม ชุดว่ายน้ำก็ขายเฉพาะของโรงเรียน ก็มีช่องทางหารายได้
ศิริพร ผู้ปกครอง : แต่ได้ข่าวแว่วมาว่าเค้าไม่ได้ขาดทุน เพราะสถานีรถไฟฟ้าขึ้นใกล้โรงเรียน อาจมีธุรกิจเข้ามาหรือไม่

พิธีกร : ประเด็นนี้ทีมงานได้โทรศัพท์สอบถามที่โรงเรียน ก็เจอธุรการ ให้ข้อมูลว่าตอบแทนโรงเรียนไม่ได้ แต่บอกว่าหลังโรงเรียนประกาศปิด มีนายทุนติดต่อขอซื้อที่ดินที่โรงเรียน เพราะเป็นข่าวว่าจะปิด โรงเรียนบอกว่าหลังมีข่าว
ศิริพร ผู้ปกครอง : ก็เพิ่งได้รู้ จะขายได้ไวขนาดนั้นเลยเหรอ
จารุวรรณ ผู้ปกครอง : จดหมายแจ้งปิด 16 แต่พนักงานเซเว่นรู้แล้วว่าเค้าจะขายที่ให้คนนั้นคนนี้ เราก็งงเพิ่งได้จดหมายมา

พิธีกร : คุณแม่ก็รู้ข่าวมาว่าจะไม่ทำโรงเรียนแล้วอาจจะไปทำอย่างอื่น
ศิริพร ผู้ปกครอง : อันนี้ก็เป็นเรื่องของเค้า แต่ควรแจ้งเราเร็วกว่านี้เพราะทำให้เราเสียโอกาสมากๆ

พิธีกร : ที่คุณแม่สงสัยคือมีการให้เซ็นเอกสารอะไร
ศิริพร ผู้ปกครอง : เรื่องเอกสารทางโรงเรียน ทางธุรการกดดันให้ครูกดดันผู้ปกครองให้เซ็นเอกสาร 2 ใบคู่กัน ถ้าไม่เซ็นทั้ง 2 ใบออกใบรับรองการศึกษาไม่ได้ เป็นแบบคำร้องขอย้ายนักเรียน คือเราไม่ได้จะขอย้าย แต่คุณปิดจึงต้องย้าย

พิธีกร : ได้รับหนังสือจากผู้ปกครองที่ไปร้องถึงกระทรวงศึกษาธิการแล้วใช่ไหม
เลขา สช. : ได้รับแล้วครับ

พิธีกร : โรงเรียนเพิ่งแจ้ง แล้วให้เซ็นเรื่องขอย้าย ไม่เข้าใจกระบวนการ
เลขา สช. : เรื่องการยื่นเรื่องขอปิดกิจการกฎหมายกำหนดให้ยื่นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 120 วันก่อนวันสิ้นปีการศึกษา ซึ่งนับวันที่ 15 พ.ค. ก็หากให้ตรงตามกฎหมาย โรงเรียนควรยื่นก่อนวันที่ 15 ม.ค.โดยประมาณ แต่โรงเรียนยื่น 21 ก.พ. แต่กฎหมายได้เปิดช่องว่ากรณีที่โรงเรียนให้เหตุผลว่าไม่สามารถจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุสุดวิสัย ก็สามารถพิจารณาให้เลิกกิจการได้เช่นกัน

พิธีกร : แสดงว่าก็มีช่อง
เลขา สช. : กฎหมายก็ไม่ได้ห้ามซะทีเดียวว่าหลัง 120 วันไม่รับพิจารณา แต่ในเรื่องการเซ็นเอกสารย้าย เข้าใจว่าผู้ปกครองอาจจะไม่สบาสยใจ แต่กรณีนี้เป็นขั้นตอนการยื่นขอเอกสารการศึกษาตามปกติของโรงเรียน แต่เดี๋ยวเราจะทำความเข้าใจกับโรงเรียน ว่าอาจให้บอกว่ากรณีโรงเรียนเลิกกิจการ เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับหลักฐานการศึกษาเพื่อไปยื่นสถานศึกษาใหม่

พิธีกร : ถ้าไม่เซ็น 2 ใบนี่โรงเรียนออกหลักฐานการศึกษาให้ไม่ได้เหรอ
เลขา สช. : ได้ ยังไงก็ต้องออกให้

พิธีกร : หลังจากนี้พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถร้องเรียนอะไรได้บ้าง
เลขา สช. : ประเด็นที่ร้องเรียนร้องมาที่กระทรวงแล้วส่วนหนึ่ง เราก็จะแจ้งไปที่โรงเรียนอีกครั้งเพราะโรงเรียนต้องพิจารณาดูแลผู้เรียนให้ได้รับการศึกษาที่ไม่กระทบกับการเลิกกิจการจนเกินไป เดี๋ยวเราจะแจ้ง ตอนนี้สช.เป็นสื่อกลาง รับข้อมูลเข้ามา ภายในสัปดาห์นี้เราจะสรุปข้อมูลทั้งหมดที่เป็นความเดือดร้อน แล้วจะเอาข้อมูลตรงนี้ หากเป็นเรื่องที่โรงเรียนต้องพิจารณาก็จะแจ้งไป ส่วนจะไปเข้าสถานศึกษาไหน สช.ก็จะประสานให้ ถ้าเป็นกระบวนการปกติโยหลักโรงเรียนต้องดูแล ต้องยอมรับว่าโรงเรียนดำเนินการ แต่กระชั้นเกินไป ซึ่งรัฐมนตรีเป็นห่วงจึงกำชับ สช. ไม่ให้กระทบการศึกษาของเด็ก

พิธีกร : เราต้องไปสืบทราบว่าเค้าขาดทุนจริงหรือไม่ไหม
เลขา สช. : โดยหลักเราจะไม่ได้ดูลึกขนาดว่าขาดทุนจริงหรือไม่ ขาดทุนมากหรือน้อยแค่ไหน จากที่ผ่านมาก็มีหลายสาเหตุ

พิธีกร : เมื่อกี้คุณแม่ร้องไห้เพราะอะไร
อารยา ผู้ปกครอง : สงสารลูก เห็นลูกตัวเองแบบนี้แม่ก็สงสารเด็กๆเค้าผูกพันกัน เค้าก็ไม่อยากจะเชื่อ ตอนนี้เริ่มปรับสภาพจิตใจได้บ้างแล้วแต่ 3 วันแรกไม่ได้เลย
ศิริพร ผู้ปกครอง : ถ้าโรงเรียนบอกล่วงหน้านานกว่านี้ เราก็ยินดี และถ้าโรงเรียนออกมาพูดคุยก็คงไม่เป็นประเด็นแบบนี้

พิธีกร : มีคนที่เดือดร้อน ต้องการใบจบ
ศิริพร ผู้ปกครอง : เป็นโรงเรียนรัฐบาล มีโทรมาถามเมื่อเช้าบอกว่าเข้าไปขอใบรับรองจบการศึกษา แต่พอเข้าไปเค้าบอกว่าให้เซน 2 ใบ คือใบย้าย กับใบคำร้องขอ ถ้าไม่งั้นไม่ออกให้ แล้วแม่ต้องใช้ด่วน เค้าก็โทรมาปรึกษา

พิธีกร : มีคุณแม่พูดคุยกับคุณครู คุณครูบอกว่าไม่สามารถออกควรามเห็นได้เพราะมีหลายปัจจัยที่พูดไม่ได้ ยังอยู่ในฐานะลูกจ้าง ต้องรอเงินชดเชย ถ้าพูดไปจะไม่เป็นผลดีกับตัวเอง แต่สนับสนุนผู้ปกครองเต็มที่ในการยื่นเรื่องร้องเรียนโรงเรียน
ศิริพร ผู้ปกครอง : ครูหลายยคนก็บอกเพราะโรงเรียนทำไม่ถูกต้อง
อารยา ผู้ปกครอง : ลูกชายกลับมาวันที่ 15 ยังบอกว่าเทอมหน้าจะได้เรียนว่ายน้ำแล้ว พอมีข่าวมาวันที่ 16 แม่ก็ไปถามครู ครูบอกก็ตกใจ เพราะคิดว่าจะมีสอนว่ายน้ำปีหน้า

พิธีกร : เห็นว่ามีคุยกับอดีตครูว่ายังไงบ้าง
พิชชาภา ผู้ปกครอง : ก็บอกว่าที่นี่การเรียนการสอนดี ตั้งแต่ผู้บริหารคนเก่า แต่พอเปลี่ยนผู้บริหารแล้วแย่มาก ช่วงโควิดป่วยก็ต้องหยุดกลับโดนหักเงิน ก็เลยลาออกไป

พิธีกร : ถ้าจะให้พูดกับผู้บริหารจะบอกว่าอะไร
ศิริพร ผู้ปกครอง : ก็อยากให้มาคุยกัน หาทางออกร่วมกันกับผู้ปกครอง ว่าจะชดเชยอย่างไร ช่วยเหลืออะไรได้บ้างกับความเดือดร้อนทีสั่งปิดกะทันหันให้เวลาแค่ 2 อาทิตย์ ทุกอย่างตอนนี้คือพังหมดเลย
อารยา ผู้ปกครอง : อยากให้เห็นใจเรื่องค่าใช้จ่าย กะทันหันเราก็ไม่ได้เตรียมค่าใช้จ่ายไว้
จารุวรรณ ผู้ปกครอง : อยากให้ผอ.ไปประสานงานกับโรงเรียนที่ผู้ปกครองพาเด็กไปเข้า ขอให้ช่วยลดหย่อนค่าแรกข้าวของเด็กจากโรงเรียนนี้และค่าซัมเมอร์ จะใช้วิธีสอบคัดก็ได้
พิชชาภา ผู้ปกครอง : แม่รักโรงเรียนแต่ทำไมโรงเรียนไม่รักเด็กๆบ้างเลย ทำไมปล่อยเด็กแบบนี้ ไม่คิดถึงสภาพจิตใจของเด็ก


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง