คัดลอก URL แล้ว
https://www.youtube.com/watch?v=-fRLnzudaqw

“กระบะหัวร้อน” ข่มขู่คุกคาม?

“นักกฎหมายชี้หัวร้อนกลางท้องถนน ด่าหยาบทำให้อับอายมีโทษ แนะดึงสติด้วยการขอโทษ ด้านแพทย์เผยวิธีเลี้ยงลูกเน้นใช้คำถามปลายเปิดกับเด็กเมื่อเกิดเหตุความรุนแรง”

ในรายการเจาะข่าวเด็ด The Day News Update Special พูดคุยในประเด็นที่กำลังเป็นไวรัลโซเชียล กรณีคนขับรถกระบะหัวร้อน ปาดหน้าด่า 2 แม่ลูกด้วยคำหยาบคาย ทำเด็กร้องไห้ บอกแม่หนูขอโทษแล้ว ทำไมใจดำ ด้านแพทย์ ดึงสติ ขอให้ลดความรุนแรงต่อหน้าเด็ก รวมทั้งมาฟังข้อกฎหมายด้วยว่า หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้คู่กรณีมีความผิดอย่างไร โดยร่วมพูดคุยกับคุณวรวลัญช์ เพชรสัมพันธ์ ผู้เสียหาย คุณโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองอธิบดีอัยการคดีศาลแขวง และรศ.นพ.สิริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น

พิธีกร : ไล่เรียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน
วรวลัญช์(ผู้เสียหาย) : จะออกแค่มาดูร้านขายข้าว ร้านขายของว่าเปิดหรือไม่ จริงๆตอนนั้นแฟนไม่ให้ออกด้วย แค่ไปดู เอาลูกไปด้วยเพราะไม่มีคนดูตอนนั้น คิดว่าแค่หน้าปากซอย ชมพูก็ตามแม่ เขาก็จะไปกับแม่ทุกที่

พิธีกร : จังหวะที่บีบแตร มีจังหวะอยู่ 2 จังหวะด้วยกัน จังหวะแรก คือ ตอนที่เราจอดแต่เราไม่จอด ตอนนั้นอะไรอย่างไร
วรวลัญช์(ผู้เสียหาย) : มีรถแซงเข้าไป คือ จริงๆแล้ว รถมันมีสวนกัน แล้วมันจะมีคนจอดข้างๆทาง เพราะฉะนั้นรถเราถ้าเราไม่ได้จอดสนิท รถอีกคันก็จะไปไม่ได้อยู่แล้ว พอเราเหมือนขับอยู่ ไม่ได้จอดดี ตีออกมาเหมือนเต็มเลน

พิธีกร : คันหลังก็อาจจะคิดได้ว่า เรายึกๆยักๆ รู้สึกว่าเราขับรถผิดวินัยไหม ?
วรวลัญช์(ผู้เสียหาย) : เรารู้สึกว่าเราผิด เรายกมือ รู้แล้วล่ะว่าเราทำงี่เง่า

พิธีกร : แล้วพอเขาบีบแตร คุณใหม่ยกมือ ?
วรวลัญช์(ผู้เสียหาย) : ยกมือ แต่ไม่รู้ว่าเขาเห็นหรือไม่เห็น เรายกมือไปข้างหลัง มันจะมีกระจกหลัง เราก็ยกมือว่าเราทำผิด

พิธีกร : ตอนนั้นยกมือเพราะ ?
วรวลัญช์(ผู้เสียหาย) : เพราะเรารู้สึกว่าขออภัยนะ เพราะบางทีกระจกหลัง มันทำให้เห็นว่าเรายกมือ

พิธีกร : สันนิษฐานว่า เขาอาจจะไม่เห็น ?
วรวลัญช์(ผู้เสียหาย) : อาจจะไม่เห็น

พิธีกร : จึงเกิดเหตุการณ์ต่อมา อันต่อมาชะลอตรงจุดที่มีแอ่งน้ำอยู่ ชะลอเพราะรถจักรยานยนต์ขี่สวนทางมา จึงกลัวว่าน้ำจะกระเด็นไปใส่
วรวลัญช์(ผู้เสียหาย) : ใช่ค่ะ คือน้ำต้องชะลออยู่แล้ว

พิธีกร : แต่จังหวะนี้แหละ ที่บีบแตรยาวที่สุด คุณใหม่คิดว่า เขาไม่เห็นหรือว่า ด้านหน้ามีรถที่เลี้ยวตรงสามแยกตรงนั้นมา ทำไมเขาถึงคิดว่าเราแกล้งเขา ?
วรวลัญช์(ผู้เสียหาย) : ใหม่ก็ไม่ทราบเหมือนกัน เราไม่ทราบว่าอีกคนคิดอย่างไร พอมาตรงนี้มันมีแอ่งน้ำ แล้วใหม่เบรกกระทันหัน แล้วเขาจี้ เราเห็นจากกระจก

พิธีกร : แสดงว่าสมาธิเราไม่ได้จดจ่อแต่ด้านหน้า เราก็มองข้างด้วย ?
วรวลัญช์(ผู้เสียหาย) : เขาก็จี้ ทำให้เรามองกระจกหลัง กระจกข้างๆด้วย เราก็เบรกแบบจึกเลย เขาก็คิดว่าเราจะให้ชนท้าย พอข้ามแยกก็มาเจอร้านทุเรียน ใหม่ต้องไปกลับรถ เพราะบ้านอยู่ในซอย

พิธีกร : ทำไมคุณใหม่ถึงเข้าด้านซ้าย ตรงร้านทุเรียน
วรวลัญช์(ผู้เสียหาย) : เพราะเขาเบี่ยงมาแบบนี้ เหมือนเบียดมาเพื่อปาด เขาก็เปิดกระจกแล้วก็ว่า พี่ผู้หญิงเปิดกระจกมาอยู่แล้ว แล้วผู้ชายก็ตะโกนมาก่อน แล้วก็ลงมาจากรถ เปิดแมสก์

พิธีกร : ที่ร้านทุเรียนถ่ายคลิปไว้ เพราะได้ยินเสียงแตรหรือเปล่า ?
วรวลัญช์(ผู้เสียหาย) : ร้านทุเรียนเขาบอกใหม่ว่าเห็นท่าไม่ค่อยดี ไม่เห็นว่าคนที่อยู่บนรถเป็นผู้หญิงหรือชาย เขาก็โพรเทคทั้งเราและเขาด้วย

พิธีกร : เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเลยเป็นคลิปเสียงของน้องชมพู ที่ร้องไห้ และพูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จากนั้นมีการไปที่สถานีตำรวจ
วรวลัญช์(ผู้เสียหาย) : จริงๆ พอคลิปเป็นไวรัล มีรายการมาติดต่อจึงกังวลเรื่องความปลอดภัยมากกว่า ไม่ได้ตั้งใจที่จะมีอะไรกับเขาอยู่แล้ว เป็นเพียงการลงบันทึกประจำวัน เพราะไม่เคยมีปัญหากับใคร

พิธีกร : ทำไมถึงไม่คิดเอาผิดกับคนที่มาด่าทอเรา
วรวลัญช์(ผู้เสียหาย) : คือ ในส่วนของเรา เรายังไม่ได้ถูกทำร้าย เราคิดว่าเขาโมโห ใหม่อาจจะเป็นส่วนแรกที่ทำให้เขารู้สึกโมโห ถ้าเขารู้สึกผิดที่เขาต่อว่า ในส่วนของเขา เขาก็ติดต่อมาเอง

พิธีกร : หวังให้เขาติดต่อกลับมาขอโทษไหม ?
วรวลัญช์(ผู้เสียหาย) : คิดว่าสังคมก็ลงโทษเขาเยอะแล้ว

พิธีกร : จากกรณีที่เกิดขึ้นท่านโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองอธิบดีอัยการคดีศาลแขวง มองอย่างไร
รองอธิบดีอัยการคดีศาลแขวง : สามารถดำเนินคดีเอาผิดได้ตามกฎหมาย แต่ต้องขอชื่นชมคุณใหม่ จากคลิปจะเห็นว่า ลูกสาวได้พูดว่า แม่ขอโทษแล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องความรุนแรงในสังคม ถ้าเด็กๆรู้จักคำว่าขอโทษตั้งแต่เด็ก ชีวิตของเด็กจะไม่มีวันพบกับความรุนแรง คำว่าขอโทษในสังคมเป็นคำพูดตามมารยาท บางครั้งที่เราไม่ผิด เราก็ยังขอโทษได้ แต่ถ้าเราผิดแล้วเราพูด สามารถที่จะลดความร้อนแรงของอารมณ์คนได้ สามารถที่จะหยุดเหตุการณ์ไม่ให้ลุกลามไปกว่าเดิม แม้คู่กรณีกำลังโกรธ อารมณ์ร้อนแรง อย่างน้อยก็จะไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น เพราะว่าเราได้ขอโทษแล้ว คุณใหม่ได้ทำตัวอย่างที่ดีให้ลูกดู คือ การขอโทษให้ดูต่อหน้าลูก

พิธีกร : กรณีการจะแจ้งความดำเนินคดี เอาผิดกับผู้ที่ทำแบบนี้ได้จริง มีหรือไม่?
รองอธิบดีอัยการคดีศาลแขวง : มีครับ เรื่องอย่างนี้ขึ้นศาลกันเป็นประจำ มีทั้งโทษปรับ โทษจำคุก

พิธีกร : หากในกรณีนี้ เป็นการฟ้องร้องดำเนินคดี ผู้ที่ขับรถกระบะคู่กรณีจะถูกโทษอย่างไร
รองอธิบดีอัยการคดีศาลแขวง : หากถามว่าโทษอย่างไร ต้องไปพบพนักงานสอบสวน ไปสอบสวนเพื่อให้ได้ความจริงทั้งหมด ว่าเริ่มต้นจากอะไร และสุดท้ายจบลงอย่างไร แต่หากเท่าที่เห็นแค่ในคลิป จะเห็นว่ามีการดูหมิ่นซึ่งหน้า ส่วน พ.ร.บ.จราจรฯ อาจจะต้องมีการสอบสวนต่อเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนว่ามีการจอดรถขวาง หรือ ปาดหน้าไม่ให้ไปอย่างไร ก็ต้องขอข้อมูลจากทางฝั่งผู้เสียหายที่ถูกกระทำ ในส่วนของกรณีการดูหมิ่นซึ่งหน้า โทษโดยทั่วไป เป็นคดีลหุโทษ หากเป็นการจำคุก จะจำคุกไม่เกิน 1 เดือน และมีโทษปรับ แต่อยากเรียนว่า เวลามีอารมณ์หรือทะเลาะกันกลางถนนในกรณีอื่นๆ ที่ไม่ใช่เรื่องนี้ คดีอื่นๆคนชนะไปโรงพักแน่นอน เข้าห้องขังที่โรงพักก่อน ส่วนคนแพ้ไปห้องฉุกเฉิน แพ้จัดคือไปวัดเลย เวลาวิวาทกันกลางถนน เหตุการณ์ลักษณะนี้เห็นเป็นประจำ เพราะฉะนั้น สำนักงานอัยการสูงสุด รณรงค์ให้มีการขอโทษกัน เมื่อเกิดการกระทบกระทั่งกันจะได้ไม่ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

พิธีกร : วิธีการเลี้ยงลูกของคุณใหม่เป็นอย่างไร
วรวลัญช์(ผู้เสียหาย) : เวลาเขาไม่เข้าใจ ก็จะใช้การอธิบายเหตุผล ทำไมถึงทำแบบนี้ไม่ได้

พิธีกร : เหตุการณ์ที่เกิดกับเด็กๆแบบนี้(ในคลิป) มันกระทบกระเทือนจิตใจเด็กๆอย่างไร?
รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี : เหตุการณ์ความรุนแรงถ้ามันกระทบครั้งสองครั้งไม่เป็นไร ก็อาจจะมีความตกใจในสถานการณ์นั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้คำถามกลับปลายเปิดและช่วยเหลาความคิดเขาไปได้ และก็เกิดพฤติกรรมในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เป็นพฤติกรรมที่ดีไปเลย สามารถทำได้ เช่น ถามคำถามปลายเปิดว่า “รู้สึกอย่างไร” แล้วคิดเห็นอย่างไร แล้วเราจะแก้ยังไงกันดี การใช้คำถามปลายเปิดแบบนี้ แม้เป็นอนุบาลก็ทำได้

นอกจากนี้ คุณแม่ยังสามารถใช้วิธีสะท้อนอารมณ์ออกไปได้เลยว่าตอนนี้แม่โกรธ โกรธพฤติกรรม ของลูก หรือ บอกลูกว่าตอนนี้แม่คุมอารมณ์ไม่ได้ แล้วลูกจะได้เกิดการเรียนรู้ 5 เรื่อง

  1. แม่ฉันโกรธเป็น
  2. แม่ฉันโกรธเรื่องอะไร
  3. ดีกรีความรุนแรงเวลาคนเราโกรธของแม่ประมาณนี้
  4. วิธีการจัดการอารมณ์โกรธของแม่ทำอย่างไร
  5. แม่จะกลับมาคุยกับเราตอนที่แม่คุมอารมณ์ได้แล้ว

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง