“เพศศึกษา” เรื่องต้องห้ามสำหรับผู้หญิงพม่า
ดอว์ ตาร์ ตาร์ ผู้อำนวยการสมาคมเพื่อผู้หญิง “อัคยา” เปิดเผยกับเมียนมาร์ไทม์สว่าการที่ผู้หญิงพม่าไม่ได้รับการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องทางเพศเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมทางเพศในประเทศเมียนมาที่ผ่านมา ผู้หญิงในเมียนมาไม่ได้รับความรู้เรื่องเพศศึกษาไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียนหรือจากครอบครัวเนื่องจากวัฒนธรรมในเมียนมาที่เรื่องเพศถือเป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับผู้หญิงขณะที่ผู้ชายสามารถแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องเพศกับเพื่อนๆและผู้ที่แก่กว่า หรือมีประสบการณ์แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลมายืนยันว่าเป็นความจริงหรือไม่ก็ตาม
ผู้หญิงพม่าไม่ได้รับการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ
ดอว์ ตาร์ ตาร์ เชื่อว่าผู้หญิงทุกคนจำเป็นต้องได้รับความรู้เรื่องเพศดังนั้นหลังจากที่เธอก่อตั้งสมาคมอัคยาในปี 2551 เธอจึงริเริ่มให้ความรู้เรื่องเพศสำหรับผู้หญิงเป็นประจำทุกๆ สัปดาห์ ก่อนหน้านี้ ธอเคยทำงานรณรงค์เพื่อป้องกันและรักษาเชื้อ HIV รวมทั้งแนะนำวิธีป้องกันและให้การอบรมเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยซึ่งสังคมเมียนมาที่มีวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ทำให้ผู้หญิงไม่สามารถแสดงออกในเรื่องทางเพศได้อย่างเปิดเผยและหากผู้หญิงคนไหนพูดเรื่องเหล่านี้จะถูกมองเป็นหญิงไม่ดีไม่มีใครยอมรับ ขณะที่ อี ปวินต์ ผู้หญิงชาวเมียนมาวัย 26 ปี ซึ่งทำงานให้องค์กรเอกชน กล่าวว่า เธอคิดว่าบทเรียนเรื่องเพศศึกษาในโรงเรียนควรได้รับการพัฒนาขึ้นพร้อมยกตัวอย่างว่าขณะที่เธออายุ 13 ปี เธอได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศศึกษาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อาทิ วิธีการสวมถุงยาง นอกจากนี้เธอยังต้องการให้เพิ่มบทเรียนด้านเพศศึกษาที่สอดคล้องกับอายุของผู้หญิงเนื่องจากร่างกายและฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
สมาคมอัคยาได้ฝึกอบรมและให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา
ในเมียนมานั้นเรื่องเพศถือเป็นหัวข้อต้องห้ามและความพยายามในการพัฒนาเรื่องเพศศึกษามักจะต้องเผชิญกับความกังวลเกี่ยวกับการรักษาประเพณีทางศาสนาและคุณค่าทางวัฒนธรรม ขณะที่ผู้หญิงวัย 31 ปี ที่ไม่ขอเปิดเผยชื่อกล่าวว่า ในขณะที่เธอยังเด็กเธอไม่เคยได้รับรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศจากครูที่โรงเรียนหรือแม้กระทั่งจากคนในครอบครัว ก่อนที่จะได้รับรู้เรื่องดังกล่าวจากเพื่อนที่กลับมาจากเมืองนอกเมื่ออายุ 15 ปี โดยก่อนหน้านั้นเธอเข้าใจมาตลอดว่าผู้หญิงสามารถตั้งครรภ์ได้จากการนอนข้างๆผู้ชายและถูกหอมที่แก้มจนถึงขณะนี้ สมาคมอัคยาได้ฝึกอบรมและให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาแก่ผู้หญิงมาแล้วทั้งหมดเกือบ 2 พันคนนับตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งผู้ที่มาเข้าร่วมนั้นมีหลากหลายวัยและหลากหลายศาสนาขณะที่ ดอว์ ตาร์ ตาร์ ก็ระบุว่าเธอเชื่อว่าโครงการให้ความรู้เรื่องเพศแก่ผู้หญิงของทางสมาคมประสบความสำเร็จและเมื่อผู้ที่มาเข้าอบรมมีความมั่นใจและมีความรู้มากขึ้นพวกเธอก็สามารถแบ่งปันข้อมูลต่อๆไปได้