ข่าวที่กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์เมื่อนางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย หรือ ติ๋ม ทีวีพูล เจ้าของช่องไทยทีวีและโลก้าขอคืนใบอนุญาต และไม่จ่ายค่าสัมปทานทีวีดิจิทัลงวด 2 มูลค่ากว่า 288 ล้านบาท พร้อมกับประกาศขอหันหัวเรือกลับไปทำช่องทีวีดาวเทียมแบบเดิม หลังจากความหวังที่จะต่อลมหายใจต้องจบลง เมื่อบอร์ด กสทช. มีมติเป็นเอกฉันท์ ไม่ให้เลื่อนการชำระเงินประมูลทีวีดิจิตอลงวดที่ 2 ตามที่ผู้ประกอบการร้องขอ โดยยึดเหตุผลการพิจารณาของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และอัยการสูงสุดซึ่งระบุว่า การเลื่อนระยะเวลาชำระเงินออกไป อาจทำให้รัฐเกิดความเสียหาย แม้ว่าถึงตอนนี้ทางติ๋ม ทีวีพูลจะยังมีท่าทียืนยันเจตนารมณ์นี้ แต่ทางกสทช. และหลายนักวิเคราะห์ ยังเชื่อว่า น่าจะยังมีโอกาสพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกันได้ แทนการทิ้งสัมปทานที่สร้างผลกระทบมากกว่า ซึ่งนั่นอาจหมายถึงการสูญเงินประมูล 2 ช่องรวมเกือบ 2,000 ล้านบาทด้วย
เจ๊ติ๋ม ทีวีพูลทิ้งสัมปทานไทยทีวีและโลก้า
ผู้บริหารของช่องไทยทีวีและโลก้า โดยออกเป็นหนังสือเมื่อวานนี้ (26 พ.ค.) จำนวน 2 ฉบับ เพื่อขอเลิกใบอนุญาตประกอบกิจการ สาระสำคัญระบุว่า นับแต่บริษัทได้รับใบอนุญาตจนถึงปัจจุบัน กสทช.มิได้ดำเนินการใดๆ เพื่อให้มีการควบคุมหรือกำกับการเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิทัลให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือตามที่ กสทช.ได้ประกาศไว้ จนเป็นเหตุให้ประชาชนไม่สามารถรับชมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนิน
หนังสือขอเลิกใบอนุญาตประกอบกิจการ
หนังสือขอเลิกใบอนุญาตประกอบกิจการ
ตามขั้นตอนแล้วหากช่องไทยทีวีและโลก้าไม่จ่ายเงินทาง กสทช. จะมีวิธีปฏิบัติดังนี้ คือ คิดค่าปรับ 7.5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี หรือ คิดเป็นราวๆ 60,000 บาทต่อวันนับตั้งแต่วันสิ้นสุดให้ชำระเมื่อ 25 พฤษภาคม 2558 ต่อมา คือ เรียกผู้ประกอบการที่มีปัญหาเข้ามาชี้แจงสาเหตุของการไม่จ่ายค่าสัมปทานงวด 2 ซึ่งเป็นขั้นตอนปัจจุบันที่ทาง กสทช. กำลังดำเนินการอยู่
ขั้นตอนกรณีที่ไม่จ่ายเงินค่าสัมปทานทีวีดิจิทัลตามกำหนด
ทางด้านกสทช. เพื่อยืนยันว่าไทยทีวี ต้องชำระค่าธรรมเนียมการประมูลใบอนุญาต และการประกอบกิจการให้ครบตามกำหนด พร้อมส่งแผนมาตรการเยียวยาถึงบอร์ด กสท. พิจารณาอนุญาตให้ยกเลิกกิจการ
ฐากร ตัณฑสิทธิ์ (เลขาธิการสำนักงาน กสทช.)
หลากหลายมุมมองต่อการทิ้งสัมปทาน
หลากหลายมุมมองต่อการทิ้งสัมปทาน