คัดลอก URL แล้ว
สานพลังชุมชนแก้ปัญหาอุบัติเหตุ ตั้ง “ด่านชุมชนปากหวาน” กระตุ้นเตือนในพื้นที่-ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

สานพลังชุมชนแก้ปัญหาอุบัติเหตุ ตั้ง “ด่านชุมชนปากหวาน” กระตุ้นเตือนในพื้นที่-ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

สสส.-สอจร.-อบต.กุดเสลา จ.ศรีสะเกษ สานพลังชุมชนแก้ปัญหาอุบัติเหตุ ตั้ง “ด่านชุมชนปากหวาน” สื่อสารเชิงบวก-กระตุ้นเตือนในพื้นที่-ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พบ อัตราการสวมหมวกเพิ่มขึ้น จาก 33.8% เป็น 74.6% อุบัติเหตุลดลง 50% เป็นเสียชีวิตเป็นศูนย์ ณ ศูนย์การเรียนรู้ด่านชุมชนปากหวาน องค์การบริหารส่วนตําาบลกุดเสลา อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ แผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.)จัดพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ ด่านชุมชนปาก“หวาน” พลังชุมชน หยุดยั้งอุบัติเหตุ โดยมี นายนพ พงษ์พลาดิศัย รองผู้ว่าราชการ จ.ศรีสะเกษ เป็นประธาน นางก่องกาญจน์ ทักษ์หิรัญฤทธิ์ ผู้อํานวยการสําานักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสังคม สสส.กล่าวว่า อุบัติเหตุทางถนนเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น และวัยแรงงาน ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือ รถจักรยานยนต์ ประมาณ 80% ส่วนใหญ่บาดเจ็บที่ศีรษะ เนื่องจากไม่สวมหมวกนิรภัย สอดคล้องกับข้อมูลจากกองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค ปี 2562-2566 พบว่า อัตราการบาดเจ็บที่ศีรษะในผู้ใช้รถจักรยานยนต์สูงถึง 40.08% แต่มีเพียง 16.67% เท่านั้นที่ใส่หมวกนิรภัย

“หมวกนิรภัยช่วยลดความรุนแรงของการบาดเจ็บทางศีรษะได้ โดยหมวกกันน็อกสามารถช่วยให้มีโอกาสรอดชีวิต มากกว่าผู้ที่ไม่สวมใส่มากถึง2 เท่า ลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตถึง 39% ซึ่งการส่งเสริมพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยในชุมชนมีความท้าทาย เนื่องจากข้อจําากัดด้านทรัพยากร ค่านิยม และวัฒนธรรม สสส. จึงร่วมกับ สอจร. พัฒนาแนวทางการทําางานร่วมกับชุมชน เกิดด่านชุมชนปากหวาน ที่ใช้แนวคิด BBS: Behavior Base Safety เปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนการสื่อสาร ส่งเสริมพฤติกรรมที่ปลอดภัย พัฒนาศักยภาพคนในชุมชน ให้ดูแลพื้นที่ของตนเอง เกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในชุมชน ลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ศูนย์การเรียนรู้ด่านชุมชนปากหวาน เป็นก้าวสําาคัญของภาคประชาสังคม ในการหันมาจัดการปัญหาของตนเองอย่างเข้มแข็ง เป็นต้นแบบจัดการปัญหาให้คนทําางานป้องกันอุบัติเหตุทั่วประเทศ ”นางก่องกาญจน์ กล่าว

นายนพ พงษ์พลาดิศัย รองผู้ว่าราชการ จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า ด่านชุมชนปากหวาน โดย สสส. และ สอจร. เป็นโครงการที่เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม ควรส่งเสริม และขยายผล จ.ศรีสะเกษ ได้ศึกษาพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ โดยมีแนวทางการขยายผล ดังนี้ 1. สร้างการรับรู้ เผยแพร่ผลสําาเร็จของโครงการนี้ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น เช่น สื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2. พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ด่านชุมชนปากหวาน ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบ เปิดโอกาสให้พื้นที่อื่นๆ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนําาแนวคิดไปประยุกต์ใช้ 3. สนับสนุน องค์ความรู้ พัฒนาศักยภาพของคณะทําางาน แกนนําาชุมชน 4. บูรณาการด่านชุมชนเข้ากับแผนการป้องกัน ลดอุบัติเหตุของจังหวัด กําาหนดเป้าหมายขยายผล 5. ติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงรูปแบบให้สอดคล้องกับบริบท และความต้องการของแต่ละชุมชน เชื่อว่าจะสามารถขยายผล การดําาเนินงานด่านชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนของประชาชนใน จ.ศรีสะเกษ ได้อย่างแท้จริง

นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย ประธานแผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) กล่าวว่า สอจร. มุ่งเน้นสนับสนุนให้ในจังหวัดหรือพื้นที่มี ”พี่เลี้ยง ”สอจร“. หรือ ”นักวิชาการ สอจร“. คอยช่วยทําาหน้าที่สนับสนุนและส่งเสริมให้คนในพื้นที่ สามารถจัดการปัญหาด้วยตัวเอง ตามบริบท และวิถีชีวิต ด้วยการให้ทั้งองค์ความรู้ทางวิชาการ กระบวนการเรียนรู้ สร้างเครือข่ายความร่วมมือ การพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมที่สอดคล้องกับภูมิสังคมของแต่ละพื้นที่ โดยในพื้นที่ของ อบต.กุดเสลา มีสี่แยกบ้านทุ่งสว่างเป็นจุดเสี่ยง ซึ่งเป็นเส้นทางไปยัง จ.อุบลราชธานี มีรถสัญจรเป็นจําานวนมาก เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จึงได้เลือกพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการร่วมกันแก้ปัญหา โดยมีต้นทุนทางสังคมคือ ท้องถิ่น กําานัน ผู้ใหญ่บ้านที่มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการนําาชุมชน “ด่านชุมชนปากหวาน” จ. ศรีสะเกษ เกิดจากพลังร่วมของคนในพื้นที่ สอจร. ได้ให้การสนับสนุนด้านวิชาการ การอบรม เพื่อให้ชุมชนสามารถขับเคลื่อนการตั้งด่านเพื่อรณรงค์การสวมหมวกนิรภัยได้ โดยเริ่มตั้งด่านในช่วงปีใหม่ 2566 ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตําารวจ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.อสม. อปพร.ปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงเก็บข้อมูลการสวมใส่หมวกนิรภัยจากการดําาเนินงาน พบว่า อัตราการสวมหมวกนิรภัยเพิ่มขึ้น จาก 33.8% เป็น 74.6% อุบัติเหตุลดลง 50% เป็นเสียชีวิตเป็นศูนย์

นายนิรันดร์ชัย ถุงจันทร์ นายกองค์การบริหารส่วนตําบลกุดเสลา จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า อบต. กุดเสลา พบปัญหาอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์สูง สาเหตุมาจากไม่สวมหมวกนิรภัย จึงได้ระดมความคิดเห็นร่วมกับผู้นําาชุมชน อสม. อปพร. ประชาชนในพื้นที่ วางแผน แบ่งบทบาทหน้าที่ กระตุ้นให้ผู้ขับขี่สวมหมวกนิรภัย โดยการทักทาย ให้กําาลังใจ พร้อมกับสอบถาม และบันทึกข้อมูลการสวมหมวกนิรภัย ตั้งด่านเป็นประจําาสมํา่าเสมอ ปัจจัยสําาคัญที่ทําให้ด่านชุมชนปากหวานประสบความสําาเร็จ คือ 1. ความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน 2. สื่อสารเชิงบวก ทําาให้ชาวบ้านเกิดความรู้สึกดี ให้ความร่วมมือ ไม่ใช่การสั่งการหรือบังคับ แต่เป็นการสร้างจิตสําานึกร่วมกัน 3. บันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทําาให้เห็นสถานการณ์ปัญหา พัฒนาการที่เกิดขึ้นได้ชัดเจน 4. ได้รับการสนับสนุนทั้งองค์ความรู้จาก สสส. และ สอจร. ทําให้การดําเนินงานเป็นไปอย่างมีทิศทางและต่อเนื่องที่สําคัญคือ สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนให้มากที่สุด เพราะเมื่อรู้สึกเป็นเจ้าของก็จะช่วยกันคิดช่วยกันทําจนเกิดเป็นพลังของชุมชน


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง