คัดลอก URL แล้ว
ตัวแทนเวทีทิฟฟานี่เปิด speech กระเทาะสังคมในงานกระทรวง พม. ชี้ Binary gender system คือรากเหง้าปัญหาความไม่เท่าเทียม อีกก้าว เข้าใกล้ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ที่เราต้องก้าวไปด้วยกัน

ตัวแทนเวทีทิฟฟานี่เปิด speech กระเทาะสังคมในงานกระทรวง พม. ชี้ Binary gender system คือรากเหง้าปัญหาความไม่เท่าเทียม อีกก้าว เข้าใกล้ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ที่เราต้องก้าวไปด้วยกัน

เป็นข่าวดีอย่างยิ่งที่ประชุมสภาฯ ลงมติรับหลักการร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ทั้ง 4 ฉบับ  ซึ่งเป็นก้าวแรกของผลจากการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมกันของกลุ่ม LGBTQA+ ในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ทั้งนี้ประเด็นความเท่าเทียมกันเป็นสาระสำคัญของการประกวด Miss Tiffany’s Universe มาตลอด 25 ปี

ผู้เข้าประกวด Miss Tiffany 25th ทั้ง 30 คน ได้มีโอกาสร่วมงานใหญ่ระดับประเทศ ในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เรื่อง “หลักสูตรการยุติความรุนแรง ลดการตีตรา และการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งอัตลักษณ์ทางเพศและวิถีทางเพศ” จากความร่วมมือของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยในงานนี้ กองประกวดทิฟฟานี่ส่งตัวแทนหมายเลข 21 ‘กล้า’ พลกฤต เทพนามวงค์ ขึ้นกล่าวปราศรัยเพื่อตอกย้ำการเป็นหนึ่งในกระบอกเสียงสำคัญให้กับ LGBTQA+ Community ผ่านเรื่องราวความรุนแรง การตีตรา และการเลือกปฏิบัติที่เหล่า LGBTQA+ ได้พบเจอ พร้อมเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยประเด็นสำคัญที่ถูกพูดถึงคือ

ความไม่เท่าเทียมกันส่งผลถึงความรุนแรง ซึ่งมี 3 แบบหลักๆ

  1. ความรุนแรงทางกายและใจ : เป็นความรุนแรงที่ถูกพูดถึงมากที่สุด ที่ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มหลากหลายทางเพศ สตรี เด็ก ทุกคนก็ต่างมีโอกาสตกอยู่ในความรุนแรงนี้
  2. ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง : กฎหมาย กฎข้อบังคับต่างๆที่ยังมีอยู่ในปัจจุบันที่ยังไม่สามารถให้สิทธิที่เท่าเทียมกัน ถือเป็นความรุนแรงชนิดหนึ่งที่ต้องได้รับการแก้ไข
  3. ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม : ความเชื่อต่างๆที่ยึดถือปฏิบัติ อาทิ ลูกชายคนโตมีหน้าที่สืบสกุล ผู้หญิงคือช้างเท้าหลัง ผู้ชายควรเป็นผู้นำ โลกมีเพียงสองเพศคือชายและหญิง เป็นต้น

ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมส่งผลต่อความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ผู้มีอำนาจในการออกกฎหมายและสังคมที่ยังมีความเชื่อในทางนี้ก็จะส่งผลให้ประเทศเกิดกฎหมายที่ไม่เท่าเทียม ไม่ใช่แค่เฉพาะกลุ่ม LGBTQA+ Community แต่เป็นทุกเพศทุกวัยก็จะได้รับผลกระทบซึ่งกลายเป็นปัญหาใหญ่ในสังคม

Binary gender system หรือการแบ่งมนุษย์ออกเป็นหญิงและชายเท่านั้น เป็นระบบเพศที่มีอำนาจในการครอบงำความคิดและชี้นำผู้คนที่เป็นรากเหง้าของปัญหาความไม่เทียมของเพศทางเลือกในปัจจุบัน ซึ่งความเชื่อนี้ส่งผลต่อการออกกฎหมายต่างๆ เป็นโครงสร้างที่บูดเบี้ยวมาอย่างยาวนาน

หนทางการแก้ปัญหาต้องหยั่งลึกและครอบคลุมทุกมิติ หรือการใช้แนวทาง Triple A 

ชมคลิปคำปราศรัยเต็มๆ ของ ‘กล้า’ พลกฤต เทพนามวงค์ ตัวแทนผู้เข้าประกวด Miss Tiffany 25th ได้ที่ https://fb.watch/p3D4i__xjW/

กำหนดการประกวด

7 มกราคม 2567 – การประกวดรอบความสามารถพิเศษ

14 มกราคม 2567 – การประกวดรอบการเต้นรำ

20 มกราคม 2567 – การแข่งขันโต้วาทีเชิงไหวพริบและการคิดวิเคราะห์

29 มกราคม 2567 – “The Future Is Yours” Fashion show

2 กุมภาพันธ์ 2567 – การประกวดรอบพรีลิมินารี่ ประกวดชุดราตรีและชุดว่ายน้ำ

4 กุมภาพันธ์ 2567 – การประกวด Miss Tiffany 25th รอบไฟนอล

โดยสองรอบพิเศษกับพรีลิมินารี่และรอบไฟนอล สามารถรับชมที่โรงละครทิฟฟานี่ โชว์ พัทยา ซื้อบัตรได้แล้ววันนี้ ผ่านทาง www.tiffany-show.co.th/booking หรือรับชมสดๆ ผ่านทางออนไลน์ได้ที่ www.ticketmelon.com

ร่วมติดตามการประกวด “Miss Tiffany: The Future is yours” และให้กำลังใจสาวงามทั้ง 30 คน ได้ที่

Facebook: @MissTiffanyUniverse

YouTube: Miss Tiffany’s Universe

Instagram:@misstiffanyuniverse

TikTok: @MissTiffany.Official

#MTU25th

#MissTiffany

#MissTiffanysUniverse

#MTU25thTheFutureIsYours

#โลกใหม่ที่คุณนิยาม

#เพราะความฝันของฉันคือ

#MarriageEqualityThailand

#LoveWinsThailand


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง