คัดลอก URL แล้ว
แสตมป์ แฟร์เท็กซ์

วันสตรีสากล ส่งต่อแรงบันดาลใจจากชีวิตจริง แสตมป์ แฟร์เท็กซ์ นักสู้หญิงไทยที่แกร่งสุดใน พ.ศ.นี้

เก็บตกบรรยากาศ “วันสตรีสากล” 8 มีนาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นโอกาสดีที่ผู้คนทั่วโลกได้ระลึกถึงสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคเท่าเทียมกันของผู้หญิงและผู้ชาย เราจึงอยากยกเรื่องราวของสาวไทยสุดแกร่งในพ.ศ.นี้ “แสตมป์ แฟร์เท็กซ์” อดีตแชมป์โลก ONE คิกบ็อกซิ่งและมวยไทย รุ่นอะตอมเวตหญิง (105-115 ป.) และยังพ่วงตำเเหน่งแชมป์ ONE เวิลด์ กรังด์ปรีซ์ รุ่นอะตอมเวตหญิง กับเส้นทางที่เธอจะต้องฝ่าฟันจากนักมวยรากหญ้าสู่นักสู้ซูเปอร์สตาร์ระดับโลก

เส้นทางนักสู้ของ “แสตมป์” เริ่มในวัยอนุบาลเธอนันมีรูปร่างเล็กจึงมักถูกเพื่อนแกล้งที่โรงเรียนเป็นประจำ แต่เมื่อพ่อของเธอเป็นอดีตนักมวยไทย และลุงมีค่ายมวยเล็ก ๆ เธอจึงมีความคิดที่จะซ้อมมวยไว้เพื่อป้องกันตัวเองจากการโดนกลั่นแกล้ง

แสตมป์ แฟร์เท็กซ์ ในวัยเด็ก
แสตมป์ แฟร์เท็กซ์ ในวัยเด็ก

แม้จะเริ่มต้นเรียนมวยไว้ป้องกันตัว “แสตมป์” ก็ตั้งใจฝึกซ้อมจนได้ขึ้นสังเวียนครั้งแรก และโชว์น็อกใส่คู่แข่งตั้งแต่ยกแรก จากนั้นก็ได้เดินสายแข่งจนได้เป็นแชมป์ประจำภาคตะมันออกเฉียงเหนือ แต่ด้วยมวยหญิงในขณะนั้นไม่ได้เป็นที่นิยมจึง ทำให้หาคู่ชายาก “แสตมป์” จึงตัดสินใจหยุดชกมวยไปถึง 8 ปี

“แสตมป์” ก็ได้เริ่มต้นเส็นทางนักสู้อีกครั้ง เมื่อเธอได้เข้าร่วมค่ายดังแห่งเมืองพัทยาอย่าง “แฟร์เท็กซ์” ในฐานะนักกีฬาศิลปะการต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA) โดยถูกวางตัวให้เป็นนักกีฬาหญิง MMA ความหวังคนแรกของค่ายตั้งแต่ตอนนั้น ถึงแม้ความรู้ด้านการต่อสู้ MMA จะเป็นศูนย์ก็ตาม

แต่ด้วยความพยายามในการฝึกซ้อม ร่วมกับพื้นฐานการต่อสู้ด้านมวยไทยและได้โค้ชมืออาชีพเข้ามาดูแลด้านการฝึกซ้อม ทำให้ “แสตมป์”และได้โค้ชมืออาชีพเข้ามาดูแลด้านการฝึกซ้อมจนได้ก้าวขึ้นพิสูจณ์ตัวเองในรายการ

แสตมป์ แฟร์เท็กซ์

แม้จะมีความรู้ด้านการต่อสู้ MMA เป็นศูนย์ แต่ด้วยพื้นฐานการต่อสู้ด้านมวยไทย และได้โค้ชมืออาชีพเข้ามาดูแลด้านการฝึกซ้อม บวกกับความพยายามของ “แสตมป์” ทำให้เธอพัฒนาฝีมือและทักษะอย่างรวดเร็ว Rich Franklin’s ONE Warrior Series

เป็นสังเวียนค้นหานักกีฬาดาวรุ่งจากระดับรากหญ้าที่มีความสามารถโดดเด่นเพื่อเข้าร่วมสังกัดของ ONE โดยเวที OWS ถือว่ามีความสำคัญมากกว่าเป็นเวทีค้นหานักสู้หน้าใหม่จากทั่วโลก แต่ยังเป็นการส่งเสริมวิชาศิลปะการต่อสู้จากรากหญ้าของแต่ละพื้นที่ในแต่ละประเทศ และเป็นพื้นที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนนับล้านทั่วโลกด้วยเรื่องราวของความหวัง ความแข็งแกร่ง และความฝันของเหล่านักกีฬาที่ผ่านเวทีนี้

ในไฟต์แรก “แสตมป์” ก็สร้างผลงานชนะน็อกคู่ต่อสู้ด้วยลูกเตะก้านคอภายในเวลาเพียง 12 วินาทีของยกแรก จนถูกดึงตัวให้เป็นนักกีฬาภายใต้สังกัดของ ONE หลังจากนั้นทันที

แสตมป์ แฟร์เท็กซ์

หลังจากนั้น “แสตมป์” ก็ก้าวสู่ตำหน่งผู้ท้าชิงและได้ครองเข็มขัดแชมป์โลก ONE คิกบ็อกซิ่ง รุ่นอะตอมเวต เส้นแรกด้วยการเอาชนะ “ไค่ ถิง ฉวง” ผู้เป็นแชมป์โลกในขณะนั้น ตั้งแต่ไฟต์แรกใน ONE

ต่อมา “แสตมป์” ได้โอกาสชิงเข็มขัดแชมป์โลกอีกเส้น ซึ่งคราวนี้เป็นกติกามวยไทยที่เธอถนัด โดยต้องปะทะฝีมือกับ “เจเน็ต ท็อดด์” อีกหนึ่งตัวแม่ในวงการมวยไทย ตลอด 5 ยกทั้งคู่ต่างขับเคี่ยวกันสุดดุเดือด และท้ายที่สุด “เเสตมป์” ก็คว้าเข็มขัด ONE มวยไทย รุ่นอะตอมเวต มาครองได้เป็นคนแรกของรายการ

แม้ต่อมา “แสตมป์” จะเสียเข็มขัดทั้งสองเส้นไป แต่เธอก็ตั้งเป้าหมายใหม่หันกลับมาเอาดีในสาย MMA โดยตะลุยสร้างฟอร์มชนะ 4 ไฟต์รวดจนได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 8 สาวแกร่งในทัวร์นาเมนต์ MMA ลุยศึก ONE เวิลด์ กรังด์ปรีซ์ รุ่นอะตอมเวตหญิง

เธอฝ่าด่านคู่แข่งมากฝีมือ ทะลุถึงรอบชิงชนะเลิศ และเอาชนะ “ริตู โฟกาต” สาวนักปล้ำจากอินเดียในยกที่สอง ลบคำสบประมาทเกี่ยวกับทักษะ MMA ของเธอ ประกาศศักดานักกีฬาหญิงไทยคนแรกที่ได้ครองเข็มขัดเงินสุดเลอค่านี้ เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.64

ส่งให้เธอได้สิทธิ์ขึ้นชิงแชมป์โลกกับราชินีอะตอมเวต “แองเจลา ลี” แม้จะไม่สามารถกระชากแชมป์ได้ แต่ “แสตมป์” ก็ยังรังเก้าอี้เบอร์หนึ่งของแรงกิงรุ่นอะตอมเวต และได้พิสูจน์แล้วว่าแม้จะเพิ่งเริ่มต้นในสาย MMA เพียงไม่กี่ปี แต่เธอสามารถพัฒนาตัวเองขึ้นมาอย่างก้าวกระโดด จนได้จากรางวัล “นักสู้ MMA หญิงยอดเยี่ยม” ประจำปี 2564

นอกจากนี้ระยะเวลา 4 ปีใน ONE ของ “แสตมป์” ยังทำให้เธอก้าวจากนักมวยโนเนมสู่นักสู้ระดับซูเปอร์สตาร์ หาเงินได้เป็นกอบเป็นกำจนสามารถขยายกิจการธุรกิจสวนทุเรียนของครอบครัวได้อีกด้วย

จากสาวน้อยที่ถูกเพื่อนแกล้งสู่นักสู้ซูเปอร์สตาร์ระดับโลก “แสตมป์” แสดงให้เห็นถึงพลังที่ยิ่งใหญ่ของผู้หญิงคนหนึ่งที่สามารถทำได้ทุกอย่างตามที่ใจต้องการ

อย่างไรก็ตาม “แสตมป์” มีคิวบินลัดฟ้าลุยศึกใหญ่ที่ ONE ยกพลไปจัดการแข่งขันในดินแดนพญาอินทรีเป็นครั้งแรก  โดยมีคิวดวลเดือดกับ “อลิส แอนเดอร์สัน” ในกติกาการต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA) รุ่นอะตอมเวต (115 ป.) ในศึก ONE FIGHT NIGHT 10 ซึ่งจะถ่ายทอดสดจาก เฟิร์สแบงก์ เซ็นเตอร์ รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกาในวันเสาร์ที่ 6 พ.ค.66

แฟน ๆ สามารถจองบัตรเข้าชมในสนามได้แล้วตอนนี้ที่ onefc.com/onefightnight10 และสามารถติดตามข่าวสารและความคืบหน้าของ ONE ได้ที่เฟซบุ๊ก ONE Championship Thailand เว็บไซต์ www.onefc.com และอินสตาแกรม ONEChampTh


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง