สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในวันนี้ (20 ม.ค.) พบว่า ปริมาณฝุ่น PM 2.5 สูงขึ้นในหลายพื้นที่ อยู่ในระดับสูงเกินค่ามาตรฐาน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก
โดยศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 20 มกราคม 2568 ณ 07:00 น ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศพบเกินค่ามาตรฐาน (เฉลี่ย 24 ชั่วโมง) ใน 45 จังหวัดด้วยกัน คือ
จ.ปทุมธานี กรุงเทพฯ จ.นนทบุรี จ.นครปฐม จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรปราการ จ.น่าน จ.ลำปาง จ.แพร่ จ.อุตรดิตถ์ จ.สุโขทัย จ.พิษณุโลก จ.ตาก จ.กำแพงเพชร จ.พิจิตร จ.เพชรบูรณ์ จ.นครสวรรค์ จ.อุทัยธานี จ.ชัยนาท จ.สิงห์บุรี จ.ลพบุรี จ.สระบุรี จ.อ่างทอง จ.พระนครศรีอยุธยา จ.สุพรรณบุรี จ.ราชบุรี จ.สมุทรสงคราม จ.เพชรบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.สระแก้ว จ.ชลบุรี จ.ระยอง จ.ตราด จ.ชุมพร จ.หนองคาย จ.เลย จ.อุดรธานี จ.นครพนม จ.หนองบัวลำภู จ.ขอนแก่น จ.กาฬสินธุ์ จ.มหาสารคาม จ.ยโสธร จ.นครราชสีมา และ จ. บุรีรัมย์

สำหรับสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในรายภาค พบว่า
- ภาคเหนือ เกินค่ามาตรฐาน 13 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 12.2 – 65.3 มคก./ลบ.ม.
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 30.9 – 65.2 มคก./ลบ.ม.
- ภาคกลางและตะวันตก เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 35.1 – 91.9 มคก./ลบ.ม.
- ภาคตะวันออก เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 25.4 – 63.1 มคก./ลบ.ม.
- ภาคใต้ เกินค่ามาตรฐาน 1 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 16.2 – 59.7 มคก./ลบ.ม.
- กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ กทม. เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 37.6 – 73.7 มคก./ลบ.ม.
กทม. อ่วม ฝุ่นเพิ่มสูงขึ้น
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 20 มกราคม 2568 เวลา 07:00 น. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 54.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
โดย5 อันดับ ของค่าฝุ่นPM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร
- เขตหนองแขม 71.9 มคก./ลบ.ม.
- เขตภาษีเจริญ 66.7 มคก./ลบ.ม.
- เขตคลองสามวา 65.5 มคก./ลบ.ม.
- เขตหนองจอก 64 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางขุนเทียน 62.6 มคก./ลบ.ม.
ซึ่งหาดูเป็นพื้นที่ตามโซนต่าง ๆ ของกรุงเทพฯ พบว่า
- กรุงเทพเหนือ 46.6 – 61.1 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ - กรุงเทพตะวันออก 46.9 – 65.5 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ - กรุงเทพกลาง 44.8 – 53.6 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ - กรุงเทพใต้ 38.3 – 57.2 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ - กรุงธนเหนือ 50.1 – 62 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ - กรุงธนใต้ 51.9 – 71.9 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
โดยทางกรุงเทพได้ให้ข้อแนะนำสุขภาพดังนี้ คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
สูงเกือบทั้งประเทศ
ในขณะที่รายงานการตรวจวัดปริมาณฝุ่นPM 2.5 โดยศูนย์ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รายงานผลการตรวจวัด ณ เวลา 07.00 น. พบ ว่า พื้นที่ประเทศไทยส่วนใหญ่ มีปริมาณฝุ่นอยู่ในระดับสีส้ม โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน
จุดที่มีการรายงานฝุ่น PM 2.5 สูงที่สุด 10 อันดับแรก
จุดตรวจวัด | ค่าฝุ่น PM 2.5 (μg/m3) |
---|---|
โรงเรียนมัธยมปุรณาวาส แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร | 170 |
รพ.สต.บ้านงิ้วเฒ่า ต.ป่าหุ่ง อ.พาน จ.เชียงราย | 168 |
รพ.ทรายทองวัฒนา ต.ทุ่งทราย อ.ทรายทองวัฒนา จ.กำแพงเพชร | 151 |
รพ.สต. บ้านหว้า ต.โนนทัน อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น | 146 |
จุดคัดกรองโรคระบบทางเดินหายใจ รพ.ผาขาว อ.ผาขาว จังหวัดเลย | 143 |
ตึกผู้ป่วยนอก (OPD) โรงพยาบาสุโขทัย ต.บ้านกล้วย อ.เมือง จ.สุโขทัย | 143 |
รพ.สต.เชียงรากน้อย อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา | 140 |
โรงพยาบาลกระทุ่มแบน อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร | 136 |
