ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1-2567 ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 11-13 มีนาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปกระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง โดยพบว่า
จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า
- ร้อยละ 42.75 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล)
เพราะ มีความกล้าหาญ ตรงไปตรงมา บุคลิกเป็นผู้นำ และเป็นคนรุ่นใหม่ - ร้อยละ 20.05 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
- ร้อยละ 17.75 ระบุว่าเป็น นายเศรษฐา ทวีสิน (พรรคเพื่อไทย)
เพราะ เป็นคนเก่ง มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ด้านเศรษฐกิจ - ร้อยละ 6.00 ระบุว่าเป็น นางสาวแพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย)
เพราะ เป็นคนรุ่นใหม่ มีทัศนคติที่ดี และมีความเป็นผู้นำ - ร้อยละ 3.55 ระบุว่าเป็น นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ)
เพราะ มีวิสัยทัศน์ดี ซื่อสัตย์ มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ในการทำงาน - ร้อยละ 2.90 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)
เพราะ เป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ ทำงานด้วยความโปร่งใส และมีประสบการณ์ในการทำงาน - ร้อยละ 1.45 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย)
เพราะ มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ซื่อสัตย์ และมีความเด็ดขาดในการตัดสินใจ - ร้อยละ 1.05 ระบุว่าเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ)
เพราะ มีประสบการณ์ในการทำงาน และมีผลงานทางการเมือง - ร้อยละ 2.45 ระบุอื่น ๆ ได้แก่
นายชัยธวัช ตุลาธน (พรรคก้าวไกล)
นายวราวุธ ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา)
นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์)
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน (พรรคประชาธิปัตย์)
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ)
นายกรณ์ จาติกวณิช
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) และ
พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง (พรรคประชาชาติ) - ร้อยละ 2.05 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนจะสนับสนุนในวันนี้ พบว่า
- ร้อยละ 48.45 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
- ร้อยละ 22.10 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
- ร้อยละ 12.75 ระบุว่า ยังหาพรรคการเมืองที่เหมาะสมไม่ได้
- ร้อยละ 5.10 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ
- ร้อยละ 3.50 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
- ร้อยละ 2.30 ระบุว่าเป็นพรรคพลังประชารัฐ
- ร้อยละ 1.70 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย
- ร้อยละ 1.30 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย
- ร้อยละ 1.40 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนากล้า พรรคเสรีรวมไทย พรรคประชาชาติ พรรคเพื่อไทยรวมพลัง และพรรคท้องถิ่นไทย และไม่ตอบ/ไม่สนใจ ในสัดส่วนที่เท่ากัน