คัดลอก URL แล้ว
นักเคลื่อนไหว นัดแต่งดำ ขอศาลอาญาไม่รับฝากขัง “ตะวัน-แฟรงค์”

นักเคลื่อนไหว นัดแต่งดำ ขอศาลอาญาไม่รับฝากขัง “ตะวัน-แฟรงค์”

วันที่ 9 มีนาคมที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก นางพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม และทนายความสิทธิมนุษยชน นายนภสินธุ์ ตรีรยาภิวัฒน์ หรือสายน้ำ น.ส.อรวรรณ ภู่พงษ์ หรือแบม 2 นักกิจกรรมทางการเมือง พร้อมมวลชนบางส่วน ร่วมทำกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ โดยการสวมใส่เสื้อดำถือดอกทานตะวัน ผูกริบบิ้นขาว เข้ายื่นคำแถลงต่อศาล เพื่อขอให้พิจารณาไม่รับฝากขังในครั้งต่อไปอีก หากมีใครมายื่นคำร้อง เพราะไม่มีความจำเป็นและเป็นการคุมขังเกินความจำเป็นไม่เป็นไปตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในคดีของ น.ส.ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือตะวัน และนายณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร หรือ แฟรงค์ 2 ผู้ต้องหาในความผิดตามมาตรา 116

โดยนางพรเพ็ญ ระบุว่า สำหรับการออกมาเคลื่อนไหวในวันนี้ เพื่อขอให้ศาลทบทวนคำสั่งเมื่อวานนี้(9 มี.ค.) ที่อนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตำรวจเท่านั้นเสนอให้มีการขยายฝากขังเป็นครั้งที่ 3 เป็นเวลาอีก 12 วัน โดยบทบาทของตุลาการสามารถเข้าแทรกแซงและอำนวยความยุติธรรมในคำสั่งได้ทันที เรามีความเชื่อมั่นว่าแม้กระทั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีการเขียนระบุในคำขอฝากขังว่า บุคคลทั้ง 2 ซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาในคดีมาตรามาตรา 116 พนักงานสอบสวนมีการอ้างว่า มีเจตนาแสดงความผิดและคำฟ้องดังกล่าว ไม่สามารถยุ่งเหยิงพยานได้ โดยเหตุดังกล่าวนี้เราเชื่อว่าศาลที่เป็นผู้พิพากษารับผิดชอบสำนวนและรับผิดชอบหน้าที่ในวันนี้ จะพิจารณาถึงความจำเป็นและเหตุผลทางกฎหมายรวมทั้งทางมนุษยธรรมว่า การปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไขประกันตัวเป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมต้นน้ำ ที่แสดงให้เห็นว่าประชาชนยังมีความหวังกับระบบตุลาการได้โดยเฉพาะในคดีนี้ และผู้ต้องสงสัยทั้ง 2 คน เป็นเพียงเยาวชนที่ร่วมกันแสดงอารยะขัดขืนในการอดอาหารด้วยความสงบไม่สามารถทำร้ายใคร ไม่สามารถที่จะทำให้เกิดความรุนแรงในสังคมด้วยวิธีการใดๆ ดังนั้นเหตุและผลที่เราต้องการนำเสนอ คือ ข้อเท็จจริงกฎหมาย และมนุษยธรรม ซึ่งผู้พิพากษาซึ่งเป็นนักกฎหมายด้วยกัน สามารถพิจารณาเนื้อหาสาระได้อย่างมีความเป็นธรรม เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นในระบบตุลาการต่อไป

ด้าน น.ส.อรวรรณ  ระบุว่า ผู้หญิงในสังคมนี้เข้มแข็งและอดทนกันมาก พลังผู้หญิงสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมเป็นอย่างมาก ตนอยากจะพูดถึงเรื่องกระบวนการยุติธรรม อยากให้ทุกคนในประเทศนี้ได้รับความยุติธรรม สำหรับตะวันและแฟรงค์ที่ทำทุกวันนี้ไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง แต่เป็นการทำเพื่อไม่อยากให้ใครมาเจอกับเหตุการณ์แบบนี้ เพราะกระบวนการยุติธรรมที่บิดเบี้ยวทำร้ายประชาชนและเยาวชนในประเทศนี้ เราควรจะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไม่ว่าเร็วหรือช้าจะต้องทำให้ได้ เพราะประเทศไทยยังมีปัญหาเรื่องสิทธิสิทธิ เสรีภาพในการแสดงออกอย่างมาก และประเทศไทยไม่สมควรที่จะได้เป็น คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเพราะทุกวันนี้ยังมีผู้ต้องขังและคนถูกดำเนินคดีเพิ่มขึ้นมากขึ้น และประชาชนที่ถูกติดปากมากขึ้นทุกวันทั้งที่เรามองเห็นและมองไม่เห็น

ทั้งนี้ กฎหมายให้ศาลพิจารณาความสมควร ของการฝากขังเพื่อกลั่นกรอง ให้เกิดความยุติธรรม ไม่ใช่รับฝากขังทุกครั้ง เราจึงยอมให้อำนาจตำรวจในการตัดสินใจเอง และศาลไม่จำเป็นที่จะต้องเห็นด้วยกับตำรวจทุกครั้ง และตราบใดที่กระบวนการยุติธรรมอย่างบิดเบี้ยว ทุกคนสาทารถเจอเรื่องแบบนี้ได้ทุกคดี

“ตนขอเป็นกำลังใจให้กับนักกิจกรรมที่เผชิญกับความยากลำบากในการอดอดอาหาร สุดท้ายกระบวนการยุติธรรมยังบิดเบี้ยว ทุกคนในสังคมบอกว่า ”แค่ให้น้องกินอาหารกินน้ำ และเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม“ แต่สำหรับพวกเขาเหล่านี้มองว่าหิวความยุติธรรมมากกว่า นอดจากนี้ตนขอย้ำ 3 ข้อเรียกร้อง คือ ต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม/ ต้องไม่มีใครติดคุกเพราะเห็นต่าง / ประเทศไทยไม่ควรเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน และหลังจากนี้เราจะมีกิจกรรมยืนอยู่ขัง 1.12 ชั่วโมง

สำหรับการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ มวลชนได้สวมใส่ชุดดำเปรียบเหมือนกันไว้อาลัยให้กับกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย และเป็นความหม่นหมองเศร้าโศกของประชาชน ส่วนดอกทานตะวันแสดงถึงพลังของตะวันและสิทธิสตรี ที่เป็นแสงสว่างของประเทศ โดยตะวันจะขึ้นทุกย่ำรุ่งและจะตกในทุกเย็น แต่จะขึ้นใหม่ทุกครั้งทุกเช้า เสมือนเป็นความหวังให้กับประชาชนในประเทศนี้


ข่าวที่เกี่ยวข้อง