คัดลอก URL แล้ว
เรียกร้องปล่อย “ตะวัน-แฟรงค์” เพื่อความเท่าเทียม

เรียกร้องปล่อย “ตะวัน-แฟรงค์” เพื่อความเท่าเทียม

“ยังมีพยานบุคคลต้องสอบอีก 2 ปาก” เป็นเหตุผลที่ศาล ยกขึ้นมาในการพิจารณา ก่อนให้ ฝากขัง ตะวัน และแฟรงค์ เป็นครั้งที่ 3 .. ในคดี ขัดขวางขบวนเสด็จ แต่ศาลกำชับตำรวจเร่งสอบปากคำพยานให้แล้วเสร็จในการฝากขังครั้งนี้ ศาลอนุญาตฝากขังตะวัน-แฟรงค์อีก 12 วัน

ศาลอาญาไต่สวน โดยไม่ได้เบิกตัวผู้ต้องหาทั้ง 2 คนมาศาล ซึ่ง นายณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร หรือ แฟรงค์วิดีโอคอนเฟอเรนซ์จาก โรงพยาบาลราชฑัณฑ์ ส่วน นางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือ ตะวัน รักษาตัวที่ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ไม่สามารถวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ได้หลังไต่สวนศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขัง ตะวัน และ แฟรงค์ เป็นครั้งที่ 3 ระยะเวลา 12 วัน เนื่องจาก พนักงานสอบสวนยังมีพยานบุคคลต้องสอบอีก 2 ปากซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ต้องหา และยังต้องรอวิดีโอพยานหลักฐาน ว่ามีการแก้ไข ดัดแปลงหรือไม่ เพื่อประกอบการพิจารณา ทำความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งสอง แต่ได้กำชับให้พนักงานสอบสวน เร่งรัดสอบปากคำให้แล้วเสร็จในการฝากขังครั้งนี้

สะท้อนความเห็นปล่อย “ตะวัน-แฟรงค์” เพื่อความเท่าเทียม

ก่อนหน้านี้ ตัวแทนนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส. ศิวรักษ์ และนายอธึกกิต แสวงสุข หรือ ใบตองแห้ง สื่อมวลชนอิสระ ยื่นคำแถลงต่อศาลอาญา เพื่อขอให้ศาลพิจารณาไม่รับฝากขัง ตะวัน และแฟรงค์ ให้เหตุผล ว่าทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน การควบคุมกักขัง ที่ชอบด้วยกฎหมายจะต้องทำเพื่อ ป้องกันภยันอันตรายหรือการหลบหนีเท่านั้น โดยเห็นว่าผู้ต้องหาทั้ง 2 คนนี้ เป็นเพียงผู้ถูกกล่าวหา ที่พนักงานอัยการยังไม่ได้ฟ้องเป็นคดีต่อศาล และการต่อสู้ของเยาวชน 2 คนนี้เป็นการต่อสู้ทางความคิด

การฝากขังผู้ต้องหาทั้ง 2 อาจเป็นการด้อยค่าสิทธิมนุษยชน เพราะทั้ง 2 คน ไม่มีพฤติการณ์หลบหนีตะวันและแฟรงค์ถูกคุมขังในเรือนจำจากข้อกล่าวหาบีบแตร และขัดขวางขบวนเสด็จ หากแยกเป็นความผิดตามกฎหมาย คือ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ยุยงปลุกปั่น ,พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ , ร่วมกันก่อความรำคาญในที่สาธารณะ,ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน และบีบแตรรถยนต์โดยไม่มีเหตุอันควรตาม พ.ร.บ.จราจรฯ ทั้งคู่ถูกคุมขังตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์

ซึ่งตะวันและแฟรงค์ ประกาศอดอาหาร ปฏิเสธการรักษา เพื่อเรียกร้องการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม


ข่าวที่เกี่ยวข้อง