คัดลอก URL แล้ว
จับตา “เอลนีโญ” ฉุดผลผลิต 5 พืชเศรษฐกิจ

จับตา “เอลนีโญ” ฉุดผลผลิต 5 พืชเศรษฐกิจ

สภาพอากาศภัยพิบัติต่างๆ ยังเป็นประเด็นปัญหาใหญ่ของเกษตรกร โดยเฉพาะเอลนีโญ่ และโลกที่ร้อนขึ้น ทำให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญ 5 ชนิดลดลง ต้องเป็นหนี้สินเพิ่มขึ้น

พืช 5 เศรษฐกิจที่ว่า คือ ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน และมันสำปะหลัง นายอัทธ์ พิศาลวานิช นักวิชาการอิสระและผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ที่ปรึกษาบริษัท อินเทลลิเจนท์ รีเสิร์ช คอนซัลแตนท์ (ไออาร์ซี) จำกัด เปิดเผยว่า ผลวิเคราะห์กรณีปรากฏการณ์เอลนีโญที่มีผลกระทบต่อเกษตรกร พบว่า คาดการณ์ปี 2567 โลกร้อนขึ้น ผลต่อเนื่องจากปริมาณน้ำทำการเกษตรลดลง ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา อาจถึงปี 2575

ส่งต่ออุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นจาก 0.8 องศาเซลเซียส เป็น 1.2 องศาเซลเซียส เฉพาะปี 2567 การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลกเพิ่มมากกว่า 1 องศาเซลเซียส ส่งผลปริมาณน้ำของไทยปี 2567 ลดลง 4,025 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปี 2566

ตามข้อมูลสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ประเมินล่าสุดกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทำให้น้ำใช้เพื่อการเกษตรลดลง ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตภาคเกษตรที่สูงอยู่แล้ว ยิ่งสูงขึ้นอีก

นายอัทธ์ ระบุว่า บริษัท IRC คาดปี 2567 ปริมาณน้ำฝนลดลงร้อยละ 5-15 ตามความรุนแรง จากปี 2566 เอลนีโญจะทำให้ผลผลิตข้าวเปลือกไทยลดลงมากสุดในอาเซียน ปี 2567 บริษัทผลผลิตข้าวเปลือกไทยลดลงมากสุด 3.5 ล้านตัน และ 5.1 ล้านตัน ในปี 2568 ซึ่งลดลงมากกว่าผลผลิตข้าวเปลือกของอินโดนีเซีย เวียดนามและเมียนมา

ทั้งนี้ เมื่อเทียบ 5 พืชเศรษฐกิจไทย คือ ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน และมันสำปะหลัง ประเมินว่าข้าว ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน เป็น 3 กลุ่มเสี่ยงผลผลิตลดลงมากสุดในปี 2567 หากอุณหภูมิเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 และปริมาณน้ำฝนลดลงร้อยละ 1 ร้อยละคาดว่าผลผลิตข้าวเปลือกลดลง 1.3 ล้านตัน ปาล์มน้ำมันลดลง 6 แสนตัน และทุเรียนลดลง 4.9 แสนตัน ซึ่งเอลนีโญส่งผลให้อัตราการผลผลิตข้าวเปลือกลดลง 3 ปีติดต่อแล้ว ตั้งแต่ปี 2564

ขณะเดียวกันเอลนีโญส่งผลต่อรายได้ ทุเรียนและปาล์ม ลดลงมากสุด แต่รายได้ข้าว ยางพารา ติดลบมากสุด รายได้ต่อไร่ของชาวนา หายไป 971 บาท/ไร่ และ

ชาวสวนยางพาราหายไป 3,315 บาท/ไร่และมีผลทำให้ครัวเรือนเกษตรกรเป็นหนี้เพิ่มขึ้น โดยครัวเรือนชาวนามีหนี้เพิ่มมากสุดอยู่ที่ 298,530 บาท/ครัวเรือน ตามด้วยยางพารา 271,700 บาท/ครัวเรือน และปาล์ม มันสำปะหลังและทุเรียน ตามลำดับ


ดังนั้น รัฐบาลต้องเร่งบริหารจัดการ และหาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรโดยด่วน เช่น ระบบ Smart Water โดยใช้เทคโนโลยีน้ำน้อย ทำให้ดินชุ่มชื่น และโครงการ 1 น้ำ 1 เกษตรกร เป็นต้นนายอัทธ์ บอกว่า ในภาพรวมจากต้นทุนและภาระที่เพิ่มขึ้นจากเอลนีโญส่งผลให้หนี้ครัวเรือนเกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 คิดเป็นประมาณ 8 หมื่นล้านบาท ทำให้หนี้ครัวเรือนเกษตรกรถ้าไม่มีเอลนีโญอยู่ที่ 11.6 ล้านล้านบาท เป็น 11.7 ล้านล้านบาท หากเจอเอลนิโญรุนแรง


ข่าวที่เกี่ยวข้อง