คัดลอก URL แล้ว
30 บาทรักษาทุกที่ เงื่อนไขการใช้สิทธิและ หน่วยบริการใน 4 จังหวัดนำร่อง

30 บาทรักษาทุกที่ เงื่อนไขการใช้สิทธิและ หน่วยบริการใน 4 จังหวัดนำร่อง

เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เปิดกิจกรรม Kick off  “30 บาท รักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว” โดยนำร่องใน 4 จังหวัดได้แก่ จังหวัดแพร่, ร้อยเอ็ด, เพชรบุรีและจังหวัดนราธิวาส โดยผู้ป่วยสามารถใช้บัตรประชาชนใบเดียวเข้ารักษาได้ครอบคลุม โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง และสถานพยาบาลเอกชน ได้แก่ ร้านยา คลินิกการพยาบาลฯ คลินิกเวชกรรม คลินิกเทคนิคการแพทย์ คลินิกทันตกรรม คลินิกแพทย์แผนไทย ที่ขึ้นทะเบียนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

สามารถตรวจสอบหน่วยบริการใน 4 จังหวัดดังนี้

จังหวัดแพร่ : https://www.nhso.go.th/page/Innovative-services-Phrae-Province

จังหวัดเพชรบุรี : https://www.nhso.go.th/page/Innovative-services-Phetchaburi-Province

จังหวัดร้อยเอ็ด : https://www.nhso.go.th/page/Innovative-services-RoiEt-Province

จังหวัดนราธิวาส : https://www.nhso.go.th/page/Innovative-services-Narathiwat-Province

สิทธิบัตรทอง 30 บาท มีอะไรบ้าง

สิทธิบัตรทอง 30 บาท หรือสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถเข้ารับบริการตั้งแต่การป้องกันโรค การตรวจ การวินิจฉัย และการรักษา ประกอบด้วย สิทธิสุขภาพดีป้องกันโรค , สิทธิประโยชน์ทันตกรรม,กรณีอุบัติเหตุ,เจ็บป่วยทั่วไป,เจ็บป่วยฉุกเฉิน,นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (UCEP),ผ้าอ้อมผู้ใหญ่และแผ่นรองซับ,ค่าอาหารและค่าห้องสามัญ,การคลอดบุตร,การรับถุงยางผ่านแอปเป๋าตังและตู้อัตโนมัติ,การรับยาคุมกำเนิดผ่านแอปเป๋าตัง,การวางแผนครอบครัว,ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก,บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย (ท้องไม่พร้อม),บริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก,บริการแว่นสำหรับเด็กที่มีสายตาผิดปกติ และพาหนะรับส่งผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยสามารถการร่วมจ่ายค่ารักษา 30 บาท หรือไม่ร่วมจ่ายค่าบริการ ตามความสมัครใจ  สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มวิธีการรับสิทธิ สิทธิประโยชน์ในการรักษาและป้องกันโรค ที่นี่ :https://www.nhso.go.th/page/coverage_rights

การลงทะเบียนขอรับสิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง30บาท)

ประชาชนสามารถลงทะเบียนแบบคำร้อง ดาวโหลดได้ที่ https://www.nhso.go.th/storage/files/shares/PDF/FM-256-02-007-Rev_05.pdf

หลักฐานที่ต้องใช้แบ่งเป็น 2 กรณีคืออาศัยตามหน้าบัตรประจำตัวประชาชน และ พักไม่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน

1.ประชาชนพักตรงตามที่อยู่หน้าบัตรประจำตัวประชาชน/สูติบัตร

เอกสารที่ใช้ : บัตรประจำตัวประชาชน / สูติบัตร (กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี)

2.ประชาชนพักไม่ตรงตามที่อยู่หน้าบัตรประจำตัวประชาชน/สูติบัตร

เพิ่มเอกสารรับรองที่แสดงว่าตนเองมีถิ่นที่อยู่หรือพักอาศัยในพื้นที่นั้น (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ได้แก่ ทะเบียนบ้านเจ้าบ้านและหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน ,หนังสือรับรองผู้นำชุมชนและบัตรประจำตัวผู้นำชุมชน,หนังสือรับรองผู้ว่าจ้างและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ว่าจ้าง,

ใบเสร็จค่าสาธารณูปโภค  (หากเป็นชื่อผู้ขอลงทะเบียนใช้รับรองได้)  ,สัญญาเช่าที่พัก (สัญญาเช่าเป็นชื่อผู้ขอลงทะเบียน/ชื่อญาติ สามารถใช้รับรองได้)

ช่องทางลงทะเบียนรับสิทธิ

https://www.nhso.go.th/page/coverage_rights_register

กรุงเทพมหานคร : แอปพลิเคชัน สปสช. / ไลน์ สปสช. @nhso

ต่างจังหวัด           : แอปพลิเคชัน สปสช. / ไลน์ สปสช. @nhso

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) / โรงพยาบาลรัฐใกล้บ้าน (วันเวลาราชการ)

วิธีเช็กสิทธิรักษาพยาบาล

โทร.สายด่วน สปสช. 1330 กด 2

เว็บไซต์ สปสช. https://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml

แอปพลิเคชั่น สปสช. เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิตนเอง

ไลน์ สปสช. @nhso หรือ https://lin.ee/zzn3pU6 เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิ

#30บาทรักษาทุกที่ #เช็คสิทธิ30บาทรักษาทุกที่ #สถานพยาบาล30บาทรักษาทุกที่ #4จังหวัดนำร่อง30บาทรักษาทุกที่ #ลงทะเบียน30บาทรักษาทุกที่ #MONONEWS #MONO29 #ข่าวโมโน #สังคมอยากรู้ดูข่าวโมโน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง