คัดลอก URL แล้ว
“J-Alert”ระบบเตือนภัยขั้นเทพของญี่ปุ่น

“J-Alert”ระบบเตือนภัยขั้นเทพของญี่ปุ่น

แผ่นดินไหว ถือเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ไม่มนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้ ยากที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น 1 ในประเทศที่ได้ชื่อว่าเผชิญกับภัยแผ่นดินไหวบ่อยที่สุดในโลก แต่พวกเขาสามารถลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีการเตือนภัยล่วงหน้าที่มีชื่อว่า “J-Alert”

“J-Alert” เป็นระบบเตือนภัยแผ่นดินไหว สึนามิ พายุ น้ำท่วม ภูเขาไฟระเบิด สภาพอากาศที่รุนแรง ตลอดจนสามารถเตือนภัยหากประเทศถูกคุกคามด้วยขีปนาวุธ พร้อมส่งคำแนะนำให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่ปฎิบัติตาม ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในปี 2004

โดยระบบจะขึ้นแจ้งเตือนบนโทรทัศน์พร้อมกับรายการต่าง ๆ เป็นการแจ้งข้อมูลการเตือนภัยและวิธีการปฏิบัติตัวไม่ใช่เฉพาะปรากฏบนจอโทรทัศน์เท่านั้น แต่จะส่งเป็นข้อความไปปรากฎครอบคลุมทุกการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นลำโพงกระจายเสียงตามท้องถิ่น วิทยุ เว็บไซต์ รวมถึงสมาร์ทโฟน ในสมาร์ทโฟนของญี่ปุ่นหากเกิดแผ่นดินไหวจะมีข้อความแล้วเสียงแจ้งเตือน 5 – 10 วินาที เพื่อให้ประชาชนได้หนีหรือหาที่ปลอดภัยสำหรับหลบภัย

ส่วนในกรณีของนักท่องเที่ยว ไม่ว่าคุณจะมาจากชาติใดก็ตาม หากอยู่ในญี่ปุ่น และใช้สัญญาณเครือข่ายโทรศัพท์ในประเทศ หรือแม้แต่เป็นการโรมมิ่งก็ตาม ระบบก็จะแจ้งเตือนไปยังสมาร์ทโฟนของคุณเช่นกัน

การทำงานของ “J-Alert” หากพูดถึงในแง่เตือนภัยแผ่นดินไหวนั้น ระบบจะทำงานร่วมกับอุปกรณ์ตรวจจับแผ่นดินไหวที่ถูกฝังกระจายอยู่เป็นจำนวนมากทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งจากข้อมูลเมื่อปี 2553 พบว่ามีอุปกรณ์เหล่านี้กระจายอยู่มากถึง 4,235 เครื่อง

ซึ่งหากพื้นที่ใด อุปกรณ์มากกว่า 2 ตัวแจ้งเตือนเข้ามายังสำนักอุตุนิยมวิทยาเพื่อเริ่มการวิเคราะห์ความเสี่ยงในการเกิดแผ่นดินไหวทันที หากถึงเกณฑ์ที่อันตราย “J-Alert” ก็จะทำการส่งข้อความดังกล่าวให้ประชาชนรับทราบ ซึ่งการแจ้งเตือนมี 3 ระดับคือ

ระดับ 1 สัญญาณสีเหลือง เตือนให้ระวัง โดยเป็นการแนะนำให้ผู้ป่วย และผู้สูงอายุ ตลอดจนผู้ที่อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งเตรียมหนีภัย ระดับที่ 2 สัญญาณสีแดง เป็นการแนะนำให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงอพยพทันที และระดับที่ 3 สัญญาณเตือนสีม่วง เป็นการเตือนภัยการเกิดภัยพิบัติขั้นร้ายแรง ทุกคนต้องทำการหนีเอาตัวรอดทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรอคำสั่งอพยพจากทางการ

ระบบ “J-Alert” ใช้เทคโนโลยีการแจ้งเตือนหลายแบบเช่น “Cell Broadcast” เป็นเทคโนโลยีการส่งข้อความที่สามารถกระจายไปยังเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในพื้นที่ที่กำหนดได้, โดยไม่จำเป็นต้องส่งถึงเครือข่ายทั้งหมด ระบบ FM Radio เป็นการใช้สถานีวิทยุในการกระจายข้อมูลเตือนภัย ระบบTelevision Broadcast ใช้สถานีโทรทัศน์เพื่อกระจายข้อมูลเตือนภัย

ระบบ Digital Signage ใช้จอภาพดิจิตัลหรือบอร์ดแสดงข้อมูลเพื่อส่งข้อมูลเตือนภัย ระบบ Remote Method Invocation หรือ RMT ใช้ เพื่อส่งข้อมูลเตือนภัยไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถรับข้อมูลจากระบบ J-Alert และสุดท้ายระบบ Disaster Prevention Administrative Radio เป็นระบบสื่อสารไร้สายที่ใช้ในการส่งข้อมูลเตือนภัย

ทั้งนี้ ในช่วงแรกที่ระบบ “J-Alert” ถูกนำมาใช้ พบว่าท้องถิ่นต่าง ๆ ไม่ได้ให้ความสนใจมากพอ ด้วยเหตุผลหลักคือ “เปลืองงบประมาณ” แต่สิ่งที่ทำให้ระบบนี้ได้รับการพัฒนาจนสามารถแจ้งเตือนได้อย่างแม่นยำเกือบ 100%

เกิดขึ้นในปี 2011 โดยเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่โทโฮคุ อัตราการวางระบบ “J-Alert” ในท้องถิ่นก็เพิ่มขึ้นจากเดิมมีเพียง 45.7% กลายเป็น 98.4% ในปีนั้นทันที จนกระทั่งในปี 2014 ระบบ “J-Alert” ก็ถูกวางครอบคลุมทั่วประเทศญี่ปุ่นแบบ 100% แต่ปัญหาคือการส่งข้อความแจ้งเตือนใช้เวลามากถึง 20 วินาที ก่อนที่รัฐบาลในเวลานั้นจะรื้อระบบใหม่ทั้งหมดจนทำให้การแจ้งเตือนถึงประชาชนใช้เวลาเพียง 2 วินาทีเท่านั้น

ซึ่งระบบนี้ จากสถิติพบว่าช่วยปกป้องชีวิตประชาชน และนักท่องเที่ยวจากภัยทางธรรมชาติได้มากกว่าประเทศใด ๆ ในโลกในกรณีเผชิญภัยพิบัติประเภทเดียวกัน และเช่นแผ่นดินไหวในครั้งนี้ แม้การเสียชีวิตของผู้คนจะเลี่ยงไม่ได้ แต่ญี่ปุ่นก็สามารถทำให้ตัวเลขเหล่านี้ต่ำลงได้

ข่าวโมโน29 #mononews29 #ข่าวต่างประเทศ #JAlert #ญี่ปุ่น #แผ่นดินไหว #ระบบเตือนภัยพิบัติ #ภัยธรรมชาติ #ภัยคุกคามขีนาปวุธ


ข่าวที่เกี่ยวข้อง