จากกรณีที่นางศจีมาศ บัวรอด อัยการพิเศษฝ่ายคดีเยาวชนและครอบครัว 3 ในฐานะหัวหน้าพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบคดีและคณะทำงานอัยการได้ตรวจสำนวนคดีเด็กชาย 14 ปี กราดยิงในห้างดังแล้วปรากฏรายงานการประเมินผลวินิจฉัยและตรวจรักษาในสำนวนการสอบสวนของคณะแพทย์ซึ่งเป็นคณะกรรมการตรวจรักษาเด็กชาย พ.ยังมีอาการป่วยและ ยังเป็นคนไข้ในของสถาบันกัลยาราชนครินทร์ ซึ่งต่อมาพนักงานอัยการได้ส่งคืนสำนวน กลับไปให้พนักงานสอบสวนเพราะการสอบสวนในขณะที่เด็กชาย พ. ขณะยังป่วยอยู่จึงเป็นการสอบสวนที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 14 ถือเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบโฆษกอัยการ ให้ความรู้ กม. เคส คดี ‘เด็ก 14’ กราดยิงพารากอน กฎหมายระบุชัดต้องรอแพทย์รักษาจนเด็กจนหายเท่านั้น ถึงจะดำเนินคดีได้
เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. นายประยุทธ เพชรคุณ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยเพิ่มเติมว่า เมื่อพนักงานอัยการคืนสำนวนกลับไปยังพนักงานสอบสวน ทางพนักงานสอบสวนจะต้องงดการสอบสวน ไม่สามารถสอบสวนหรือรวบรวมพยานหลักฐานได้จนกว่าผู้ต้องหาที่เป็นเด็กหายป่วยและต่อสู้คดีได้ เพราะต้องทำตามกฎหมาย ป.วิ.อาญา มาตรา 14 ซึ่งระบุไว้ชัดเจน ว่าพนักงานสอบสวนจะต้องงดการสอบสวน ไว้ก่อน จนกว่าที่ ผู้ต้องหาจะหายจากอาการป่วย และต่อสู้คดีได้ โดยจะต้องรอ การประเมินการตรวจรักษาของแพทย์เท่านั้น
ดังนั้นในวันนี้(31.ธ.ค.)มื่อครบกำหนดผัดฟ้องครั้งที่4 ครั้งสุดท้าย ก็ต้องปล่อยตัวเด็กจากการควบคุมของสถานพินิจฯ ซึ่งคณะแพทย์และกลุ่มสหวิชาชีพจากสถาบันกัลยาราชนครินทร์สามารถประสานผู้ปกครองเด็กเพื่อรับตัวไปบำบัดรักษา หรือ อาจบังคับใช้กฎหมาย ตามพ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551 มาตรา 22 และ 36 ได้ โดยสามารถรับผู้ต้องหาไปรักษาตัวต่อได้ ทั้งนี้เพื่ออประโยชน์ในการรักษาเด็กและป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับเด็กและสังคม จากนั้นทางแพทย์จะมีการส่งผลประเมินให้กับพนักงานสอบสวน ทราบทุก 180 วัน ถ้ายังไม่หายก็สามารถขยายได้อีก 180 วันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหายสู่สภาวะปกติแต่ถ้าเด็กหายป่วยก่อนกำหนด 180 ก็สามารถรายงานให้พนักงานสอบสวนทราบได้ทันทีเพื่อจะหยิบยกคดีขึ้นทำการสอบสวนต่อไป โดยคดีนี้มีอายุความ 20 ปี ซึงจะขาดอายุความในวันที่3 ตุลาคม 2586