คัดลอก URL แล้ว
สรุปทุกข้อสงสัย ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท

สรุปทุกข้อสงสัย ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท

เป็นอีกหนึ่งโครงการของรัฐบาลเศรษฐา ที่ประชาชน ร่วมถึงหลาย ๆ ฝ่าย จับตามองเป็นพิเศษ สำหรับโครงการ Digital Wallet หรือ เงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ซึ่งล่าสุดทางรัฐบาลโดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แถลงข่าวถึงความชัดเจน รวมถึงรายละเอียดของโครงการดังกล่าว ไปเมื่อวันที่ 10 พ.ย.66 ที่ผ่านมา

วันนี้ทางทีมข่าว Mono29 ได้สรุปทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับ ‘เงินดิจิทัล 1 หมื่น’ ทั้งเรื่องแหล่งที่มาของเงิน , นำไปใช้จ่ายอะไรได้-ไม่ได้ รวมไปถึงเงื่อนไขต่าง ๆ โครงการการนี้

เงินดิจิทัล 1 หมื่นมาจากไหน?

สำหรับที่มาของงบประมาณโครงการดังกล่าว ใช้การออกพระราชบัญญัติ เป็นวงเงิน 500,000 ล้านบาท โดยในกฤษฎีกาตีความกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ จากนั้นเสนอต่อรัฐสภา เป็นไปตามมาตรา 53 พรบ.วินัยการเงินการคลังฯ พ.ศ. 2561

ซึ่งรัฐบาลตั้งเป้าจัดสรรงบประมาณเพื่อจ่ายคืนเงินกู้เป็นระยะเวลา 4 ปี และคาดว่า จะนำไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ 5% เฉลี่ยตลอด 4 ปี

โดยดิจิทัลวอลเล็ตจะเป็นเงินบาท ไม่ใช่การออกเหรียญ หรือการสร้างเงินเหมือนคริปโตเคอเรนซี ไม่สามารถนำมาแจก เทรด แลกเปลี่ยน เก็งกำไรผ่านกระดานเทรดได้

เงินดิจิทัล 1 หมื่น ได้เมื่อไหร่?

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แถลงไว้เมื่อวันที่ 10 พ.ย. ที่ผ่านมา ถึงนโยบายดิจิทัลวอลเลต 1 หมื่นบาท โดยแผนของการดำเนินการจะทำการเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาดำเนินการ ก่อนที่จะออกเป็น พรบ. เงินกู้ 5 แสนล้านบาท และนำเสนอเข้าสู่รัฐสภา พิจารณาลงมติ โดยนายกฯ มั่นใจว่า จะผ่านการลงมติเหตุชอบในที่สุด ซึ่งจะส่งผลให้สามารถเริ่มโครงการนี้ได้

ใครบ้าง มีสิทธิ์ได้รับเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท?

สำหรับผู้ที่มีสิทธิ์จะได้รับเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาทในโครงการดิจิทัลวอลเลตนั้น ได้แก่

โดยจะต้องมีการลงทะเบียนยืนยันตัวตน เพื่อรับสิทธิ์เงินดิจิทัล 10,000 บาทในแอปฯ เป๋าตัง ซึ่งคาดว่า จะเป็นในช่วงเดือนมีนาคม 2567 และจะยึดเอาตามที่อยู่ตามบัตรประชาชน และจะสามารถใช้จ่ายได้ในอำเภอตามที่อยู่ในบัตรประชาชนเท่านั้น

นอกจากนี้ ผู้ที่สามารถลงทะเบียนยังไม่จำกัดอาชีพ ซึ่งทำให้พระสงฆ์ หรือผู้ที่บวชอยู่ก็สามารถลงทะเบียนในโครงการนี้ได้อีกด้วย

เงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ซื้ออะไรได้บ้าง?

หากโครงการดิจิทัลวอลเลตนี้ ผ่านสภาเป็นที่เรียบร้อย และเริ่มเติมเงินเข้าสู่ระบบ “เป๋าตัง” แล้ว ประชาชนสามารถจำนำไปใช้จ่ายได้ โดย สามารถจะใช้ซื้อสินค้า อาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภคได้จากร้านค้า ที่ตั้งอยู่ในอำเภอเดียวกัน ตามที่อยู่ในบัตรประชาชนของผู้ที่ได้รับเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท

โดยข้อกำหนดนั้นจะต้องเป็นการจ่ายเงินแบบ Face to Face หรือ เป็นการจ่ายเงินต่อหน้าเท่านั้น

เงินดิจิทัลซื้ออะไรไม่ได้บ้าง?

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อกำหนดในการซื้อสินค้าต่าง ๆ ในร้านที่ลงทะเบียนไว้ถึงสินค้า และบริการต่าง ๆ ที่จะสามารถชำระด้วยเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาทที่จะไม่สามารถซื้อได้คือ

ข้อกำหนดอื่น ๆ ของเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท

ใช้ผ่านแอปฯ อะไร?

สำหรับการใช้จ่ายเงินดิจิทัลหนึ่งหมื่นบาท ในโครงการนี้ จะใช้ผ่านระบบของแอปฯ เป๋าตัง เป็นหลัก ในการสแกนจ่าย เหมือนเช่นเดิม ซึ่งจะมีการพัฒนาระบบให้มีการใช้บล็อกเซนเป็นระบบหลังบ้านของการทำงาน เพื่อป้องกันการโกงเงินอีกด้วย

ร้านค้าลงทะเบียนอย่างไร?

สำหรับร้านค้าที่ต้องการเข้าร่วมรับเงินในโครงการดิจิทัลวอลเลตนี้ จะเปิดโอกาสให้กับร้านค้าทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น ร้านขายของชำ รถเข็นขายอาหาร หรือร้านอาหารตามสั่ง ซึ่งร้านค้าที่ลงทะเบียนไว้กับแอปฯ เป๋าตัง สามารถเข้าร่วมโครงการได้เช่นเดิม โดยกดลงทะเบียนผ่านแอปฯ ที่จะมีการแจ้งอีกครั้งในภายหลังว่า เปิดรับลงทะเบียนเมื่อใด


ข่าวที่เกี่ยวข้อง