คัดลอก URL แล้ว
กอ.รมน. กับหลายข้อสงสัยของสังคม?

กอ.รมน. กับหลายข้อสงสัยของสังคม?

กอ.รมน. ชื่อย่อนี้หลายคนคงเคยได้ยินมานานแล้ว ซึ่งเชื่อว่าต้องมีคำถามเกิดขึ้นในหัวแน่นอนว่า เป็นหน่วยงานอะไร มีหน้าที่อะไรบ้าง ประเด็นเรื่องหน่วยงานดังกล่าว ถูกเป็นที่พูดถึงหลังทางพรรคก้าวไกล ได้เตรียมเสนอที่ประชุมสภาในการยุบหน่วยงานดังกล่าวลง

ไม่เพียงแต่เรื่องอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน กอ.รมน. เรื่องงบประมาณของหน่วยงานก็เป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงเช่นกัน โดยทางสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เปิดเผยข้อมูลงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2556-2566 ซึ่งมียอดรวมราว ๆ 100,274,700,800 บาท หรือเฉลี่ยเกือบปีละ 1 หมื่นล้านบาท

นั้นจึงเกิดประเด็นที่น่าสนใจในสังคมว่า กอ.รมน. มีไว้ทำไม ?

กอ.รมน. คืออะไร

เดิมคือ กองอำนวยการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ (กอ.ปค.) มีการก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2508 ต่อมาวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ซึ่งในแต่ละยุคของรัฐบาลที่ผ่านมาได้มีการปรับลด-เพิ่ม อำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. มาโดยตลอด

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พุทธศักราช 2551 เป็นหน่วยงานของรัฐในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นองค์กรหลักในการบูรณาการ อำนวยการ และกำกับดูแลการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือความมั่นคงของรัฐ

พร้อมทั้งดำเนินการเสริมสร้างให้ประชาชนตระหนักในหน้าที่ที่จะเทิดทูน พิทักษ์และรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ และสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้วยการน้อมนำแนวทางพระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”เป็นหลักในการดำเนินงาน

ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ผอ.รมน.) โดยตำแหน่ง หน่วยงานมีเจ้าพนักงาน 5,000–6,000 คนทั่วประเทศ และมีอาสาสมัครความมั่นคงภายใน 500,000–600,000 คน และมีบุคคลอยู่ในเครือข่ายข้อมูลหลักหมื่นคน

หลังรัฐประหารปี 2557 มีการขยายอำนาจของ กอ.รมน. ให้สามารถตีความภัยคุกคามได้เอง และเพิ่มงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

อำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน.

ภายใต้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 มาตรา 7 ได้กำหนดหน้าที่และอำนาจของ กอ.รมน. ไว้ดังนี้

งบประมาณรายจ่ายที่ผ่านมา (2556-2566)

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เปิดเผยถึงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2556-2566 ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) โดยรวมทั้งสิ้น 100,274,700,800 บาท จำแนกในแต่ละปีดังนี้

ทำไมพรรคก้าวไกล ผลักดัน ‘ยุบ กอ.รมน.’

ทางพรรคก้าวไกลได้เตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ. “ยกเลิก พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551” หรือร่างกฎหมาย ยุบ กอ.รมน. เป็นร่างที่รอมฎอนและ สส. พรรคก้าวไกลเสนอเข้าสู่สภาฯ เมื่อกรกฎาคมที่ผ่านมา ปัจจุบันอยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 77 และมีผู้ร่วมแสดงความเห็นแล้วกว่า 40,000 คน

องค์กรพิเศษอย่าง กอ.รมน. เป็นมรดกสงครามเย็นที่ถูกฟื้นคืนชีพโดยคณะรัฐประหาร 2549 ลักษณะซ้ำซ้อนกับหน่วยงานราชการอื่นๆ และเป็นหน่วยงานที่ใช้กรอบคิดเรื่องภัยคุกคามด้านความมั่นคงเข้ามาควบคุมแทรกแซงชีวิตของพลเรือน ถึงเวลาแล้วหรือยัง? ที่เราจะทำให้ “พ.ร.บ. ยกเลิก กอ.รมน.” นี้ให้เป็นจริง

ทั้งนี้ ร่างฉบับนี้ถือเป็นร่าง พ.ร.บ.เกี่ยวด้วยการเงิน ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดว่าร่างจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนฯ ได้ ต่อเมื่อได้รับคำรับรองจากนายกรัฐมนตรี จึงขอชวนประชาชนจับตาว่านายกฯ จะมีท่าทีต่อร่างนี้อย่างไร และนายกฯ จะเปิดโอกาสให้สภาผู้แทนฯ ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ได้พิจารณาถกเถียงเกี่ยวกับร่างกฎหมายนี้อย่างเต็มที่หรือไม่? และจะไม่ใช้อำนาจปัดตกเรื่องนี้ตั้งแต่ต้น

ท่าทีของรัฐบาลกับกระแส ‘ยุบ กอ.รมน.’

โดยหลังการมอบนโยบายแนวทางการปฏิบัติงานของ กอ.รมน. ซึ่งนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงภายหลังการประชุม ว่า จากการที่พูดไปในวันนี้ไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับการยุบกอ.รมน. เลย ตามความเข้าใจของตนที่ได้พูดคุยกับผู้บัญชาการทหารบก ว่าที่มาที่ไปของเรื่องนี้มันคืออะไร

เรียกว่าในสมัยก่อน หน่วยงานนี้ เป็นหน่วยงานที่ปราบปรามคอมมิวนิสต์ ซึ่งเดี๋ยวนี้คอมมิวนิสต์ไม่มีบริบทการทำงานของกอ.รมน.ก็เริ่มเปลี่ยนไป วันนี้ เราไม่ได้มีการพูดเรื่องคอมมิวนิสต์เลย แต่ เป็นเรื่องของการทำช่องว่าง ระหว่างความเข้าใจผิดระหว่างกองทัพกับประชาชนลดน้อยลงอันนี้ตนถือว่าเป็นเรื่องขั้นต้น

ข้อมูล :


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เพื่อการนำเสนอเนื้อหาที่ดี รวมถึงการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากคุณใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆนั้น แสดงว่าคุณยอมรับนโยบายคุกกี้และนโยบายส่วนบุคคลของเรา