นายกฯ ชี้ แรงงานไทยเสียชีวิตจากเหตุความไม่สงบอิสราเอล 21 คน เบื้องต้นช่วยแรงงานไทยจากเรทโซนได้แล้ว 99% พร้อมเร่งเจรจาช่วยเหลือตัวประกันออกมาให้เร็วที่สุด เผยใครเดินทางกลับเองมาเบิกได้
วันที่ 13 ตุลาคม 2566 เวลา 08.45 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นางสาวออร์นา ซากิฟ (H.E.Ms. Orna Sagiv) เอกอัครราชทูตรัฐอิสราเอลประจำประเทศไทยเข้าพบนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อหารือแนวทางแก้ไขสถานการณ์ไม่สงบอิสราเอล
ภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลไทยได้เชิญเอกอัครราชทูตรัฐอิสราเอลประจำประเทศไทยมาอัปเดตสถานการณ์ และขอร้องให้รัฐบาลอิสราเอลช่วยเหลือแรงงานไทย โดยเรื่องที่นายกรัฐมนตรีขอร้อง ประกอบด้วย ขั้นตอนการนำร่างแรงงานที่เสียชีวิตให้กลับมาประเทศไทยให้เร็วที่สุด ซึ่งเอกอัครราชทูตรัฐอิสราเอลประจำประเทศไทยรับปากว่าจะช่วยอย่างเต็มที่ แต่จะต้องผ่านกระบวนการชันสูตรก่อน เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้นับพันศพรวมถึงจะต้องเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิตจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด
ส่วนกรณีมีแรงงานที่แสดงเจตจำนงค์กลับประเทศไทยจำนวนหลายพันคน ซึ่งจำนวนแรงงานที่จะเดินทางกลับ นายกรัฐมนตรี ยอมรับว่าข้อมูลยังสับสนกันอยู่ เบื้องต้นสามารถรับแรงงานไทยกลับประเทศได้สูงสุด 200 คนต่อวัน ซึ่งเอกอัครราชทูตรัฐอิสราเอลประจำประเทศไทยยืนยันว่า “รัฐบาลไทยส่งเครื่องบินมาเท่าไหร่ก็พร้อมที่จะลำเลียงแรงงานไทยกลับทันที ย้ำว่าเรื่องใหญ่ที่สุด ณ เวลานี้ คือ เครื่องบินที่จะต้องรับแรงงานไทยกลับมาให้ได้ ซึ่งคณะทำงานฯ จะเร่งประชุมอีกครั้งเย็นนี้ (13 ตุลาคม 66) โดยทางรัฐบาลอิสราเอลจะให้ความสำคัญสูงสุดที่จะลำเลียงแรงงานไทยจากจุดต่างๆ มายังจุดที่ปลอดภัย พร้อมจัดทีมแพทย์ไปพูดคุยเพื่อเยียวยาสภาพจิตใจ
ส่วนกรณีคลิปหลุดที่มีนายจ้างอิสราเอลบังคับแรงงานไทยให้ทำงานต่อแม้ว่าประเทศอยู่ระหว่างภาวะสงคราม นายกรัฐมนตรี ระบุว่า เอกอัครราชทูตรัฐอิสราเอลประจำประเทศไทย จะรับเร่งประสานรัฐบาลอิสราเอลเพื่อสอบหาความจริงให้เร็วที่สุด
“ท่านทูตเองก็ทราบอยู่แล้ว และก็เร่งที่จะฟื้นหาความจริงให้ได้ แต่ท่านก็เห็นด้วยกับผมอย่าง 100% ว่ายังไงก็บังคับไม่ได้ ไม่ควรจะต้องทำแบบนี้ เป็นช่วงเวลาที่ต้องลืมผลประโยชน์ไปก่อน ต้องเอาความปลอดภัยประชาชนไทยเป็นเรื่องสำคัญที่สุด“
ส่วนถานการณ์การสู้รบในอิสราเอล เอกอัครราชทูตรัฐอิสราเอลประจำประเทศไทย ยอมรับว่า ภาวะสงครามยังไม่ลดลง มีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งนายกรัฐมนตรี ได้กำชับและกดดันไปยังทูตอิสราเอลว่า “แรงงานไทยไม่มีความเกี่ยวข้อง และเป็นส่วนหนึ่งของข้อพิพาท ซึ่งประเทศไทยมีแรงงานที่เสียชีวิตมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากประเทศสหรัฐอเมริกา“
ส่วนเรื่องตัวประกันแรงงานไทย นายกรัฐมนตรี ได้ฝากถึงรัฐบาลอิสราเอลให้เร่งช่วยเหลือออกมาให้ได้เร็วที่สุด ในส่วนของรัฐบาลไทยจะใช้ทุกๆ เส้นทางในการช่วยเหลือ แต่จะไม่เปิดเผยแผนการช่วยเหลือ เนื่องจากเป็นเรื่องความมั่นคง “ขอให้มั่นใจว่ารัฐบาลจะทำอย่างเต็มที่”
เมื่อถามว่า ได้มีการขออนุญาตบินผ่านน่าฟ้ากว่า 60 ประเทศแล้วหรือไม่ นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ทางกระทรวงการต้างประเทศได้ประสานขออนุญาตทั้งหมดแล้ว เนื่องจากเป็นเที่ยวบินพิเศษต้องผ่านน่านฟ้าประเทศใหม่ๆ ซึ่งทุกๆ ไฟร์ทบินทั้งเอกชน และกองทัพจะต้องขออนุญาตทั้งหมด เนื่องจากมีแรงงานไทยมากถึง 5,000 คนแจ้งความประสงค์จะเดินทางกลับ เบื้องต้นมีเที่ยวบินจาก นกแอร์ จำนวน 2 ลำ แอร์เอเชีย จำนวน 2 ลำ และการบินไทยที่จะบินไปก่อน
ส่วนแรงงานไทยที่ประสงค์ขอออกค่าใช้จ่ายเดินทางกลับประเทศ สามารถสำรองค่าใช้จ่ายไปก่อนแล้วมาเบิกคืนกับรัฐบาลไทยได้ทุกกรณี เมื่อถามถึงข้อกังวลเกี่ยวกับเอกสารการเดินทางกลับของแรงงานไทยจะเป็นอุปสรรค์ในการเดินทางกลับหรือไม่ นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ได้สั่งการทูตไทย ในอิสราเอลว่า “เรื่องเอกสารเป็นเรื่องรอง” ขอให้อำนวยความสะดวกให้แรงงานไทยก่อน
เมื่อถามถึงความคืบหน้าของประเทศที่ 3 ในการอพยกแรงงานไทยไปพักชั่วคราวมีประเทศไหนบ้าง นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ทางกระทรวงการต่างประเทศกำลังเจรจา คาดว่าจะเป็นประเทศอียิปต์ ดูไบ และซาอุดิอารเบีย เป็นต้น
ทั้งนี้นายรัฐมนตรี ได้อัปเดตสถานการณ์การณ์ว่า ในพื้นที่อันตราย 0-4 กิโลเมตรในฉนวนกาซา 99% ของชาวต่างชาติได้ถูกอพยพออกจากพื้นที่ Red Zone เรียบร้อยแล้ว