ช่วงเหลือหลายคนคงสงสัย เกี๋ยวกับนโยบายแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ที่นอกจากจะอยากทราบถึงรายละเอียดโครงการแล้ว อีกหนึ่งประเด็นที่ถูกพูดถึงในนโยบายดังกล่าว โดยทางพรรคเพื่อไทยพยายามนำเสนอคือ การนำระบบ ‘Blockchain’ เข้ามาใช้ในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว
ซึ่งทางพรรคเพื่อไทยได้ให้เหตุผลถึงการนำระบบนี้เข้ามาใช้ เพราะเป็นระบบที่ปลอดภัยและโปร่งใส เนื่องจากระบบ Blockchain นั้น สามารถตรวจสอบรายชื่อ รายละเอียด และข้อมูลต่าง ๆ ได้ทั้งฝั่งผู้ซื้อ – ผู้ขาย หรือ กล่าวคือเป็นระบบที่สามารถตรวจสอบการนำเงินดิจิทัลจากต้นทางไปสู่ปลายทางได้
‘Blockchain’ คืออะไร?
เทคโนโลยี Blockchain เป็นเทคโนโลยีการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger Technology: DLT) กระจายข้อมูลที่จัดเก็บไปยังแต่ละ Node ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ที่เชื่อมโยงกันในเครือข่าย Blockchain
โดยกลุ่มข้อมูล (Block) ที่จัดเก็บจะเชื่อมต่อกันเป็นห่วงโซ่ (Chain) ด้วยกระบวนการเข้ารหัส ซึ่งข้อมูลแต่ละ Block จะมีค่าทางคณิตศาสตร์(Hash) ของ Block ก่อนหน้าเพื่อใช้สอบทานความถูกต้อง จึงทำให้การจัดเก็บข้อมูลสามารถมีข้อมูลเพียงชุดเดียวที่กระจายจัดเก็บอยู่ใน
Node ต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางในการจัดเก็บหรือควบคุม ซึ่งจะเป็นการลดความเสี่ยงจากการถูกปลอมแปลงข้อมูล
นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถทำธุรกรรมแบบอัตโนมัติผ่านกลไก Smart Contract โดยเมื่อมีการส่งคำสั่งทำธุรกรรม หรือคำสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลธุรกรรมหรือเงื่อนไขของการทำธุรกรรม
คำสั่งนั้นจะต้องได้รับการตรวจสอบและลงความเห็นจากสมาชิกในเครือข่าย Blockchain เรียกว่า การทำ Consensus ส่งผลให้การบริหารจัดการข้อมูลในเครือข่าย Blockchain มีความปลอดภัย น่าเชื่อถือและยากต่อการแก้ไขหากไม่ได้รับอนุญาต
ซึ่งระบบดังกล่าวมีการพัฒนามาตลอดระยะเวลากว่า 3 ทศวรรษ และถูกนำมาใช้อย่างจริงจังและแพร่หลาย หลังการเข้ามาของสกุลเงินดิจิทัลแรกของโลกที่ถูกเรียกว่า คริปโตเคอเรนซี่ (cryptocurrency) อย่าง Bitcoin ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะนักลงทุนในแวดวงคริปโตฯ
ทั้งนี้หลังการเข้ามาของเทคโนโลยี ‘Blockchain’ ในประเทศไทย ได้มาการศึกษาระบบดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันมีหลายบริษัทเอกชนได้นำระบบนี้มาใช้กันอย่างมากมาย ทั้งด้านการทำธุรกรรม ทางการแพทย์ การขนส่ง และ อื่น ๆ
ข้อดีของระบบ Blockchain
อีกทั้งการทำธุรกรรมผ่านระบบดังกล่าว สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว และประหยัดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถทำธุรกรรมได้เพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น
การทำธุรกรรมผ่านระบบ Blockchain นั้น เป็นระบบที่แม่นยำซึ่งทุกกระบวนการสามารถตรวจสอบได้ทั้งหมดโดยไม่ผ่านตัวกลาง โดยทุกคนสามารถทำการตรวจสอบได้ทั้งหมด เนื่องจากทุกธุรกรรมจะมีการคัดลอกไปยังคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบ แต่ไม่สามารถแก้ไข เปลี่ยงแปลง หรือ ลบข้อมูลได้บน Blockchain
รวมไปถึงความปลอดภัยในการเข้าใช้ ซึ่งการทำธุรกรรมในแต่ละครั้งจะมีขั้นตอนการเข้ารหัส การยืนยันตัวตน
ข้อจำกัดของระบบ Blockchain
ข้อดีและข้อเสียของระบบ Blockchain มักอยู่ในตัวของมันเองทั้งสิ้น ซึ่งมีทั้งข้อจำกัดที่ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ กล่าวคือ ในการทำธุรกรรมในแต่ละครั้ง เมื่อถูกบันทึกผ่านระบบแล้ว จะไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้เลย ทำให้การทำธุรกรรมในแต่ละครั้งต้องตรวจสอบความถูกต้องให้ดีเสียก่อน
อีกทั้งการจัดเก็บข้อมูลที่มีจำกัด และยากในการขยายระบบ ซึ่งปัจจุบันมีความพยายามที่จะพัฒนาแก้ไขเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ระบบสามารถรองรับจำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้น
ความเสี่ยงเฉพาะจากการใช้เทคโนโลยี Blockchain
1.การกำกับดูแลเครือข่าย Blockchain ไม่ครอบคลุมเพียงพอ
- เนื่องจากเครือข่าย Blockchain ประกอบด้วยสมาชิกที่มีรูปแบบธุรกิจที่หลากหลายประเภท จึงท าให้สมาชิกในเครือข่าย Blockchain มีมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของระบบ Blockchain ที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจมีช่องโหว่จากการเชื่อมต่อที่ไม่ปลอดภัยจาก Attack Surface ที่มากขึ้นกว่าระบบแบบรวมศูนย์จึงมีโอกาสที่ผู้ไม่ประสงค์ดีอาจเข้าถึงข้อมูลที่จัดเก็บแบบกระจายศูนย์ในระบบ Blockchain ผ่าน Node Endpoint และจุดเชื่อมต่อจำนวนมาก
2.Smart Contract ทำงานไม่ถูกต้องและไม่ปลอดภัย
- เนื่องจาก Smart Contract เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งที่สามารถดำเนินการตามข้อตกลงโดยอัตโนมัติจึงมีโอกาสเกิดข้อบกพร่องจากการพัฒนาโปรแกรมหรือจากการตรวจสอบเงื่อนไขการทำงานไม่ครบถ้วน นอกจากนี้ อาจเกิดช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ความถูกต้องเชื่อถือได้ และความพร้อมใช้ของ Smart Contract ซึ่งส่งผลกระทบต่อกระบวนการประมวลผลธุรกรรมแบบอัตโนมัติและการดำเนินธุรกิจได้
3.การโจมตีกลไก Consensus
- เนื่องจากกลไก Consensus ท าหน้าที่ให้ทุก Node มีข้อมูลที่ถูกต้องเชื่อถือได้หากมีช่องโหว่ในชุดคำสั่ง หรือ Algorithm ของกลไก Consensus ที่ไม่ปลอดภัย อาจทำให้ข้อมูลถูกเพิ่มหรือแก้ไขได้โดยไม่ต้องผ่านความเห็นชอบจากสมาชิกในเครือข่าย Blockchain และส่งผลให้ข้อมูลในระบบ Blockchain ได้รับความเสียหายและขาดความน่าเชื่อถือได้ นอกจากนี้ หาก Node ที่รับหน้าที่ทำ Consensus มีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไม่ครอบคลุมเพียงพอ อาจถูกโจมตีจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้
4.การบริหารจัดการกุญแจเข้ารหัสที่ไม่รัดกุมเพียงพอ
- อาจทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถเข้าถึงกุญแจเข้ารหัส และใช้เข้าถึงจุดเชื่อมต่อที่สำคัญโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น ผู้ไม่ประสงค์ดีอาจเข้าควบคุม Node หรือเข้าถึง API พร้อมทั้งสร้างความเสียหายต่อระบบและข้อมูลได้
ข้อมูล – ธนาคารแห่งประเทศไทย