คัดลอก URL แล้ว
ทนายชี้ “ครอบครองปรปักษ์” เพื่อลงโทษเจ้าของปล่อยทิ้งที่ดินให้รกร้าง

ทนายชี้ “ครอบครองปรปักษ์” เพื่อลงโทษเจ้าของปล่อยทิ้งที่ดินให้รกร้าง

นายนิติธร  แก้วโต  หรือทนายเจมส์ เปิดเป้าหมายที่แท้จริงของกฎหมายครอบครองปรปักษ์ ว่ามีเพื่อลงโทษเจ้าของที่ดินที่ปล่อยให้รกร้าง ไม่ดูแล จนผู้อื่นสามารถเข้ามาครอบครองโดยสงบ เปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของ และครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีขึ้นไป แต่จะครอบครองปรปักษ์ได้ ต้องให้ศาลเป็นผู้สั่ง ส่วนการให้เช่าหรือเจ้าของมีหนังสืออนุญาตให้ใช้ ไม่ถือเป็นการครอบครองปรปักษ์

ทนายชี้กรณี “บ้านอากู๋” หากครบ 10 ปี ได้ครอบครองปรปักษ์

การครอบครองปกปักษ์ที่เป็นข่าวอยู่ขณะนี้ กรณีบ้านของอากู๋นั้น ทนายเจมส์มองว่าเข้าเงื่อนไขครอบครองปรปักษ์บางประเด็น เพราะฝั่งผู้ร้องขอครอบครองปรปักษ์มีการเข้าไปพัฒนาบ้านหลังดังกล่าวจริง แต่ปัญหาคือเรื่องระยะเวลาในการครอบครอง ที่ฝั่งเจ้าของบ้านมีข้อมูลยืนยันว่าเข้าไปพัฒนาไม่ถึง 10 ปี ส่วนเงื่อนไขการครอบครองอย่างเปิดเผยนั้น เป็นการทำขณะเข้าไปรอบ 2 ที่มีการติดป้ายแสดงความเป็นเจ้าของหน้าบ้าน ซึ่งระยะเวลาก็ยังไม่ครบ 10 ปีตามกฎหมาย

ย้อนคดี ‘ครอบครองปรปักษ์’ บ้านอากู๋

กลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจในสังคมอย่างมาก กรณีเพื่อนบ้านบุกรุกเข้าไปรีโนเวทบ้านที่ปล่อยร้าง โดยต่อเติมบ้านทำเป็นสำนักงาน ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์หลังมีคู่รักคู่หนึ่งที่กำลังจะแต่งงานกันโดยทาง ญาติของฝ่ายชายที่มีศักดิ์เป็นลุงจะยกบ้านหลังดังกล่าวให้เพื่อเป็นของขวัญแต่งงานให้กับหลานชาย

ซึ่งบ้านหลังดังกล่าวนั้นเป็นชื่อของลุงของฝ่ายชายซึ่งซื้อบ้านหลังนี้ไว้ตั้งแต่ปี 2534 โดยเป็นหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งย่านถนนนวมินทร์ กรุงเทพฯ แต่เมื่อเดินทางไปดูบ้านหลังดังกล่าวกลับพบว่ามีคนเข้ามาอาศัยอยู่และต่อเติมบ้านไปจากเดิม

ทั้งนี้ทางผู้บุกรุกอ้างว่าหลังจากที่ได้เข้ามาซื้อบ้านเมื่อปี 2545 ซึ่งอยู่หลังมุมตรงข้ามกับทางบ้านที่บุกรุกเข้าไปต่อเติม โดยในช่วงนั้นบ้านหลังดังกล่าวไม่มีผู้อยู่อาศัยและสภาพบ้านมีการปล่อยรกร้าง ซึ่งหลังจากนั้นพยายามติดต่อหาเจ้าของบ้านเพื่อที่จะซื้อบ้านหลังดังกล่าวต่อเพื่อทำเป็นสำนักงานแต่ก็ไม่สามารถติดต่อได้

ประกอบกับในช่วงนั้นบ้านหลังดังกล่าวมีสภาพที่ทรุดโทรมโดยรื้อต้นไม้และต่อเติมหลังคาหน้าบ้านเพิ่ม พร้อมทำพื้นที่เชื่อมต่อระหว่าง 2 บ้าน ในส่วนของด้านข้าง

อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ทางเจ้าของบ้านต้องการขอบ้านคืนก็ยินดีที่จะย้ายของออก โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าต่อเติมดูแลบ้านแต่อย่างใด และยอมรับผิดในสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมกันนี้หากทางเจ้าของบ้านอยากจะให้เช่าหรือขายตนเองก็ยินดี

ซึ่งในส่วนของคดีความ ทางทนายเดชา ได้ระบุข้อกล่าวหาเอาผิดเพื่อนบ้านที่บุกรุกต่อเติมไว้ 3 ข้อหา คือ 1.ข้อหาบุกรุก 2 ทำให้เสียทรัพย์ และ 3 ลักทรัพย์โดยร่วมกระทำความผิดตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

ขณะที่เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 67 มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ พิสูจน์หลักฐาน และเจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญู เข้าร่วมตรวจสอบในจุดเกิดเหตุบ้านคู่กรณีครอบครองปรปักษ์ พบร่างนางสาวภานุมาส อายุ 52 ปี ผู้เสียชีวิตนอนเสียชีวิตอยู่บนพื้นห้องนอนชั้น 2 จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า สาเหตุของการเสียชีวิตน่าจะมาจากการผูกคอโดยใช้ผ้าขนหนู และไม่พบร่องรอยการต่อสู้ ซึ่งคาดว่า จะเสียชีวิตมาไม่เกิน 3-4 ชั่วโมง และไม่พบหลักฐานอะไรที่เป็นลักษณะของการสั่งเสีย ขณะที่ญาติผู้เสียชีวิตคาดว่าเกิดจากความเครียดของคดีดังกล่าว

จากประเด็นดังกล่าวทำให้มีการพูดถึงข้อกฎหมาย ‘ครอบครองปรปักษ์’ คืออะไร สามารถทำได้ในกรณีใด และไม่สามารถทำได้ในกรณีใด วันนี้ทีมข่าว Mono 29 รวบรวมข้อมูล ข้อกฎหมาย มาไว้ดังนี้

การครอบครองปรปักษ์ คืออะไร ?

การครอบครองปรปักษ์ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 โดยบัญญัติว่า

“ผู้ใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปีไซร์ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์”

เปิด 6 หลักเกณฑ์ครอบครองปรปักษ์

ซึ่งที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีเจ้าของที่ดินจำนวนไม่น้อยที่มีโฉนดที่ดินอยู่ต่างจังหวัด แต่ไม่ได้เข้าไปดูแลที่ดินเป็นเวลานาน กระทั่งอาจมีบุคคลอื่นเข้ามาครอบครองหรือทำกินในที่ดินผืนนั้น

ซึ่งการที่จะครอบครองปรปักษ์โดยถูกต้องนั้น ต้องกระทำตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ได้บัญญัติไว้ให้ครบถ้วน

ข้อมูลจากสำนักงานกิจการยุติธรรม ระบุว่า ในทางปฏิบัติ แม้จะเข้าองค์ประกอบตามมาตรา 1382 กำหนดแล้ว บุคคลที่อ้างการครอบครองปรปักษ์นั้น ต้องดำเนินการ ”ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์” พร้อมแสดงหลักฐาน

ก่อนศาลจะพิจารณา ศาลจะมีหมายส่งไปยังเจ้าของที่ดิน ที่มีชื่อในกรรมสิทธิ์ดังกล่าว เพื่อให้มาคัดค้าน และศาลจะมีคำสั่งให้ผู้กล่าวอ้างการครอบครองปรปักษ์ดำเนินการเกี่ยวกับการรังวัดที่ดินพิพาท เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

กรณีไม่มีผู้คัดค้าน ศาลอาจจะมีคำสั่งให้บุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้นั้นต้องนำคำสั่งศาลไปติดต่อกรมที่ดินเพื่อขอเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นได้

ลักษณะของ ‘การครอบครองปรปักษ์’

โดยหากผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินมีคุณลักษณะตามเกณฑ์ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 จะต้องไปร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาแสดงสิทธิในที่ดินว่าผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินนั้นเป็นเจ้าของที่ดินตามกฎหมาย

หลังจากนั้นต้องไปดำเนินการติดต่อยังสำนักงานที่ดินเพื่อจดทะเบียนที่ดินเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของที่ดินเดิมในโฉนดที่ดินนั้นมาเป็นของผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินเสียก่อน

อย่างไรก็ตามในกรณีที่ดินที่ไม่มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ อาทิเช่น น.ส. 3 หรือไม่มีหลักฐานเลย จะมีสิทธิเพียงการครอบครองเท่านั้น ไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ ตามมาตรา 1382 ได้

คำพิพากษาฎีกาในคดี ‘ครอบครองปรปักษ์’

คำพิพากษาฎีกาที่ 13969/2558

คำพิพากษาฎีกาที่ 14291/2558

คำพิพากษาฎีกาที่ 679-682/2559

5 วิธีป้องกันไม่ให้ที่ดินของเราถูกครอบครองปรปักษ์

อ้างอิง: สำนักงานกิจการยุติธรรม, เว็บไซต์ วุฒิสภา


ข่าวที่เกี่ยวข้อง