มูลนิธิสุขภาพไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย จัดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และระดมความคิดเห็นในการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย และนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ
นพ.อภิชาติ รอดสม รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สปสช. กล่าวว่าการสร้างสุขภาพตั้งแต่ระดับชุมชน ที่เป็นภูมิปัญญาในท้องถิ่น โดยใช้ความรู้ที่สืบทอดกันมาในชุมชน อาทิ ตั้งแต่เรื่องอาหาร องค์ความรู้ในด้านการกินผักเป็นยา การปลูกผักท้องถิ่น ภูมิปัญญาดูแลสุขภาพในยามปกติ และยามเจ็บป่วยได้อย่างเหมาะสม ควรค่าแก่การรักษาองค์ความรู้นี้ไว้ สปสช.ได้ รวบรวมองค์ความรู้ และภูมิปัญญาไทยในชุมชนทั้งในเรื่องสมุนไพรและหมอพื้นบ้าน ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบำบัดรักษาโรค และแพทย์ทางเลือกสำหรับประชาชน สร้างเครือข่ายกลุ่มดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรท้องถิ่น ตลอดจนอบรมให้มีทักษะได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำเอาไปใช้ให้เกิดการแพทย์พื้นบ้านเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยตามอัตลักษณ์ของท้องถิ่น แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม วัฒนธรรมท้องถิ่น นอกจากการเข้ารักษาพยาบาลในหน่วยสุขภาพเพียงอย่างเดียว ลดความแออัดในการเดินทางไปรักษา ได้สร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพในระบบทั้งในระดับปฐม
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ สสส. กล่าวว่า เป้าหมายการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน คือสร้างเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านต่าง ๆ 1. พัฒนากลไกความร่วมมือขับเคลื่อนระบบสุขภาพชุมชน สร้างเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น 2. พัฒนา และจัดการความรู้การใช้ประโยชน์ภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างเสริมสุขภาพของประชาชนร่วมกับระบบบริการสุขภาพ 3. พัฒนารูปแบบสร้างเสริมสุขภาพของหน่วยบริการสุขภาพ ที่มีส่วนร่วมระหว่างกลุ่มแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทย แพทย์พื้นบ้าน และชุมชน 4. พัฒนา และขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบาย การใช้ประโยชน์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน เกิดความร่วมมือตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ สปสช. ในระดับพื้นที่ และประเทศ และกรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก เป็นเครือข่ายพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิท้องถิ่นอย่างครอบคลุม
“ระบบสุขภาพปฐมภูมิเป็นระบบที่ประชาชนเข้าถึงได้เป็นอันดับแรก และการแพทย์แผนไทยท้องถิ่นเป็นจุดสมดุลในการรักษาควบคู่กับแพทย์แผนปัจจุบัน โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากการแพ้ใจตัวเอง อาทิ พฤติกรรมการกินอาหาร ไม่มีกิจกรรมทางกาย ดื่มสุรา การสูบบุหรี่ ซึ่งในหลายหน่วยบริการสุขภาพ เริ่มปรับพฤติกรรมของผู้ป่วยเพื่อรักษาโรค ส่งเสริมการสร้างสุขภาวะ อาทิอาหารการกิน อย่างในผักพื้นบ้านมีสรรพคุณในการป้องกันโรคต่าง ๆ ลดการกินน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน ลดการใช้ยาโดยใช้สมุนไพรพื้นบ้านควบคู่ เป็นการสร้างเสริมสุขภาพในท้องถิ่นได้ตั้งแต่ระดับปฐมภูมิอย่างมีประสิทธิภาพ”
วีระพงษ์ เกรียงสินยศ ผู้อำนวยการมูลนิธิสุขภาพไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมา สสส. ได้หนุนเสริมกับขับเคลื่อนงาน และสานพลังกับภาคีเครือข่ายทำงานสร้างสุขภาพระดับท้องถิ่น เกิดผลลัพธ์ที่สำคัญคือ 1. ชุมชนมีคณะทำงาน กลไก ที่มีศักยภาพ ติดตามการดำเนินงานระดับพื้นที่ 2. คณะทำงานสามารถขับเคลื่อน และติดตามการดำเนินงาน ตัวชี้วัด ผลลัพธ์ระดับโครงการได้ 3. ชุดความรู้ด้านการใช้ประโยชน์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ ปรับบริการสุขภาพของหน่วยบริการสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ 4. จัดบริการสร้างเสริมสุขภาพแบบผสมผสานโดยการแพทย์ทางร่วม ในโรคไม่ติดต่อ อาทิ จัดโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้สอดคล้องกับการเกิดโรค 5. เกิดการเสนอข้อมูลนโยบายสนับสนุนการใช้ประโยชน์ภูมิปัญญาฯ การจัดบริการการแพทย์ทางร่วมในหน่วยบริการปฐมภูมิ ในระดับพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ