ที่โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการ และคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจัดโครงการศาลรัฐธรรมนูญพบสื่อมวลชน ประจำปี พ.ศ. 2566 โดย นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวเปิดโครงการ ว่า โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ และสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ตลอดจนความคิดเห็นต่างๆเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสื่อมวลชนกับศาลรัฐธรรมนูญและสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ โดย ศาลรัฐธรรมนูญและ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้ความสำคัญกับการสื่อสารองค์กรโดยมุ่งหมายให้สื่อสารมวลชนในฐานะที่เป็นสื่อกลางเป็นกลไกสำคัญในการนำเสนอความรู้ข้อมูลข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่างๆเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญและสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจ บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง ชัดเจนครบถ้วนและรอบด้านร่วมกัน ภายใต้การยอมรับในเสรีภาพของสื่อมวลชน และในที่สุดจะนำไปสู่เป้าหมายในการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารต่อไป
ด้านนายจรัญ ภักดีธนากุล อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวปาฐกฤาพิเศษ เรื่อง “บทบาทของสื่อมวลชนในการส่งเสริมประชาธิปไตย และหลักนิติธรรม” ว่า สื่อมวลชนมีความสำคัญกับศาลรัฐธรรมนูญอย่างยิ่งเพราะศาลรัฐธรรมนูญไม่มีโอกาสที่จะพูดแก้ตัวกับสังคมในแทบทุกเรื่อง ศาลไม่มีช่องทาง ไม่มีสื่อของศาล ไม่มี io ของศาล และโดยประเพณีของฝ่ายตุลาการอยากจะพูดอะไรกับประชาชนก็เขียนลงในคำวินิจฉัยให้กระจ่างให้หมด แล้วไม่ต้องโต้แย้งหรือแก้ตัวกับประชาชน ขอให้ประชาชนที่เกี่ยวข้องหรือสนใจรับเอาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปวิเคราะห์วิจัย แล้วจะวิพากษ์วิจารณ์หรือเสนอแนะโดยถูกต้องสุจริตเป็นธรรมก็จะกลับเป็นประโยชน์แก่ศาลรัฐธรรมนูญ เพราะเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของผู้ที่มีใจเป็นธรรมในสังคม เหมือนผู้ที่ชี้ขุมทรัพย์ที่จะได้พัฒนาปรับปรุง แต่ขอให้ทำโดยความบริสุทธิ์ยุติธรรม ตรงไปตรงมาไม่ผิด ข้อเท็จจริง ไม่หลงเชื่อไปตามพยานหลักฐานเท็จ ใช้กฎหมายถูกต้องตามหลักนิติธรรม ถ้าเราสามารถพัฒนาระบบกฎหมายระบบยุติธรรมของประเทศไทยให้มั่นคงอยู่บนหลักการนี้ได้ ก็จะมีส่วนช่วยให้ ระบอบการปกครอง ระบบการเมือง ระบบกฎหมาย ระบบงานยุติธรรมและระบบเศรษฐกิจ ระบบคิดและวิถีชีวิตของประชาชนมีคุณภาพมาตรฐานดีขึ้น
ถ้าศาลพูดก่อนที่คดีจะมาถึงศาล ศาลก็จะไม่ควรที่จะพิจารณาวินิจฉัยคดีนั้น เพราะมีเดิมพันหรือผลกระทบกับคนเป็นล้านเป็น 10 ล้าน กระทบสถาบันหลักของชาติ เพราะฉะนั้นเป็นปกติที่แรงกดดันของศาลรัฐธรรมนูญในสังคมอยากจะให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไปในทิศทางที่เป็นคุณประโยชน์แก่ตนเอง เพราะแพ้ไม่ได้นี่คือสถานะของศาล
ดังนั้น สื่อมวลชนจึงเป็นอำนาจที่ทำประโยชน์ให้กับสังคมได้เป็นการสะท้อนความคิด ความเห็นไปให้สังคมรับรู้ และมีเสรีภาพที่จะมีผลกระทบต่อสังคมแค่ไหนอย่างไร โดยปัจจัยแรงที่กดทับสื่อมวลชน คือ1.ระบอบการปกครองของประเทศ ที่เป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และใช้ระบบการเมืองแบบรัฐสภา และส่วนใหญ่ก็เลือกใช้ระบบ2สภา ถ้าเราใช้เสรีภาพล่วงละเมิดกฎหมายบ้านเมืองจะมีปัญหาแล้วจะไปโทษว่า คนที่กล่าวหาดำเนินคดี กลั่นแกล้ง ก็ไม่กระจ่าง 2.ระบบเศรษฐกิจ ที่เป็นระบบเสรี ที่สอดคล้องกับระบอบเสรีประชาธิปไตย แต่อาจจะไม่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยประชาชนที่มาพร้อมกับทุนนิยม 3.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพราะระบบเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามาและจะใหม่ไปเรื่อยๆ 4.วิถีชีวิตประชาชนคนไทย ในปัจจุบัน สื่อจะเป็นกลไกสำคัญในระบอบการเมืองเศรษฐกิจ เพื่อทำให้วิถีชีวิตของคนไทยค่อยๆดีขึ้นแต่ต้องระวัง อย่าหักด้ามพร้าด้วยเข่า อย่าใจเร็วด่วนได้ คือต้องพรุ่งนี้หรือเดี๋ยวนี้ไม่เช่นนั้นจะแตกหัก ถ้าสื่อใดพลาดไปแบบนั้น ตนว่าน่าห่วง”
นอกจากนี้ ยังมีมหาอำนาจ ทุนนิยมสุดโต่งที่กำลังครอบงำระบบการเมือง กฎหมาย ความยุติธรรม ไม่มีประเทศไหนให้คนต่างชาติเข้ามาในที่รับฟังคดีด้วย เพราะจะเกิดผลกระทบเกิดการกดดันผู้พากษาที่ทำหน้าที่อยู่ ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม ฉะนั้นเมื่อคดีเข้าสู่ศาลต้องสกัดการกดดันศาลทุกรูปแบบ เพื่อจะได้คุณภาพของคำวินิจฉัยชี้ขาด ทั้งนี้มหาอำนาจยังครอบงำสื่อด้วย หลายสื่อรับข้อมูลจากมหาอำนาจ โดยการสอดแทรกเข้าไปในวัฒนธรรมและวิถีชีวิตประชาชน สื่อมวลชนจะช่วยเชื่อมเป็นสื่อกลาง ให้แก่คนที่ไม่อยู่ในฐานะที่จะสื่อสารอธิบายชี้แจงได้ ให้กับคนจำนวนมากได้รับรู้ได้เข้าใจ ความโกรธแค้น เกลียดชัง สำคัญผิดก็จะได้เบาบางลง สังคมก็จะอยู่ร่วมกันได้หากระบบศาลไม่เป็นที่เคารพของประชาชนแล้วใครเดือดร้อนนั่นคือคนยาก คนจน คนด้อยโอกาส คนอ่อนแอจะเดือดร้อน แม้แต่สื่อก็เดือดร้อนด้วย
ขณะที่สถานะและบทบาท จะต้องมี 4 ต้อง คือ 1.ต้องให้สื่อมวลชนมีสิทธิเสรี สื่อมวลชนไม่ได้สำคัญที่เป็นเสรีภาพสื่อแต่เป็นเสรีให้ประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้รับการช่วยเหลือ ฉะนั้นต้องให้สื่อมวลชนมีเสรีภาพมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 2. ต้องเป็นตัวกลางระหว่างรัฐกับประชาชน ต้องเป็นตัวกลางให้2ฝั่งที่มักจะขัดแย้งกันเข้าใจกัน ไม่ใช่ยุยงให้ลงถนนหรือกฎหมู่ เป็นอันตรายต่อประชาธิปไตย เป็นตัวบ่อนทำลายหลักธรรมาภิบาลและหลักนิติธรรมที่ทรงพลังที่สุด
3.ต้องเป็นเวทีให้เกิดการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ข่าวสารและความรู้ให้ประชาชนเกิดความกระจ่าง 4.ต้องไม่บิดเบือนความจริง ไม่แสวงหาสิ่งตอบแทนนอกระบบ เพื่อเผยแพร่ข้อมูล