คัดลอก URL แล้ว
ย้อนเส้นทาง ‘ธาริต เพ็งดิษฐ์’ กับคดี 99 ศพ

ย้อนเส้นทาง ‘ธาริต เพ็งดิษฐ์’ กับคดี 99 ศพ

“อย่าดำเนินคดีเรื่อง 99 ศพ ถ้าไม่ฟังกัน พวกอั้วปฏิวัติ” นี่คือโควทในบางช่วงบางตอนจากปากของชายที่ชื่อ ‘ธาริต เพ็งดิษฐ์’ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ที่แถลงเปิดเบื้องหลัง การดำเนินคดีเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53 ที่โรงแรมมิราเคิล เมื่อวันที่ 8 ก.ค.66 ที่ผ่านมา

ประเด็นการสลายการชุมนุมปี 53 หรือ การสลายชุมนุมเสื้อแดง ถูกกลับมาพูดถึงอีกครั้งภายหลังการออกมาแถลงถึงเบื้องลึกในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองในครั้งนั้น ซึ่งในวันที่ 10 ก.ค.66 นี้ ศาลฎีกานัดอ่านคำพิพากษา ถือเป็นวันชี้ชะตาของ ‘ธาริต เพ็งดิษฐ์’ และความชัดเจนในกระบวนการยุติธรรมของครอบครัวผู้เสียชีวิต 99 ศพ ที่ยังคงเฝ้ารอความเป็นธรรมให้กับผู้สูญเสียมากว่า 10 ปี

ในคดีนี้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. ยื่นฟ้องนายธาริต และชุดพนักงานสอบสวนดีเอสไอรวม 4 คน ฐาน ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และกลั่นแกล้งผู้อื่นให้ได้รับโทษทางอาญา จากการกล่าวหาว่าใช้อาวุธสั่งฆ่าประชาชนจากการสลายการชุมนุมกลุ่ม นปช.เมื่อปี 2553

ย้อนเส้นทางกว่าจะมาเป็น ‘ธาริต เพ็งดิษฐ์’

นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2501 ที่โรงพยาบาลคริสเตียน ในตำบลคุ้งสำเภา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ซึ่งเดิมชื่อ “เบญจ” หลังอายุได้ 35 ปี จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น ‘ธาริต’ ตามหลักทักษาปกรณ์ตามความเชื่อของโหราศาสตร์ไทย โดยให้คำว่า ธ เป็นเดชนำหน้าชื่อ

ประวัติการศึกษา

เส้นทางราชการ

ก่อนรับราชการอัยการ นายธาริต เป็นผู้ช่วยอาจารย์สอนกฎหมาย จนกระทั่งได้พบกับคณิต ณ นครในฐานะอาจารย์พิเศษ จึงแนะนำให้ธาริตไปสอบอัยการหลังเรียนจบนิติศาสตร์มหาบัณฑิต และนายธาริต สอบได้เป็นอัยการ จนกระทั่งนายทักษิณ ชินวัตร ได้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย พร้อมระดมนักกฎหมายหลายคน เช่น คณิต ณ นคร, เรวัติ ฉ่ำเฉลิม ร่วมก่อตั้งพรรค ซึ่งในจำนวนนั้นมีนายธาริต อยู่ด้วย

หลังพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้ง นายธาริต ได้รับแต่งตั้งให้ช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยทำงานกับนายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รองนายกรัฐมนตรี ขณะเดียวกันนายธาริต ยังเป็นเป็นคณะที่ปรึกษาของนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์อีกด้วย

ภายหลังจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการของหน่วยงานนี้เป็นคนแรก

เมื่อมีการจัดตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ในรัฐบาลทักษิณ นายธาริตได้โอนมาดำรงตำแหน่งรองอธิบดี และต่อมาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษแทน พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ในรัฐบาลอภิสิทธิ์

นายธาริต เป็นหนึ่งในคณะกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เมื่อครั้งมีการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ขับไล่รัฐบาลอภิสิทธิ์ ในปี 53 แต่ไม่ได้เป็นคณะกรรมการด้านยุทธการ นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการดำเนินคดีทางการเมืองหลายคดี

ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 นายธาริต ได้รับคำร้องที่พรรคเพื่อไทยฟ้องร้องถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนเพื่อเอาผิดต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

ในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ได้มีประกาศกรมสอบสวนคดีพิเศษ เรื่อง มติคณะกรรมการคดีพิเศษให้คดีความผิดทางอาญาอื่นเป็นคดีพิเศษโดยมีมติ ว่ารับกรณี สุเทพ เทือกสุบรรณ กับพวก ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาสืบเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นคดีพิเศษ

ในระหว่างเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 นายธาริต เป็นกรรมการในศูนย์รักษาความสงบในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและผู้ช่วยเลขานุการ ในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

นายธาริต ได้รับการต่ออายุราชการภายหลังเกษียณอายุราชการในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่ง ณ ขณะนั้นกลายเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก หลังเกิดกรณีนายถวิล เปลี่ยนศรี ถูกโยกย้ายเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นกรรมการและเลขานุการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) แต่นายธาริต กลับได้ต่ออายุราชการทั้ง ๆ ที่เป็นกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน

โดยในปี พ.ศ. 2557 หลังการยึดอำนาจการปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้รับคำสั่งให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ ถูกลงโทษไล่ออกจากราชการ ในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2560 ในข้อหาร่ำรวยผิดปกติ

ไทม์ไลน์คดีความของ ‘ธาริต เพ็งดิษฐ์’

พ.ศ. 2558

พ.ศ. 2559

วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2560

วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2561

10 ก.ค.66 นัดฟังคำพิพากษาคดี 99 ศพ

คดีนี้มีการเลื่อนฟังคำพิพากษามาครบ 10 ครั้ง โดยในช่วงก่อนฟังคำพิพากษาในวันนี้ (10 ก.ค.66) นายธาริต ได้ยื่นคำร้องต่อศาล 3 ฉบับ คือ

ศาลอาญาได้รับคำร้องของจำเลยไว้แล้ว และต้องส่งให้ศาลฎีกาพิจารณาคำร้องของจำเลยอีกครั้ง ว่าจะให้ดำเนินการอย่างไร และนัดหมายให้มาฟังคำสั่งของศาลฎีกาที่จะส่งมาให้ศาลอาญาอ่านให้จำเลยฟังในเวลา 14.30 น. ซึ่งอาจเลื่อนอีกก็เป็นไปได้เช่นกัน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง