นโยบายจัดเก็บภาษีคาร์บอนของทั้งสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา สร้างความตื่นตัวให้กับอุตสาหกรรมทั่วโลก รวมถึงไทย โดยตั้งแต่ปี 2568 สหภาพยุโรปจะบังคับใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน ซึ่งต้องเพิ่มสัดส่วนของส่วนผสมระหว่างน้ำมันเชื้อเพลิง กับน้ำมันอากาศยานชีวภาพ หรือ SAF ร้อยละ 2 ในปี 2568 2588 และจะลดลงตามลำดับจนถึง ร้อยละ 63 ในปี 2593 หากฝ่าฝืนจะมีการเรียกเก็บค่าปรับและถูกจัดเก็บภาษีคาร์บอน กลายเป็นต้นทุนของอุตสาหกรรมการบิน
รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยว่า ไทยจำเป็นเร่งส่งเสริมการพัฒนาน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน เบื้องต้น กรมฯจะตั้งคณะทำงานเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพที่สามารถผสมเข้ากับน้ำมันเชื้อเพลิง เช่นเดียวกับการผลิตเอทานอล และไบโอดีเซล เพื่อวางกรอบทิศทางให้ชัดเจน เช่น การสนับสนุนนโยบายด้านภาษี คาดว่าจะตั้งคณะทำงานเสร็จภายใน 2 เดือน ซึ่งขณะนี้มีนักลงทุนสนใจ 2 -3 ราย
ด้านผู้ให้บริการคลังน้ำมันเครื่องบิน ยอมรับว่า การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ ยังมีต้นทุนที่สูงหากเทียบกับน้ำมันเชื้อเพลิง ปัจจุบัน 3 ถึง 5เท่า จึงจำเป็นจะต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น การยกเว้นจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเครื่องบินที่จัดเก็บอยู่ 5 บาทต่อลิตร ซึ่งถือเป็นต้นทุนร้อยละ 20 ของต้นทุนทั้งหมด
ทั้งนี้บริษัทได้พัฒนาระบบขนส่งน้ำมันทางท่อ เพื่อทดแทนการใช้รถขนส่งน้ำมันรูปแบบเดิม เพื่อลดการสูญเสียน้ำมัน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการขนส่ง โดยล่าสุดได้พัฒนาท่อส่งก๊าซสู่ภาคเหนือ เส้นทางบางปะอินพิจิตรลำปาง
พร้อมกับปรับเปลี่ยนมาใช้ รถเติมน้ำมันอากาศยานพลังงานไฟฟ้า ที่สนามบินดอนเมือง เพื่อผลักดันการรถปล่อยก๊าซ Co2 และมุ่งเข้าสู่ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2050 ด้วย