คัดลอก URL แล้ว
ผลพวง “เอลนีโญ” ส่อแวว “สินค้าเกษตร” แพงขึ้น

ผลพวง “เอลนีโญ” ส่อแวว “สินค้าเกษตร” แพงขึ้น

จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากปรากฎการณ์เอลนิโญ ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นในขณะนี้ ซึ่งหลายประเทศกำลังเผชิญกับสภาวะแห้งแล้งผิดปรกติ ส่งผลให้ปริมาณน้ำแหล่งน้ำหลายแห่งเริ่มลดลง ในขณะที่ปริมาณฝนยังไม่มากพอ

ทำให้ในหลายประเทศเริ่มกังวลต่อสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น และคาดการณ์กันว่า อาจจะส่งผลกระทบต่อสินค้าหลายชนิดโดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่สำคัญ ที่อาจจะไม่ได้ผลิตมากเพียงพอ ส่งผลให้บางประเทศเริ่มประกาศจำกัดปริมาณการส่งออก เพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเกิดเอลนิโญแล้ว

น้ำตาลทราย

สำหรับประเทศอินเดีย ถือเป็นหนึ่งในผู้สองออกน้ำตาลทรายรายใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ปริมาณน้ำฝนที่เปลี่ยนแปลงไปกำลังส่งผลกระทบต่อปริมาณอ้อยในตลาด ที่ลดลง โดยคาดว่า ในช่วงของฤดูเก็บเกี่ยวในช่วงเดือน ก.ย. นี้ อินเดียจะสามารถผลิตน้ำตาลทรายได้ราว 32 ล้านตัน ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้

ทางการอินเดีย จึงได้มีแผนจะจำกัดการส่งออกลงมาอยู่ที่ราว 6 ล้านต้น ไปจนถึงช่วงต้นปีหน้า และเมื่อถึงระดับที่กำหนดแล้ว ก็จะระงับการส่งออกน้ำตาลทราย เมื่อเทียบกับปี 2021 – 2022 อินเดียสามารถส่งออกน้ำตาลได้มากถึง 11 ล้านตัน

และเช่นเดียวกัน บราซิล ประสบปัญหาฝนตกหนัก ในขณะที่ไทยกำลังส่อเค้าจะเผชิญกับปัญหาภัยแล้งในบางพื้นที่ ทำให้คาดว่า จะส่งผลต่อปริมาณน้ำตาลทราย

ซึ่งทั้งบราซิล อินเดีย และไทย คือ 3 ผู้ส่งออกน้ำตาลทรายรายใหญ่ของโลก ดังนั้นจึงส่งผลให้คาดว่า ราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น

โกโก้และกาแฟ

ผลผลิตกาแฟและโกโก้ทั่วโลกในปีนี้ คาดว่า จะมีราคาพุ่งสูงขึ้นอีก จากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป จากปรากฎการณ์เอลนิโญ โดยเวียดนามถือเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกเมล็ดกาแฟรายใหญ่ โดยผลผลิตในปี 2021 – 2022 เวียดนามส่งออกเมล์ดกาแฟโรบัสต้ามากถึง 1.84 ล้านตัน

โดยทางสมาคมกาแฟ-โกโก้เวียดนาม คาดว่า จากภัยแล้งที่เวียดนามกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ จะส่งผลต่อผลผลิตของเมล็ดกาแฟที่ลดลง โดยในช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคมลดลงร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และในช่วงปลายปี 2023 นี้ คาดว่า ผลผลิตเมล็ดกาแฟโรบัสจะลดลงราว 10 – 15% และส่งผลให้ราคาเมล็ดกาแฟในประเทศเวียดนามสูงขึ้นด้วย

รวมถึงอินโดนีเซีย บราซิล โคลัมเบีย ถือเป็นกลุ่มผู้ส่งออกเมล็ดกาแฟโรบัสต้ารายใหญ่ของโลก ต่างก็กำลังเผชิญปัญหาภัยแล้งที่กำลังรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตกาแฟ และโกโก้น่าจะเผชิญกับราคาที่แพงขึ้น

ส่วนเมล็ดโกโก้ ซึ่งปัจจุบันมีแอฟริกาตะวันตกเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก ก็คาดว่า ปริมาณผลผลิตอาจจะลดลงราว 8% จากสภาพอากาศ ซึ่งจะส่งผลให้มีราคาพุ่งสูงขึ้น

ประเทศไอวอรี่โคสต์ ผู้ส่งออกเมล็ดโกโก้รายใหญ่ของโลก ก็มีความกังวลต่อสถานการณ์การเกิดเอลนีโญ ว่าจะส่งผลให้เกิดฝนแล้ง ซึ่งในปี 2009 ที่เกิดปรากฎการเอลนีโญนั้น ปริมาณน้ำฝนในประเทศลดลงอย่างรวดเร็ว ในช่วง ก.ค. – ก.ย. ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตเมล็ดโกโก้ลดลงถึง 6.5%

ข้าว

ธนาคารโลกประเมินว่า ผลกระทบจากเอลนีโญจะทำให้ผลผลิตข้าวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลดลง ซึ่งที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกข้าวมากกว่า 80% ของการส่งออกข้าวทั่วโลก อยู่ในเอเชียใต้ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเกิดเอลนีโญในช่วงปลายปี 2023 และจะก่อให้เกิดภาวะแห้งแล้งจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าว ทำให้ราคาข้าวสูงขึ้นทั่วโลก

ในประเทศไทยนั้น ทางศูนย์วิจัยกสิกรได้ประมาณการณ์ไว้ว่า เอลนีโญ จะส่งผลให้ผลผลิตข้าวของไทยในช่วงระหว่างปี 2566 -2567 นี้ ลดลงราว 4.1-6% หรือคิดเป็น ปริมาณ 25.1-25.6 ล้านตัน หากปรากฎการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะแล้งจัด

ในขณะที่อินโดนีเซียได้ลงนาม MoU ร่วมกับอินเดีย เรื่องการนำเข้าข้าวปริมาณ 1 ล้านตันภายหลังจากที่มีการนำเข้าข้าวจากประเทศเวียดนามเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งคิดเป็นมูลค่าสูงขึ้นถึง 15 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ

ข้าวสาลี

ในช่วงที่ผ่านมา ภายหลังจากรัสเซียเปิดฉากโจมตียูเครน ก็ส่งผลให้ผลผลิตข้าวสาลีที่มีส่งออกจากยูเครนมีปริมาณลดลง ราคาปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น และในขณะนี้ ผลกระทบจากการเกิดเอลนีโญกำลังจะซ้ำเติมราคาข้าวสาลีให้สูงขึ้นอีก เนื่องจากทางการจีนประเมินว่า ผลผลิตข้าวสาลีจะลดลงจากผลกระทบของความแห้งแล้งที่จะเกิดขึ้น

ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ของโลก ก็คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากปริมาณน้ำฝนที่ลดต่ำลง โดยคาดว่า อาจจะลดลงถึง 34% ในรอบปี 2023-2024 รวมถึงข้าวบาร์เลย์ที่จะลดลงอีกราว 30%

เช่นเดียวกับในอีกหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ อาร์เจนตินา ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวสาลีก็ได้รับผลกระทบเอลนีโญในสภาวะตรงข้ามนั่นคือ มีฝนตกสูงกว่าปรกติจนทำให้ผลผลิตเสียหาย

น้ำมันปาล์ม

ทั้งมาเลเซียและอินโดนีเซียถือเป็นผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ของโลก โดยคิดเป็นน้ำมันปาล์มทั้งโลกราว 80% ซึ่งทางการมาเลเซียประเมินว่า ผลกระทบจากเอลนีโญจะทำให้ผลผลิตปาล์มในรอบปี 2024 ลดลงราว 1-3 ล้านตันจากผลกระทบของเอลนีโญ

ซึ่งในปี 2016 ที่เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ทำให้ผลผลิตน้ำมันปาล์มในประเทศมาเลเซียลดลงถึง 20% จากภาวะฝนแล้ง

ส่วนที่อินโดนีเซีย คาดว่า จะเผชิญกับภาวะฝนแล้ง และไฟป่า ที่จะส่งผลกระทบต่อจำนวนผลผลิตปาล์มน้ำมัน ดังนั้นจึงคาดว่า ราคาน้ำมันปาล์มอาจจะปรับตัวสูงมากขึ้นจากผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างครึ่งปีหลังของปี 2023 ถึงต้นปี 2024

ผักและผลไม้

สินค้าในกลุ่มผักและผลไม้อื่น ๆ โดยเฉพาะในประเทศไทยจะประสบปัญหาภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ควบคู่สภาวะปุ๋ยที่ยังคงมีราคาที่สูง ทำให้ผลผลิตที่ได้ตกต่ำ และมีราคาปรับพิ่มสูงขึ้นได้อีก

อาหารทะเล

หนึ่งในผลกระทบโดยตรงที่เกิดขึ้นจากอุณหภูมิของน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล ซึ่งที่ผ่านมา พบว่า ปริมาณของสัตว์น้ำที่จับได้ในทะเล จะลดลงในหลายประเทศ

อาหารชนิดอื่น ๆ ที่คาดว่าจะปรับราคาขึ้น

นอกจากสินค้าเกษตรที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งเป็นผลผลิตที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากปรากฎการณ์เอลนีโญ ก็ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบตามมาอีกเช่น


ข่าวที่เกี่ยวข้อง