คัดลอก URL แล้ว
แนะ “สายมู” ทำบุญปล่อยสัตว์น้ำอย่างไรไม่ทำลายระบบนิเวศ

แนะ “สายมู” ทำบุญปล่อยสัตว์น้ำอย่างไรไม่ทำลายระบบนิเวศ

นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ในช่วงวันสำคัญทางศาสนาและเทศกาลพิเศษต่าง ๆ พุทธศาสนิกชนมักนิยมทำบุญด้วยการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำกันเป็นจำนวนมาก เพราะเชื่อว่าจะเป็นการสร้างบุญกุศลครั้งใหญ่ และเสริมสิริมงคลให้แก่ชีวิต แต่เนื่องจากสัตว์น้ำที่เลือกปล่อยบางชนิด ถูกปล่อยด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าเป็นสายพันธุ์ต่างถิ่น เช่น ปลาซัคเกอร์ ปลาดุกบิ๊กอุย เต่าญี่ปุ่น หรือเต่าแก้มแดง ตะพาบใต้หวัน ฯลฯ ส่งผลให้สัตว์น้ำเหล่านี้เมื่อปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะแล้วจะรุกรานพันธุ์สัตว์น้ำพื้นถิ่นของไทย จนทำให้บางชนิดอยู่ในสถานะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ รวมทั้งยังทำลายระบบนิเวศทางธรรมชาติอีกด้วย

กรมประมง จึงขอแนะนำให้ทำการปล่อยพันธุ์ปลาไทยในการทำบุญ อาทิ ปลาตะเพียน ปลาตะเพียนทอง ปลากระแห ปลาสร้อยขาว ปลากาดำ ปลาซ่า และปลาพื้นเมืองที่มีอยู่ในท้องถิ่น โดยมีวิธีในการปล่อยอย่างถูกต้อง และไม่ทำลายระบบนิเวศ ดังนี้

นอกจากนี้ ในการปล่อยสัตว์น้ำ ยังต้องคำนึงถึงความสมบูรณ์แข็งแรงของสัตว์น้ำและสภาพแวดล้อมของสถานที่ที่จะนำไปปล่อยด้วย เนื่องจากสัตว์น้ำแต่ละชนิดมีนิสัยความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสรอดให้กับสัตว์น้ำที่ได้เลือกนำไปปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยมีข้อควรคำนึง ดังนี้

อธิบดีกรมประมงกล่าวในตอนท้ายว่า กรมประมงจึงขอให้พี่น้องประชาชนได้ตระหนักถึงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อการทำบุญ โดยไม่ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นลงแหล่งน้ำธรรมชาติอย่างเด็ดขาด และหันมาปล่อยสัตว์น้ำพันธุ์ไทยที่กรมประมงแนะนำแทน ซึ่งนอกจากจะไม่ทำลายระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังได้บุญเต็มร้อย เพราะการปล่อยสัตว์น้ำพันธุ์ไทยถือเป็นการช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพให้กับประเทศอีกทางหนึ่งด้วย


ข่าวที่เกี่ยวข้อง