นางเพ็ญรวี มาแสง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม โฆษกกรมบังคับคดี ชี้แจงว่า การยึดทรัพย์และขายทอดตลาดเป็นภารกิจของ กรมบังคับคดีที่ต้องปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลและมีขั้นตอนตามที่กฎมายวิธีพิจารณาความแพ่งบัญญัติไว้ ดังนั้น
เมื่อศาลมีคําพิพากษาให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาชําระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาแล้ว เจ้าหนี้ตามคําพิพากษามีสิทธิที่จะขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาเพื่อนําออกขายทอดตลาดทรัพย์ นําเงินมาชําระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ซึ่งศาลจะออกหมายบังคับคดีเพื่อให้อํานาจแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีในฐานะเจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ดําเนินการในการยืดและขายทอดตลาดทรัพย์ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งบัญญัติไว้
เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีหน้าที่ตามที่หมายบังคับคดีกําหนดไว้เท่านั้น ไม่สามารถดําเนินการอื่นใดได้เกินกว่าที่กําหนดไว้ในหมายบังคับคดี ทั้งนี้ในการบังคับคดีจะดําเนินการเมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดําเนินการ การขายทอดตลาดทรัพย์ของกรมบังคับคดีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดี ในการนําทรัพย์ที่ยึดออกขายทอดตลาดเพื่อนําเงินมาชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา
โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีจะจัดทําประกาศขายทอดตลาดแจ้งไปยังเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงการเผยแพร่ให้บุคคลทั่วไปได้ทราบ เพื่อให้ผู้ที่สนใจซื้อทรัพย์เข้ามาร่วมประมูลในการ ขายทอดตลาด ซึ่งประกาศขายทอดตลาดจะมีรายละเอียดขั้นตอน วิธีการ เงื่อนไข ข้อสัญญา และคําเตือนผู้ซื้อในการ เข้าซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ที่สนใจเข้าซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดควรต้องไปตรวจสอบทรัพย์ ที่สนใจว่าตรงตามความต้องการหรือไม่ สภาพทรัพย์เป็นอย่างไร ทรัพย์ดังกล่าวมีผู้อาศัยอยู่หรือไม่ เพื่อประกอบในการตัดสินใจ
เพราะทรัพย์ที่จะทําการขายทอดตลาดเป็นทรัพย์ที่ถูกบังคับขายตามกฎหมาย ลูกหนี้บางรายอาจจะยังไม่ได้ออกจากทรัพย์ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ จากนั้นเมื่อซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดได้ ผู้ซื้อต้องชําระราคาค่าซื้อทรัพย์ตามกําหนดเวลาในสัญญาซื้อขาย เมื่อชําระราคาครบถ้วนแล้ว ผู้ซื้อต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ณ สํานักงานที่ดิน
หากผู้ซื้อทรัพย์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อเรียบร้อยแล้ว แต่พบว่าเจ้าของเดิมและบริวารไม่ยอมออกจากทรัพย์ หรือพบว่าเจ้าของเดิมและบริวารย้ายออกแล้วแต่ยังมีทรัพย์สินบางส่วนอยู่ จะต้องทําอย่างไร ในเรื่องนี้กฎหมายได้บัญญัติ ให้ผู้ซื้อทรัพย์ได้สามารถยื่นคําขอฝ่ายเดียวต่อศาลที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่เพื่อให้ศาลมีหมายบังคับคดีเพื่อบังคับให้เจ้าของเดิมและบริวารออกจากทรัพย์ที่ซื้อได้ ซึ่งการเขียนคําขอดังกล่าวต่อศาลนั้น
ผู้ซื้อสามารถยื่นคําขอได้ด้วยตนเองโดยเขียนคําขอแสดงให้ศาลทราบว่าผู้ซื้อเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาด และเจ้าของเดิมและบริวารไม่ยอมออกจากทรัพย์ที่ซื้อได้ เมื่อศาลพิจารณา และออกหมายบังคับคดีให้แล้ว ผู้ซื้อมีหน้าที่แจ้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าเจ้าของเดิมและบริวารยังคงอาศัยอยู่ในทรัพย์ที่ซื้อได้ ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดําเนินการขับไล่ตามหมายบังคับคดีดังกล่าว โดยรายงานต่อศาลเพื่อขอให้มีคําสั่งจับกุมให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ต่อไป
หากมีทรัพย์สินของเจ้าของเดิมคงเหลืออยู่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะรวบรวมทรัพย์สินของเจ้าของเดิม และแจ้งให้เจ้าของเดิมมารับทรัพย์ที่รวบรวมคืนไป หากเจ้าของเดิมไม่มารับทรัพย์สินของตนเอง เจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะนํา ทรัพย์ดังกล่าวออกขายทอดตลาดและ แจ้งให้เจ้าของเดิมมารับเงินที่ขายทอดตลาด
ทั้งนี้ผู้ซื้อทรัพย์ที่ได้โอนกรรมสิทธิ์แล้ว สามารถไปแจ้งให้เจ้าของเดิมและบริวารออกจากทรัพย์ที่ซื้อทอดตลาดได้ แต่หาก เจ้าของเดิมและบริวารไม่ยินยอมออกจากทรัพย์ที่ซื้อได้ ผู้ซื้อทรัพย์ควรใช้กระบวนการทางกฎหมายตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น เพื่อลดการขัดแย้ง และความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่หากผู้ซื้อทรัพย์เห็นว่ายังมีพอมีแนวทางในการเจรจาหาทางออกร่วมกัน ผู้ซื้อทรัพย์อาจร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดให้มีการเจรจากันก่อนที่จะใช้กระบวนการทางกฎหมาย
ดังนั้นในการบังคับคดีในการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่เพียงเท่าที่หมายบังคับคดีกําหนดในการยึดและขายทอดตลาด จึงไม่สามารถที่ขับไล่ลูกหนี้และบริวารได้ในทันทีที่ยึดหรือก่อนการนําทรัพย์ออกขายทอดตลาด อีกทั้ง มีคดีจํานวนไม่น้อยที่ภายหลังจากการยึดแล้ว ลูกหนี้สามารถชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้จนมีการถอนการยึดทรัพย์ไปก่อนการจะนําทรัพย์ออกขายทอดตลาด และเมื่อขายทอดตลาดทรัพย์ได้ผู้ซื้อย่อมได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นในทันที แต่หากมีกรณีที่ลูกหนี้และบริวาร ไม่ยอมออกจากทรัพย์นั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีหน้าที่ในการนําเนินการขับไล่ให้ตามหมายบังคับคดีที่ผู้ซื้อไปขอต่อศาลต่อไป
หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการบังคับคดี สามารถสอบถามเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ ณ สํานักงานบังคับคดีทั่วประเทศ หรือสอบถามรายละเอียดที่กรมบังคับคดี 02-881-4999 หรือสายด่วนกรมบังคับคดี 1111 กด 79 เว็บไซต์กรมบังคับคดี www.led.go.th