คัดลอก URL แล้ว
53% ของทะเลสาบขนาดใหญ่ทั่วโลก กำลังแห้งลง

53% ของทะเลสาบขนาดใหญ่ทั่วโลก กำลังแห้งลง

ผลการศึกษาล่าสุดในนิตยสาร Science พบว่า ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ทะเลสาบขนาดใหญ่ในโลกนี้จำนวนมากกว่าครึ่งนี้ มีขนาดเล็กลง มีปริมาณน้ำลดลง และกำลังสร้างความเสี่ยงทั้งในด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และธรรมชาติ

โดย Fangfang Yao นักวิจัยหลักในการศึกษาครั้งนี้ได้ระบุว่า ในการศึกษาข้อมูลทะเลสาบและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เกือบ 2,000 แห่งทั่วโลก โดยใช้วิธีการสังเกตุการณ์จากภาพถ่ายดาวเทียม และแบบจำลองสภาพอากาศในช่วงระยะเวลา 30 ที่ปีที่ผ่านมา เพื่อวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของทะเลสาบพบว่า

ทะเลสาบ 53% มีแนวโน้มของปริมาณน้ำที่ลดลงอย่างชัดเจน ในช่วงระหว่างปี 1992 -2020 ปริมาณน้ำลดลงเราว 2.2 หมื่นล้านตันต่อปี ซึ่งเทียบได้กับปริมาณน้ำในทะเลสาบมีดส์ที่เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ถึง 17 เท่า และระดับน้ำที่แห้งลงนั้น อย่างน้อยครึ่งหนึ่งเป็นผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์

อ่างเก็บน้ำบางแห่งพบว่า ปริมาณน้ำที่ลดลงเกิดจากตะกอนทรายที่ไหลลงมาจากพื้นที่ด้านเหนืออ่างเก็บน้ำ ซึ่งถูกน้ำพัดลงมาสะสมบริเวณอ่างเก็บน้ำ และส่งผลให้แหล่งน้ำ หรือทะเลสาบตื้นเขิน ทำให้ปริมาณน้ำที่สามารถกักเก็บได้ มีปริมาณที่ลดลงอีกด้วย

กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ส่งผลต่อปริมาณน้ำ

สำหรับในปัจจัยหลักที่ทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ทั่วโลกมีปริมาณน้อยลงนั้น มาจากปัญหาสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น ส่งต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และปริมาณน้ำฝน รวมถึงหิมะ ที่ส่งผลต่อปริมาณน้ำไหลเข้าสู่แหล่งกักเก็บ

ในขณะเดียวกัน ความต้องการของมนุษย์ในการใช้น้ำสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ มีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาคการเกษตรที่มีพื้นที่เพิ่มขึ้น การใช้น้ำในกิจกรรมอื่น ๆ ของมนุษย์ในชีวิตประจำวัน ความต้องการในการใช้ไฟฟ้า ทำให้ต้องมีการปล่อยน้ำจากแห่งกักเก็บเพิ่มขึ้น

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากมนุษย์กำลังส่งผลต่อแหล่งกักเก็บน้ำจืดที่มีอยู่ ราว 87% บนผิวโลก

ผู้คนหลายพันล้านคนเผชิญปัญหาขาดแคลนน้ำ

ทางด้านของสหประชาชาติได้รายงานผลการศึกษาพบว่า ผู้คนทั่วโลกราว 2 พันล้านคนกำลังเผชิญปัญหาการเข้าถึงน้ำสะอาดและปลอดภัย และความไม่มั่นคงในเรื่องของการเข้าถึงน้ำสะอาดกำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

ซึ่งปัญหาภัยแล้งตามฤดูกาลจะมีมากขึ้นในพื้นที่ที่ขณะนี้ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ เช่น ในแอฟริกากลาง, เอเซียตะวันออก และบางส่วนของอเมริกาใต้ และในบางพื้นที่สถานการณ์น้ำจะแย่ลง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำอยู่แล้ว เช่น ตะวันออกกลาง แอฟริกา

ปัญหาของการขาดแคลนน้ำในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น น้ำปริมาณราว 70% ถูกใช้ในการเกษตร จะส่งผลให้การแข่งชิงน้ำจืดมีมากขึ้น หากไม่มีการปรับเปลี่ยนแนวทางในการใช้น้ำ หรือมีการจัดการน้ำที่ดีพอ จะส่งผลให้ผู้คนเราว 1.7 – 2.0 พันล้านคนประสบปัญหาขาดแคลนน้ำได้ในอนาคต

ซึ่งหากการเข้าถึงน้ำของประชากรโลกลดลง นั่นหมายถึงการไม่มีน้ำเพียงพอที่จะใช้เพาะปลูกและจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารต่อไป


ที่มา –


ข่าวที่เกี่ยวข้อง