คัดลอก URL แล้ว
ครบ 70 ปี เมื่อคำว่า “Climate Change” แพร่กระจายสู่วงกว้างเป็นครั้งแรก

ครบ 70 ปี เมื่อคำว่า “Climate Change” แพร่กระจายสู่วงกว้างเป็นครั้งแรก

สำหรับคนที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปีลงมา คงนึกสภาพไม่ออกว่า ในสมัยที่ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นเรื่องไกลตัว เมื่อหลายสิบปีก่อน ผู้คนไม่รู้จักกับค่ำว่า “ภาวะเรือนกระจก”, “ภาวะโลกร้อน” หรือ “การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ” จนถึงปัจจุบันที่เข้าสู่ยุคของ “วิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ”

ในการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ หนึ่งในแคนดิเดตอย่าง อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ จอร์จ บุช (George H.W. Bush) เคยกล่าวถึงเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมในการหาเสียง แต่คำว่า “Greenhouse Effect” นั้นใหม่มากจนบุชใช้คำว่า “White House effect” ซึ่งคำว่า ภาวะเรือนกระจก, ภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเพิ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในช่วง 35 ปีหลังนี่เอง

ในความเป็นจริงคำว่า ภาวะเรือนกระจกจะมีพูดอย่างเป็นทางการครั้งแรก ถึงการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลกมา 70 ปีเต็มแล้ว

และการพูดถึงปรากฏการณ์ ก็เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นอย่างมาก โดยในปี 1859 นักวิทยาศาสตร์ชาวไอริช John Tyndall ได้แสดงถึงการค้นพบและแสดงข้อพิสูจน์ที่ว่า “ก๊าซต่าง ๆ รวมถึงคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำสามารถดูดซับความร้อนจากรังสีของก้อนทองแดงที่มีน้ำเดือด” โดยในปัจจุบันรู้จักกัน คือ “รังสีอินฟราเรด” และมันแสดงถึงไอน้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศสามารถกักเก็บความร้อนและส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้

ภาพภาพประกอบการวัดการดูดซับความร้อนจากการแผ่รังสีของก๊าซ
ของ Tyndall ในปี 1861

ซึ่งผลงานของ Tyndall ถือเป็นการวางรากฐานความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในยุคหลัง ๆ

โดยในปี 1895 Svante Arrhenius เจ้าของรางวัลโนเบลชาวสวีเดน ได้กล่าวถึงปัญหาของความร้อนที่ถูกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กักเก็บไว้ในชั้นบรรยากาศ โดยระบุว่า

กว่า 100 ปีที่คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ถูกปลดปล่อยสู่อากาศจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็น การเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิง, ถ่านหิน และก๊าซ จะถูกกักเก็บไว้ และความร้อนที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ในแถบทุนดรา และทำให้ฤดูหนาวที่หนาวจัดกลายเป็นอดีต

ในปี 1938 Guy Callendar วิศวกรเครื่องจักรไอน้ำชาวอังกฤษได้เสนอแนวคิด โดยระบุว่า “โลกกำลังร้อนขึ้น”

อุณหภูมิโลกสูงขึ้น 1.5 องศาฯ ทุก 100 ปี

ต่อมาในการประชุม American Geophysical Union ที่จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 1953 นักฟิสิกส์ชาวแคนาดา Gilbert Plass ได้ออกมากล่าวยืนยันในประเด็นเดียวกับ Guy Callendar ถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นว่า

“กิจกรรมทางด้านอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นในศตวรรษนี้ กำลังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ และทำให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นในอัตรา 1.5 องศาฯ ทุก 100 ปี”

และแนวนี้คิดนี้ ก็ถูกนำเสนอขึ้นอย่างกว้างขวางมากขึ้นหน้าหนังสือพิมพ์ชื่อดังหลายฉบับ และข้อเท็จจริงที่ว่า “โลกกำลังร้อนขึ้น” เป็นสิ่งที่ไม่อาจโต้แย้งได้ แม้ว่า จะมีหลายทฤษฏีที่ไม่ได้พูดถึงการกักเก็บความร้อนของคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศก็ตาม

Plass ยังคงนำเสนอแนวคิดของภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นจากการกักเก็บความร้อนของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศอย่างต่อเนื่อง และแนวคิดนี้ก็ถูกพูดถึง และหาคำตอบกันมากขึ้นตลอดยุค 50 – 60 และนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างประเทศในการติดตามและเฝ้าระวังความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศมากขึ้น

จุดที่ไม่อาจย้อนกลับ

ผ่านไป 70 ปีเต็ม ภายหลังจากคำกล่าวของ Plass ในครั้งนั้น กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ยังคงส่งผลให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์สะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศอย่างต่อเนื่อง ในการประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2023 ที่ผ่านมา

อันโตนิโอ กูแตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ เตือนว่า โลกกําลังก้าวไปสู่ “จุดที่ไม่อาจย้อนกลับ” และมีความเสี่ยงที่อุณหภูมิของโลกจะสูงขึ้นเกินกว่าที่นานาชาติมีความเป็นชอบร่วมกันคือ 1.5 องศาเซลเซียส (2.7 องศาฟาเรนไฮต์)

(ภาพ – Markus Spiske)

โดยข้อตกลงปารีสที่เกิดขึ้นเมื่อเกือบ 8 ปีก่อน พยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส หรืออย่างน้อยให้ต่ำกว่าระดับ 2 องศาเซลเซียส เนื่องจากหากสูงกว่า ระดับดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่จะส่งผลกระทบต่อมนุษย์มากยิ่งขึ้น ที่จะต้องเผชิญสภาพอากาศที่หนาวเย็น-ร้อนสุดขั้วมากขึ้น ภัยแล้งจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น พายุและมรสุมก็จะรุนแรงมากขึ้น

ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้

แม้ยังมีข้อขัดแย้งไม่ตรงกันว่า ที่ระดับ 2 องศาฯ นั้น เป็น จุดที่ไม่อาจย้อนกลับ จริงหรือไม่ แต่ทุกฝ่ายต่างเห็นพ้องกันว่า อุณภูมิโลกที่สูงขึ้น กำลังสร้างวิกฤติหนักไปทั่วโลก


ที่มา


ข่าวที่เกี่ยวข้อง