รองศาสตราจารย์ ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้อำนวยการหลักสูตรการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) วิเคราะห์ ว่า
ส.ว.มีหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่มที่อาจจะไม่เห็นด้วยกับพรรคก้าวไกลและกลุ่มที่วางเฉย หรือมีแนวโน้มที่จะงดออกเสียง ส.ว.200 คนมาจากการแต่งตั้งของ คสช. ส่วนอีก 50 คน มาตามรัฐธรรมนูญจากการเลือกกันเองของวิชาชีพต่างๆ กลุ่มนี้อาจมีความเป็นอิสระ เพราะไม่ได้เป็นสายตรงจาก คสช.
ขณะเดียวกัน สว.บางส่วนแม้จะมาจากการแต่งตั้งโดย คสช. แต่ก็อาจจะมีแนวโน้มยึดหลักการณ์ที่ใช้โหวตเลือกนายกในปี 2562 คือ โหวตนายกฯที่มาจากเสียงข้างมาก
อย่างไรก็ตามประเด็นหลักคือในช่วงเวลาที่เหลืออยู่จนกว่าจะมีการเลือกนายกฯน่าจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ช่วงนี้ อาจจะมีกระบวนการทางสังคมเกิดขึ้น เช่น การพูดคุย แลกเปลี่ยน ถึงท่าทีในการเลือกนายกของ ส.ว. และคิดว่ามีความเป็นไปได้ระดับหนึ่งที่ ส.ว.จำนวนหนึ่งอาจจะเปลี่ยนใจหันมาสนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นอย่างราบรื่น ซึ่งประเมินว่าอาจจะมีประมาณ 70 เสียงที่ ส.ว.โหวตเลือกนายกที่มาจากพรรคที่สามารถรวบรวมเสียงข้างมาก