คัดลอก URL แล้ว
ฝุ่น PM2.5 พุ่ง! แพทย์แนะ 6 วิธีปฏิบัติตัวของประชาชนในช่วงวิกฤต

ฝุ่น PM2.5 พุ่ง! แพทย์แนะ 6 วิธีปฏิบัติตัวของประชาชนในช่วงวิกฤต

11 มี.ค. 2566 ค่าฝุ่น PM2.5 ยังคงย่ำแย่และมีผลกระทบต่อสุขภาพได้แบบเฉียบพลันและเรื้อรังในระยะยาว ล่าสุด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊กเพจ แพทยสภา เผยแพร่ประกาศ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยและองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ออกประกาศเรื่อง “การปฏิบัติตัวของประชาชนในช่วงวิกฤตฝุ่น PM2.5” โดยระบุว่า

เป็นที่ทราบและตระหนักกันดีถึงพิษภัยต่อสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 ทั้งผลเฉียบพลันและผลเรื้อรัง ไม่เฉพาะผลต่อระบบการหายใจที่เป็นช่องทาง นําพาฝุ่นเข้าสู่ร่างกายเท่านั้น ฝุ่น PM2.5 ยังมีผลต่อการเกิดโรคระบบต่าง ๆ เช่นระบบหลอดเลือดและหัวใจ ระบบประสาท หลอดเลือดสมอง และโรคไต ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายได้มากคือ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคเรื้อรัง (โรคปอด หัวใจ สมอง และไต) ในขณะที่ทุกภาคส่วนกําลัง ระดมสมองแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ประชาชนควรดูแลสุขภาพของตัวเองในช่วงที่ฝุ่นมีปริมาณสูง ดังนี้

  1. หมั่นตรวจสอบคุณภาพอากาศจากแหล่งข้อมูลของรัฐและเอกชนอย่างสม่ําเสมอ หรือใช้เครื่องวัดปริมาณฝุ่นแบบพกพา เพื่อวางแผนกิจวัตร ประจําวันใหเ้หมาะสมและให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสสูดPM2.5โดยการจัดให้มีพื้นที่ปลอดภัย(safetyzone)
  2. เมื่อค่า PM2.5 ในขณะนั้น (ค่ารายชั่วโมง) ขึ้นสูงเกินเกณฑ์ คือ

    ก. สูงกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร กลุ่มเสี่ยงควรงดทํากิจกรรมกลางแจ้ง บุคคลทั่วไปควรลดและปรับเวลาทํากิจกรรมกลางแจ้ง โดยใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา

    ข. สูงกว่า 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทุกคนควรงดทํากิจกรรมกลางแจ้ง ยกเว้นผู้ที่ต้องทําหน้าที่บริการสาธารณะกลางแจ้งให้ใส่หน้ากาก N95 ตลอดเวลา

    ค. สูงกว่า 150 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทุกคนควรอยู่ในตัวอาคารซึ่งติดตั้งระบบระบายและฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพ
    เพียงพอ ยกเว้นผู้ที่ต้องทําหน้าที่บริการสาธารณะกลางแจ้ง ให้ใส่หน้ากาก N95 ตลอดเวลา และจํากัดช่วงเวลาปฏิบัติงานไม่ให้
    เกินครั้งละ 60 นาที
  3. ขณะที่ปริมาณฝุ่นภายนอกขึ้นสูง ภายในตัวอาคารควรจัดให้มีระบบระบายและฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
  4. การออกกําลังกายสม่ําเสมอจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงลดโอกาสเจ็บป่วย แต่ขณะที่ปริมาณฝุ่นขึ้นสูงควรหลีกเลี่ยงหรือลดเวลาการออกกําลังกายกลางแจ้งตามระดับเตือนภัยในข้อ 2 หรือออกกําลังกายในร่มที่มีระบบระบายและฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
  5. ดื่มน้ําสะอาดให้เพียงพอ จะช่วยเร่งการขับฝุ่น PM2.5 ที่เล็ดลอดเข้ากระแสเลือด ออกไปทางไตในรูปของปัสสาวะได้มากขึ้น
  6. การอยู่ในบริเวณที่มีต้นไม้ใบเขียว จะช่วยการดูดซับฝุ่นในอากาศได้เพิ่มมากขึ้น


    ประกาศ ณ วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2566

(พลโท รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วิชัย ประยูรวิวัฒน์)
ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
.
(รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุพจน์ ศรีมหาโชตะ)
นายกสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
.
(แพทย์หญิงทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์)
นายกสมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย
.
(รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สัมมน โฉมฉาย)
นายกสมาคมพิษวิทยาคลินิก
.
(รองศาสตราจารย์ นายแพทย์แจ่มศักดิ์ ไชยคุนา)
นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
.
(นายแพทย์วุฒิเดช โอภาศเจริญสุข)
นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย


ข่าวที่เกี่ยวข้อง