KEY :
- สำนักงานป้องกันประเทศยุโรปรายงานข้อมูลกลาโหมของสหภาพยุโรป โดยระบุว่า งบกลาโหมของสหภาพยุโรปเพิ่มสูงขึ้นถึง 2.14 แสนล้าน สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์
- มีการจัดซื้อจัดหาอาวุธ-ยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนมาอยู่ที่ราว 18% แต่ยังต่ำกว่าระดับ 35%
- ระบุ สงครามยูเครนทำให้คลังแสงหมดลงอย่างรวดเร็ว และต้องเร่งจัดหาเพิ่ม
- ที่ผ่านมาหลังช่วงสงครามเย็น ชาติในยุโรปได้ลดขนาดกองทัพ ขาดการประสานงานที่ดี และทำให้ขาดความสามารถในการป้องกันตัวเองที่สำคัญ ๆ ไป
…
สำนักงานป้องกันประเทศยุโรป (European Defence Agency – EDA) ได้สรุปรายงานข้อมูลกลาโหมประจําปี 2020-2021 ซึ่งเป็นงบประมาณด้านกลาโหมของประเทศสมาชิกในกลุ่มสหภาพยุโรป 26 ประเทศว่า ในช่วงปี 2020-2021 ที่ผ่านมานั้น ค่าใช้จ่ายด้านกลาโหมของสหภาพยุโรปอยู่ในระดับที่สูงที่สุด คือ 2.14 แสนล้านยูโร หรือเกือบ 8 ล้านล้านบาท
สำหรับงบลงทุนด้านกลาโหมของสหภาพยุโรปอยู่ในระดับที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 5.2 หมื่นล้านยูโรในปี 2021 ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 4 ของงบประมาณด้านกลาโหมทั้งหมดที่สหภาพยุโรปจ่ายไปในช่วงปีที่ผ่านมา รวมถึงยังเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันที่อยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ที่ตกลงกันไว้ในกลุ่มสหภาพยุโรปที่ 20%
สิ่งที่เป็นปัญหาในขณะนี้คือ แม้ว่าการจัดหาซื้อยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกันจะเพิ่มสูงขึ้น 18% จากงบประมาณทั้งหมดเมื่อเทียบกับปี 2020 แต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตกลงกันไว้ 35% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้อย่างมาก
ซึ่งนาย Josep Borrell ระบุว่า สหภาพยุโรปจำเป็นจำเป็นที่จะต้องจัดหาในระยะสั้นนี้มากขึ้น โดยการลงทุน จัดหาและจัดซื้อร่วมกันมากขึ้น ซึ่งการลงทุนเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ ประเทศสมาชิกยังจำเป็นต้องลงมือทำร่วมกันมากขึ้นด้วย
จากสงครามที่เกิดขึ้นในยูเครนทำให้หลายชาติถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมา และตระหนักดีว่า คลังอาวุธของเราหมดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการลงทุนที่ไม่เพียงพอมาหลายปี นอกจากนี้ยังทำให้หลายชาติตระหนักดีถึงขีดความสามารถในการป้องกันตัวเองจากภัยคุกคามในระดับที่สุดขึ้น
“สรุปง่าย ๆ คือ จัดซื้อยุทโธปกรณ์ร่วมกันมากขึ้น”
– Josep Borrell กล่าว
ยุโรปขาดความสามารถในการป้องกันภัยคุกคาม
ในช่วงที่ผ่านมา สหภาพยุโรปได้มีการส่งอาวุธและยุทโธปกรณ์ ๆ ไปสนับสนุนยูเครน เป็นมูลค่ากว่า 2 พันล้านยูโร โดยเฉพาะอาวุธในกลุ่มประเทศที่ใช้ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่สมัยยุคโซเวียตนั้น ถูกใช้ไปจนเกือบหมดแล้ว และจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติม
Josep Borrell ยังได้ระบุว่า ยุโรปจำเป็นจะต้องรักษาความมั่นคงของตนเองให้มากขึ้น ไม่เฉพาะการสนับสนุนยูเครนเท่านั้น แต่ต้องรับมือกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในอนาคตด้วย
“หลังสงครามเย็น เราลดขนาดกองกำลังเป็นกองทัพขนาดเล็ก ขาดการประสานงาน และขาดความสามารถในการป้องกันตัวเองที่สำคัญ ๆ ไป”
ซึ่งในปี 2021 นั้นมี 18 ประเทศที่ร่วมสนับสนุนงบประมาณด้านกลาโหมให้กับสหภาพยุโรปเพิ่มมากขึ้น โดยมี 6 ประเทศที่เพิ่มงบประมาณมากกว่า 10% และมี 4 ประเทศที่เพิ่มงบมากที่สุดคือ อิตาลี ฟินแลนด์ กรีซ และสโลวีเนีย
ทางด้านของ Jiří Šedivý ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ EDA ระบุว่า ยุโรปจำเป็นต้องเพิ่มขีดความสามารถทางทหารให้มากขึ้น เนื่องจากประชาชนของสหภาพยุโรปต้องการ และคาดหวังให้ต้องการความร่วมมือทางทหารภายในชาติสมาชิกสหภาพยุโรป นอกจากนี้สหภาพยุโรปยังคงต้องมีความยืดหยุ่นและปรับตัวกับภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะจากรัสเซียและจีน
ในขณะที่ พล. ต.Karel Řehka หัวหน้าฝ่ายกลาโหมสาธารณรัฐเช็ก กล่าวว่า “เราจำเป็นต้องเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ที่ยากลำบากและอันตรายที่สุดเป็นหลัก นั่นคือสงครามใหญ่ที่ต้องเอาชนะจากการโจมตีของศัตรู” แม้ว่าที่ผ่านมาสหภาพยุโรปจะสนับสนุนยูเครน มาโดยตลาด แต่ก็จำเป็นที่จะต้องสนับสนุนให้เคียฟสามารถดำเนินการได้มากขึ้นด้วย และหากยูเครนไม่ประสบความสำเร็จ ความมั่นคงของสหภาพยุโรปจะตกอยู่ในความเสี่ยงไปนานอีกหลายทศวรรษ
ที่มา
– https://eda.europa.eu/publications-and-data/brochures/eda-defence-data-2020-2021
– https://eda.europa.eu/