KEY :
- สหภาพยุโรปได้บรรลุข้อตกลงในการกำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซียอยู่ที่ 60 ดอลลาร์/บาเรล
- โดยทั้งกลุ่ม G-7 สหภาพยุโรป และออสเตรเลีย จะเริ่มใช้มาตรการนี้ในวันจันทร์หน้า ( 5 ธ.ค.)
- มาตรการดังกล่าว จะกำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซียที่ขนส่งทางเรือเท่านั้น ยกเว้นน้ำมันที่มีการส่งผ่านท่อ
- หลายฝ่ายกังวล หากรัสเซียตัดสินใจไม่ขายน้ำมันให้ประเทศที่กำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย อาจจะส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกกลับมาพุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง
…
สหภาพยุโรปได้ข้อสรุปในการกำหนดเพดานราคาน้ำมันของรัสเซียอยู่ที่ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และให้มีการทบทวนมาตรการนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อกำหนดให้ราคาน้ำมันของรัสเซียยังคงต่ำกว่าราคาตลาดอย่างน้อย 5%
ซึ่งสาเหตุของการกำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซียในครั้งนี้ เพื่อเป็นการลดรายได้ของรัสเซียที่จะนำเงินจากการขายน้ำมันไปเป็นทุนสำหรับทำสงครามในยูเครน โดยที่ไม่ให้กระทบต่อน้ำมันในตลาดโลกจนเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมัน และมาตรการที่เกิดขึ้นนี้ จะส่งผลกระทบต่อรายได้ของรัสเซียที่ลดลงอย่างมาก
โดยที่ผ่านมา ชาติสมาชิกสหภาพยุโรปได้มีการประชุมเจรจาเพื่อหาข้อยุติในแนวทางของการจำกัดราคาน้ำมันของรัสเซีย ซึ่งมีทั้งชาติที่เสนอกำหนดราคาในระดับที่ต่ำมาก เช่น โปแลนด์ที่เสนอกำหนดราคาไว้ที่ 30 ดอลล่าร์ต่อบาเรลเท่านั้น ในขณะที่ไซรัส และกรีซ เสนอราคาที่สูงกว่า ทำให้ในการประชุมครั้งก่อนหน้านี้ ยังไม่ได้ข้อตกลงร่วมกันว่า จะมีการกำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซียอยู่ที่เท่าใด
สำหรับมาตรการนี้ ในกลุ่มประเทศ G-7 รวมทั้งสหภาพยุโรป และออสเตรเลีย จะเริ่มการใช้มาตรการนี้ในวันที่ 5 ธ.ค. ที่จะถึงนี้ โดยจะมีผลกับน้ำมันรัสเซียที่ใช้การขนส่งทางเรือบรรทุกน้ำมัน แต่ไม่รวมน้ำมันรัสเซียที่มีการขนส่งผ่านท่อน้ำมัน
ทุก 1 ดอลลาร์จะกระทบรัสเซีย 2 พันล้าน
Kaja Kallas นายกรัฐมนตรีเอสโตเนีย ได้ระบุถึงมาตรการที่เกิดขึ้นนี้ว่า เป็นการทำลายแหล่งรายได้ของรัสเซียซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการหยุดเครื่องจักรสงครามของรัสเซีย และส่งผลให้ทรัพยากรของรัสเซียลดน้อยลงไปอย่างมาก
โดยทุก 1 ดอลล่าร์ที่มีการกำหนดเพดานราคานั้น หมายถึงรายได้รัสเซียที่ลดลงราว 2 พันล้าน ดังนั้นการกำหนดเพดานราคาน้ำมันที่ 60 ดอลล่าร์/บาเรล จากค่าเฉลี่ยของราคาตลาด 65 ดอลล่าร์/บาเรล จะช่วยทำให้ต้นทุนของรัสเซียในการทำสงครามกับยูเครน ลดลงไปราว 1 หมื่นล้านดอลล่าร์
ในขณะที่หากมีการกำหนดราคาน้ำมันที่ระดับ 30-40 ดอลลาร์/บาเรลนั้นจะเป็นสิ่งที่สร้างผลกระทบให้กับรัสเซียอย่างมหาศาล ซึ่งในแนวทางที่กำหนดนี้ ถือเป็นการประนีประนามที่ดีที่สุด
ในส่วนสำคัญอื่น ๆ ของการประนีประนอมที่เกิดขึ้นนี้ คือ การคว่ำบาตรต่อรัสเซีย และจะยังคงเดินหน้าการคว่ำบาตรต่อรัสเซียต่อไป
ท่าทีของรัสเซีย
ก่อนหน้านี้ หลังจากมีข้อเสนอในการกำหนดเพดานราคาน้ำมันของรัสเซีย นายอเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีของรัสเซีย ได้ระบุก่อนหน้านี้ว่า หากมีการกำหนดเพดานของราคาน้ำมันของรัสเซีย รัสเซียก็อาจจะเลือกไม่ขายน้ำมันให้กับประเทศที่มีการกำหนดเพดานราคาน้ำมัน
ซึ่งหลายฝ่ายมองว่า การไม่จำหน่ายน้ำมันของรัสเซียต่อกลุ่ม G-7 และสหภาพยุโรป จะส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่มีการปรับลงมาจุดสูงสุดในช่วงที่รัสเซียเปิดการโจมตียูเครนในเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา และราคาน้ำมันในตลาดโลกก็มีความผันผวนอย่างมาก
จับตาประชุมโอเปคพลัส
สถานการณ์ในขณะนี้ หลายฝ่ายจึงจับตาไปยังการประชุมโอเปคพลัสที่จะเกิดขึ้น ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแนวทางในการผลิตน้ำมันหรือไม่ เนื่องจากที่ผ่านมาทางกลุ่มโอเปคพลัสยังคงอยู่ในแนวทางของนโยบายในการปรับลดกำลังการผลิตลง อังกฤษ, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา