นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่า กทม. พร้อมด้วย นายต่อศักดิ์ โชติมงคล ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ยืนยันว่า กรุงเทพมหานคร มีเงินมากพอที่จะจ่ายหนี้ให้ บริษัทเอกชนที่เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งคำนวณดูแล้ว อยู่ที่กว่า 1 หมื่นล้านบาท ไม่ถึง 4 หมื่นล้านบาท ตามที่เอกชนระบุ
แต่เหตุผลที่ยังจ่ายไม่ได้ เพราะรอคำตอบจากคณะรัฐมนตรี ใน 3 ประเด็น ที่ผู้ว่าฯ กทม. ทำหนังสือไปถึงกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้ ครม.ตัดสินใจ คือ
- ให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณโครงสร้างพื้นฐานค่าก่อสร้างและระบบเดินรถ ถ้า ครม.ตัดสินใจจะขยายสัมปทานต่อไปในปี 2572
- การดำเนินการต้อง ผ่านก็ต้อง พ.ร.บ.ร่วมทุน ปี 2562
- ให้ ครม.ยุติคำสั่ง มาตรา 44 ของ คสช.ปี 2562 ที่ให้ตั้งคณะกรรมเจรจาร่วม เรื่องสัญญาสัมปทานและการเดินรถ ซึ่งขณะนี้ กรุงเทพมาหนคร ซึ่งผู้ว่าฯ กทม. ทำหนังสือ ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไปตั้งแต่ต้นเดือน พฤศจิกายนแล้ว
ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ยังระบุด้วยว่า ประเด็น มูลค่าหนี้ที่เอกชนทวง 4 หมื่นล้านบาทนั้น เบื้องต้น กทม.พบว่ามีเพียงกว่า 1 หมื่นล้านบาทเท่านั้น เพราะสัญญาที่ทำไว้ ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ย ในการเดินรถส่วนต่อขยายที่สอง ช่วง 5 แยกลาดพร้าว ถึงคูคต ซึ่งเรื่องนี้ กทม. ได้ยื่นข้อมูลเพิ่มเติมต่อศาลปกครองสูงสุดไปแล้ว เพื่ออุธรณ์คำสั่งที่ให้ กทม.จ่ายชดใช้
ขณะที่ผู้ใช้บริการ รถไฟฟ้าบีทีเอส สะท้อนว่า ต้องการให้เอกชน เปิดเผยข้อมูลรายละเอียดสัญญาให้ชัดเจนเพื่อความโปร่งใส และ ที่มาที่ไปของการกำหนดอัตราค่าโดยสารใหม่ ที่ต้องประกาศล่วงหน้า ก่อนคิดราคาจริง
สำหรับประเด็นหนี้บีทีเอส กทม. ยังยืนยันว่า เกิดขึ้นก่อนที่นายชัชชาติจะเข้ามาบริหาร และจากการตรวจสอบพบว่า ดำเนินการก่อน แล้วทำสัญญากันภายหลัง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าเกิดขึ้น กับการทำสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชน