คัดลอก URL แล้ว
ลิซ ทรัสส์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกฯ สหราชอาณาจักร หลังเผชิญวิกฤติศก. ถาโถม จากนโยบายที่ผิดพลาด

ลิซ ทรัสส์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกฯ สหราชอาณาจักร หลังเผชิญวิกฤติศก. ถาโถม จากนโยบายที่ผิดพลาด

KEY :

ลิซ ทรัสส์ นายกฯ สหราชอาณาจักร ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งแล้วในวันนี้ หลังจากที่เข้ารับตำแหน่งนายกฯ ได้เพียง 44 วันเท่านั้น หลังเผชิฐแรงกดดันทางการเมืองอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา

โดยหลังจากที่เธอขึ้นรับตำแหน่งนายกฯ ของสหราชอาณาจักรด้วยท่าทีที่แข็งกร้าว และความคาดหวังในการต่อสู้กับปัญหาที่รุมเร้าในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ระหว่างยูเครน-รัสเซีย และวิกฤติเศรษฐกิจที่สหราชอาณาจักรกำลังเผชิญอยู่ แต่ภายหลังจากที่เข้ารับตำแหน่งในช่วงที่ผ่านมา เริ่มค่อย ๆ กลับลำและถอนตัวจากการสนับสนุนให้ทรัสส์ อยู่ในตำแหน่งต่อไป

โดยเฉพาะจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ทรัสส์รับตำแหน่งนั้น หลายฝ่ายมองว่า “นี่คือความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ” อย่างมาก ท่ามกลางวิกฤติที่สหราชอาณาจักกำลังเผชิญอยู่

3 เดือน เปลี่ยน รมต.คลัง 4 คน

สหราชอาณาจักรเผชิญวิกฤติจากหลายสาเหตุที่รุมเร้า ตั้งแต่ ในรัฐบาลของบอริส จอห์นสัน  โดยมี ริชี ซูนัก เข้ารับตำแหน่งตั้งแต่ในช่วงเดือน ก.พ. 2020 – ก.ค. 2021 ซึ่งซูนัก ดำรงตำแหน่งอยู่นานกว่า 2 ปี ก่อนที่จะลาออกกระทันหัน

หลังจากนั้น บอริส จอห์นสัน นายกฯ ในขณะนั้นได้แต่งตั้งให้ Nadhim Zahawi เข้ารับตำแหน่งแทนซูนักที่ลาออกไป แต่กลายเป็นว่า Nadhim Zahawi นั้นยื่นหนังสือลาออกใน 24 ชม. ถัดมา ไล่เลี่ยกับการลาออกของรัฐมนตรีอีกหลายกระทรวง และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอีกหลายคน ส่งผลให้ บอริส จอห์สัน ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกฯ และทรัสส์ ก็ก้าวขึ้นมารับตำแหน่งแทน

และ ควาซี กวาร์เต็ง เพื่อนสนิทของทรัสส์ก็รับหน้าที่ รมต.คลังคนแรกในสมัยของนายกฯ หญิงลิซ ทรัสส์ และได้มีนโยบายที่ถูกระบุว่า เป็นนโยบายที่สร้างความปั่นป่วนให้กับสหราชอาณาจักรให้กับเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะนโยบายการลดภาษีรายได้ส่วนบุคคล ภาษีนิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว และภาษีเงินปันผล ควบคู่กับการอุ้มค่าไฟฟ้า ทำให้หลายฝ่ายยิ่งกังวลมากขึ้นไปอีกว่า การลดภาษีที่เกิดขึ้นจะไม่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรแต่อย่างใด

ในขณะที่ การประกาศแผนงบประมาณขนาดย่อม หรือ Mini – Budget เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตได้นั้นก็สร้างความกังวลใจอย่างมาก เนื่องจากนโยบายดังกล่าว ไม่ได้ระบุว่า “รัฐบาลอังกฤษ จะหาเงินจากช่องทางใด เพื่อใช้จ่ายในมาตรการดังกล่าว” ท่ามกลางนโยบายการลดภาษีที่ออกมา และหลายฝ่ายก็ได้เตือนถึงนโยบายนั้น ไม่เว้นแม้แต่ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ว่า เรื่องดังกล่าวถือเป็นนโยบายที่ผิดพลาด

ซึ่งส่งผลให้เกิดความปั่นป่วนที่เกิดขึ้นส่งผลให้มีการเทขายสินทรัพย์ทั้งในตลาดหลักทรัพย์, ตลาดพันธบัตรรัฐบาล รวมทั้งเงินปอนด์ก็ร่วงลงอย่างมาก เป็นสาเหตุให้ธนาคารกลางอังกฤษต้องออกนโยบายเพื่ออุ้มพันธบัตรรัฐบาล เพื่อป้องกันไม่ให้กองทุนบำเหน็จบำนาญต้องล้มลง โดยมีเส้นตายในวันที่ 14 ต.ค.

นั่นทำให้ในวันที่ 14 ต.ค. ที่ผ่านมา ทรัสส์ได้ปลดกวาร์เต็ง เพื่อนรักออกจากตำแหน่ง เนื่องจากปัญหาที่รุมเร้า ซึ่งทรัสส์ ก็ได้ยอมรับข้อผิดพลาดดังกล่าว และรมต.คลังคนใหม่ ก็คือเจเรมี ฮันต์

เมื่อฮันต์ก้าวขึ้นมารับตำแหน่ง สิ่งที่เกิดขึ้นคือ การยกเลิกนโยบายในช่วง 38 วันของกวาร์เต็ง หักล้างนโยบายดังเดิมที่ออกมาก่อนหน้านี้ไว้เกือบทั้งหมด ซึ่งเป็นนโยบายที่ทรัสส์ได้หาเสียงไว้ก่อนหน้านี้

นโยบายลดภาษีของทรัสส์ ที่ได้มีการยกเลิกไป เช่น

นั่นจึงส่งผลให้กระแสความไม่พอใจ และความไม่มั่นใจถาโถมกลับไปที่ ทรัสส์อย่างเต็มที่ในการตั้งคำถามถึงนโยบายต่าง ๆ ในช่วงที่ผ่านมาเพียง 40 กว่าวัน และหลายฝ่ายก็เรียกร้องให้เธอลาออก

เสียงสนับสนุนที่หายไป

ขณะที่เมื่อวานนี้นาง “ซูเอลลา บราเวอร์แมน” รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยประกาศลาออกจากตำแหน่ง พร้อมตำหนิการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ที่ผิดสัญญาหลักที่ได้ให้ไว้กับสมาชิกพรรคหลายนโยบายด้วย

โดยทรัสส์ ได้แต่งตั้ง แกรนต์ แชปส์ ขึ้นรับตำแหน่งแทนเพียง 1 ชั่วโมงหลังการประกาศลาออกของ บราเวอร์แมน ท่ามกลางกระแสที่ไม่สู้ดีนัก เนื่องจาก แชปส์ เพิ่งจะถูกปรับออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมมาไม่นาน

และจากความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศ ทำให้ทรัสส์ ได้ออกมายอมรับผิดและขอโทษในความผิดพลาดของนโยบายที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยระบุว่า เป็นการเดินหน้านโยบายที่เร็วและมากเกินไป แต่ยังยืนยันว่า จะเดินหน้าบริหารประเทศต่อไป

ท่ามกลางคำถามที่มุ่งเป้าไปยังทรัสส์ว่า นโยบายด้านเศรษฐกิจที่ออกมานั้น มีใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลังหรือไม่ และข้อสงสัยดังกล่าวนำไปสู่การยื่นญัตติไม่ไว้วางใจ ทรัสส์ นายกฯ ของสหราชอาณาจักร โดยขอให้เธอลาออก หรือเปิดทางให้พรรคลงมติไม่ไว้วางใจ

ซึ่งในช่วงเช้าวันนี้ ( 20 ต.ค. ) ทรัสส์ยังคงระบุว่า เธอจะเดินหน้าบริหารประเทศต่อไปก่อนที่จะตัดสินใจประกาศลาออกเมื่อเวลาประมาณ 13.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือตรงกับเวลา 19.30 น. ในประเทศไทย


ข่าวที่เกี่ยวข้อง