คัดลอก URL แล้ว
ศาลฎีกาฯ สั่งจำคุก 16 เดือน ไม่รอลงอาญา “นริศร ทองธิราช” อดีต ส.ส.เพื่อไทย เซ่น “เสียบบัตรแทนกัน” ปี 56

ศาลฎีกาฯ สั่งจำคุก 16 เดือน ไม่รอลงอาญา “นริศร ทองธิราช” อดีต ส.ส.เพื่อไทย เซ่น “เสียบบัตรแทนกัน” ปี 56

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 22 กันยายน 65 ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง ศาลอ่าน คำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อม.36/2562ที่ อัยการสูงสุด โจทก์ นายนริศร ทองธิราช อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย เสียบบัตรเเทนกัน

โจทก์ฟ้องว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยดำรงตำแหน่งส.ส. เมื่อวันที่ 10 ก.ย.56 เวลากลางวัน มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาวาระที่สอง เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข เพิ่มเติม เวลา17.33 น. จําเลยนำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นบัตรจริงของจำเลยและของสมาชิกรัฐสภา รายอื่นหลายใบเสียบเข้าไปในเครื่องออกเสียงลงคะแนนและกดปุ่มเพื่อแสดงตนและลงมติ ต่อมาวันที่ 11 ก.ย.65 เวลา 16.43น.จำเลยนำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นบัตรจริงของจำเลยและของ สมาชิกรัฐสภารายอื่นจำนวนหลายใบเสียบเข้าไปในเครื่องออกเสียงลงคะแนนและกดปุ่มเพื่อแสดงตนและลงคะแนน

ขอให้ลงโทษตาม พรป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542มาตรา 123/1พรป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 นับโทษจำเลยต่อจากโทษ จําคุกในคดีอาญาหมายเลข ที่ อม.8/2565 ของศาลนี้ จําเลยให้การปฏิเสธ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยข้อแรกมีว่า โจทก์มีอำนาจยื่นฟ้องหรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษาเห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 15-18/2556 ไม่มีประเด็นเรื่องความรับผิดทางอาญา การที่บุคคลใด จะต้องรับโทษอย่างไรหรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการเป็นคดีอาญาต่อไป คณะกรรมการ ป.ป.ช. ย่อมมี อำนาจหน้าที่ไต่สวนข้อเท็จจริง ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มิได้ชี้มูลความผิดไปโดยอาศัยเหตุที่คำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดังที่จำเลยต่อสู้ แม้รัฐธรรมนูญบัญญัติให้รัฐสภามีอำนาจ หน้าที่ในการเสนอญัตติและพิจารณาญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่ในส่วนการกระทำของสมาชิก รัฐสภาในฐานะเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หากปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติใดที่อาจมีความรับผิดทาง อาญาก็ต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีโดยศาล คณะกรรมการ ป.ป.ช. มิได้เร่งรีบรวบรัดโดยมุ่งจะ เอาผิดดังที่จําเลยอ้าง บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาระบุวันเดือนปีที่เกิดเหตุโดยละเอียดแล้ว จำเลยมิได้แถลงต่อศาลว่าไม่เข้าใจคําฟ้องและฟ้องของโจทก์บรรยายชอบแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง

ปัญหาข้อต่อไปว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ จำเลยเบิกความรับว่าบุคคลที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์คือจําเลย อันเจือสมกับคำเบิกความของนางสาว ร. ศาลส่งคลิปวีดิทัศน์ไปตรวจพิสูจน์แล้วไม่พบร่องรอยการตัดต่อ ฟังได้ว่า จำเลยนำบัตรหลายใบเสียบเข้าไปในเครื่องลงคะแนนตามที่ปรากฏภาพใน คลิปวีดิทัศน์ทั้ง 3คลิปจริง

ปัญหาต่อไปว่า การที่จำเลยนำบัตรหลายใบใส่เข้าไปในเครื่องลงคะแนนตามที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์เป็นการลงคะแนนแทนสมาชิกรายอื่นหรือไม่ พยานโจทก์หลายปากเบิกความว่า บัตรในคลิปวีดี ทัศน์เป็นบัตรจริง และมีจำนวนมากกว่า 1 ใบ เหตุที่ทราบว่าเป็นบัตรจริงเนื่องจากเป็นบัตรที่มีรูป การกระทำ ของจำเลยเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนอันส่งผลให้ปรากฏผลการลงคะแนนหลายครั้งสำหรับบัตรแต่ละใบได้

จึงฟังว่าจำเลยลงคะแนนแทนสมาชิกรายอื่น เมื่อไม่มีการออกบัตรใหม่แทนบัตรใบเดิมจึงไม่อยู่ในวิสัยที่ จําเลยจะมีบัตรจริงหลายใบดังที่อ้าง บัตรเดิมไม่สามารถลงคะแนนได้จึงไม่มีประโยชน์ที่จำเลยจะต้องนําบัตร ที่ถูกยกเลิกแล้วมาใช้บัตรจริงและบัตรสำรองจะแสดงผลการลงคะแนนเพียงครั้งเดียวจึงไม่มีเหตุที่จำเลย จะต้องใส่ทั้งบัตรจริงและบัตรสำรองลงในเครื่องอ่านบัตรภาพตามคลิปวีดิทัศน์ปรากฏว่ามีสัญญาณไฟกะพริบ ทุกครั้งที่ใช้บัตรแต่ละใบ แสดงว่าเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ลงคะแนนทั้งสิ้น พยานหลักฐานฟังได้ว่า จำเลยลงคะแนนแทนสมาชิกรายอื่นจริง

ปัญหาต่อไปว่า การกระทำของจำเลยตามที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์เป็นเหตุการณ์ตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่าเสียงที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์ตรงกับข้อความรายงานการประชุมรัฐสภาซึ่งได้บันทึกถ้อยคำของ ผู้เข้าร่วมประชุมไว้แบบแทบทุกถ้อยคำย่อมนำมาเปรียบเทียบกับเสียงที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์ได้

ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า การกระทำของจำเลยตามที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์เป็นเหตุการณ์ตามฟ้อง แม้ต่อมาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีประกาศให้รัฐธรรมนูญ 2550 สิ้นสุดลง ยกเว้นหมวด 2 แต่ก็หาได้มีผลเป็นการลบล้างว่าไม่มีการกระทำของจำเลยอันมิ ชอบด้วยกฎหมายเกิดขึ้น หรือมีผลกลับกลายเป็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด การกระทําของจำเลยตามฟ้องเป็นการกระทำต่างวันเวลากัน ความผิดในแต่ละคราวอาศัยเจตนาในการกระทําความผิดแยกต่างหากจากกันได้ จึงเป็นความผิด 2 กรรม พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พรป.ว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542มาตรา 123/1 เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุก กรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91

องค์คณะผู้พิพากษาเสียงข้างมากให้ ลงโทษจําคุกกระทงละ 1 ปี คำเบิกความของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78คงจำคุกกระทงละ 8 เดือน รวม 2กระทง เป็นจำคุก 16 เดือน พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง แม้ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยกระทำความผิดใด ๆ มา ก่อนก็ไม่มีเหตุเพียงพอที่จะรอการลงโทษแก่จําเลยได้ ส่วนที่โจทก์มีค่าขอให้นับโทษจําเลยต่อจากโทษของ จําเลยในคดีหมายเลขดำที่ อม.5/2565ของศาลนี้ นั้น เนื่องจากคดีดังกล่าวศาลยังมิได้มีคำพิพากษา คำขอให้ยก


ข่าวที่เกี่ยวข้อง