คัดลอก URL แล้ว
กอนช. เตือน 14 จังหวัดพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ลุ่มน้ำชี-น้ำมูล หลังมีฝนตกหนักถึง 24 ก.ย.นี้

กอนช. เตือน 14 จังหวัดพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ลุ่มน้ำชี-น้ำมูล หลังมีฝนตกหนักถึง 24 ก.ย.นี้

KEY :

เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2565 นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานน้ำแห่งชาติ ลงนามประกาศศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 2/2565 เรื่อง เฝ้าระวังระดับน้ำในลุ่มน้ำชี-มูล ระบุว่า

ตามที่ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ประกาศเฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำมูล ในช่วงวันที่ 13 – 18 กันยายน 2565 และติดตามสถานการณ์น้ำบริเวณลุ่มน้ำมูลตอนบน รวมถึงคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ในช่วงวันที่ 18 – 24 กันยายน 2565 บริเวณลุ่มน้ำมูลตอนบนจะมีฝนตกหนัก ประกอบกับพื้นที่น้ำท่วมเอ่อล้นตลิ่งก่อนหน้านี้ขยายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น และอ่างเก็บน้ำลำตะคอง ลำพระเพลิง และมูลบน มีปริมาณน้ำสูงกว่าเกณฑ์กักเก็บน้ำสูงสุด

ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าฯ ประสานให้กรมชลประทานพิจารณาปรับเพิ่มการระบายน้ำแบบขั้นบันไดเพื่อลดผลกระทบด้านท้ายน้ำ คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนราษีไศล อยู่ในเกณฑ์ 1,400 – 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และมวลน้ำจะไหลไปรวมกับแม่น้ำชีและลำน้ำสาขา

ซึ่งจะทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ในเกณฑ์ 2,600 – 2,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.40 – 0.60 เมตร โดยอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำอาจเกิดน้ำท่วมขังและล้นตลิ่ง จึงขอให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2565 ดังนี้


ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

  1. ติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ
  2. ติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำ และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม โดยปรับแผนระบายน้ำจากเขื่อนและประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำและบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำ เร่งระบายน้ำในลำน้ำ แม่น้ำ เพื่อรองรับน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน ลดผลกระทบความรุนแรงของอุทกภัย รวมทั้งจัดจราจรน้ำในแม่น้ำชี และแม่น้ำมูล เพื่อลดผลกระทบจากมวลน้ำที่จะไหลหลากมายังบริเวณแม่น้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานี
  3. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที
  4. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์


ข่าวที่เกี่ยวข้อง