คัดลอก URL แล้ว

มติครม. เห็นชอบขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เฉลี่ย 5 % มีผล 1 ต.ค.นี้ เชื่อไม่กระทบนายจ้าง เตรียมเสนอลดจ่ายเงินประกันสังคม

KEY :

วันนี้ ( 13 กันยายน 65 ) ที่ ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ในการประชุมครม.วันนี้มีเรื่องดีๆ โดยที่ประชุมครม.ได้มีมติเห็นชอบปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

ทั้งนี้นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึง การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำได้เสนอตามมติไตรภาคี 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง และปลัดกระทรวงแรงงาน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ วันที่ 1 ต.ค.นี้ ซึ่งสัดส่วนการขึ้นค่าแรงเฉลี่ย 5 % ซึ่งต้องยอมรับว่า ก่อนจะมีสถานการณ์โควิด 19 ได้มีการขึ้นค่าแรงในเดือน มกราคม 2563 หลังจากได้นั้นได้เกิดสถานการณ์โควิด 19 จึงได้มีการขึ้นค่าแรง ที่ผ่านมาการขึ้นค่าแรงจะมีประมาณ 1-2 % แต่การขึ้นครั้งนี้ เป็นการรวบยอดมา 5% ตามสภาวะเงินเฟ้อ

ส่วนที่มีการมองว่า การขึ้นค่าแรงจะเป็นการซ้ำเติมผู้ประกอบการ นายสุชาติ กล่าวว่า ตนได้คุยกับผู้ประกอบการแล้วว่า เป็นประคับประคอง ให้ลูกจ้างให้อยู่รอด นี่เป็นสิ่งที่นายจ้างต้องการ เห็นลูกจ้างมีเงินมากขึ้น เพื่อพยุงค่าครองชีพ ซึ่งสัดส่วนการขึ้นค่าแรง 5% เป็นสิ่งที่นายจ้างรับได้ ไม่ได้เป็นสัดส่วนที่มากเกินไป จริงๆแล้ว ถ้าลูกจ้างอยู่รอด นายจ้างก็อยู่รอด เราคิดในเรื่องนี้ว่า แต่เมื่อมีการประชุมถึงเรื่องอัตราดอกเบี้ย ที่ปรับตามภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก ก็ต้องดูและให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำกับในเรื่องนี้

อย่างไรก็ตามนายสุชาติ ย้ำว่า การขึ้นค่าแรงเป็นไปตามกลไกล และส่วนที่ขอให้มีการขึ้นค่าแรงในวันที่ 1 ตุลาคมนั้น เพราะสินค้าอื่นๆ ขึ้นราคารอแล้ว และตนยังได้ขอให้สำนักงานประกันสังคมได้ช่วยเหลือนายจ้าง ประมาณ 2-3 เดือน โดยการลดจ่ายเงินสมทบ พร้อมยืนยันว่า จะไม่กระทบต่อเงินชราภาพ ซึ่งจะมีการใช้มติ ครม. โยกเงินอีกส่วนมาทดแทน จำนวนเงินที่หายไป และได้สั่งให้สำนักงานประกันสังคม ชี้แจงประชาชนเรื่องการลดการจ่ายเงินสมทบ จะไม่กระทบต่อเงินชราภาพ


ภาพ – วิชาญ โพธิ


ข่าวที่เกี่ยวข้อง