คัดลอก URL แล้ว
พม. เป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับรัฐมนตรีด้านสตรีของเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Women and Economy Forum)

พม. เป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับรัฐมนตรีด้านสตรีของเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Women and Economy Forum)

วันนี้ (7 ก.ย.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ (APEC Women and the Economy Forum) ณ True ICON Hall ศูนย์การค้าไอคอนสยาม ซึ่งในการประชุมในครั้งนี้ มีรัฐมนตรีหรือผู้แทนระดับรัฐมนตรีกระทรวงหรือหน่วยงานด้านสตรีและเศรษฐกิจจากเขตเศรษฐกิจเอเปค และคณะผู้แทน จากชาติต่าง ๆ จาก 20 เขตเศรษฐกิจ

โดยการประชุมในครั้งนี้ เป็นรูปแบบผสมผสาน มีคณะผู้แทนจากออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี สิงคโปร์ และจีนไทเป เข้าร่วมประชุมแบบออนไซต์ ส่วนบรูไน แคนาดา จีน อินโดนีเซีย เกาหลี มาเลเซีย เม็กซิโก เวียดนาม และรัฐเซีย เข้าร่วมประชุมรูปแบบออนไลน์ และทางด้านของชิลี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมประชุมแบบไฮบริด นอกจากนี้ยังรวมถึงผู้นำระดับสูงของสำนักงานเลขาธิการเอเปค สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค Advisory Council – ABAC) และข้าราชการระดับสูงและภาคเอกชน รวมประมาณ 100 คน

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ได้มาเป็นประธานในการเปิดการประชุมในครั้งนี้ ได้กล่าวว่า

ในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวไทย รู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูงที่ได้ต้อนรับรัฐมนตรี หัวหน้าคณะเขตเศรษฐกิจ และผู้เข้าร่วมการประชุมทุกท่าน ซึ่งต้องขอขอบคุณขอขอบคุณรัฐมนตรี หัวหน้าคณะผู้แทน และผู้บริหาร เอเปคที่ได้เดินทางมาเข้าร่วมการประชุมในวันนี้

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ถือเป็น การประชุมพบปะกันเป็นครั้งแรกหลังจากเกิดการระบาดของโควิด-19 จึงนับเป็นการประชุมที่มีความสำคัญในการส่งเสริมพลังและความก้าวหน้าของสตรี รวมถึงความเท่าเทียมทางเพศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภายใต้แผนลา เซเรนา เพื่อสตรีและการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม (พ.ศ. 2019 – 2030) วิสัยทัศน์ปุตราจายา 2040 แผนปฏิบัติการและเครื่องมือกลไกต่างๆ ที่เอเปคเห็นชอบร่วมกัน

หัวข้อการประชุมในปีนี้ อยู่ภายใต้หัวข้อ การเสริมพลังสตรีในทางเศรษฐกิจผ่านแนวคิดเศรษฐกิจ BCG (Women and the Bio-Circular-Green Economy) แสดงถึงความสามารถของสตรีในการส่งเสริมเศรษฐกิจ และส่งเสริมโอกาศของสตรีที่จะช่วยนำความสำเร็จและยั่งยื่นทางเศรษกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

ซึ่งสิ่งสำคัญคือ การเปิดกว้างของโอเปคไปสู่โอกาสด้านต่าง ๆ เชื่อมโยงทุกมิติและสร้างสมดุลในหงายแง่มุม และรัฐบาลไทยเชื่อว่าโลกจะสามารถเปลี่ยนแปลงสู่ความสำเร็จและความสมดุลและความยั่งยืนทางเศรษฐกิจหลังโควิด-19

ทางด้านของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ได้เข้ารวมงานในครั้งนี้ โดยได้กล่าวปาฐกถา ในหัวข้อ การเสริมพลังสตรีในทางเศรษฐกิจผ่านแนวคิดเศรษฐกิจ BCG

จากนั้นเป็นการอภิปรายนโยบายระดับสูง ในหัวข้อ การสร้างความมั่นใจในการเสริมพลังทางเศรษฐกิจของสตรี เพื่อเป็นแนวทางการเสริมพลังทางเศรษฐกิจของสตรี ที่ส่งเสริมการดำเนินการตามวิสัยทัศน์ปุตราจายา แผนปฏิบัติการเอาทีออรา และแนวคิด เศรษฐกิจ BCG ที่ส่งเสริม การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มี ความครอบคลุม ความเท่าเทียม และความยั่งยืน ความเป็นอยู่ที่ดี และการสร้างความยืดหยุ่นต่อ
ความท้าทายในอนาคต

นอกจากนี้ ในงานยังได้มีการจัดแสดงนิทรรศการต่าง ๆ ภายใต้แนวคิด “Empowerment and Equality : “When more women work, economies grow” นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ความก้าวหน้าและการส่งเสริมบทบาทผู้หญิงของไทย Hall of Frame ธุรกิจตัวอย่างของสตรีผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG โซนสาธิตร้อยมาลัย สานชะลอม แกะสลักผักผลไม้ โซนบริการนวดแผนไทย เพ้นท์เล็บ ทำผมแบบแห้ง (Dry Shampoo) โดย Chalachol Hair Studio มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี

นอกจากนี้ ยังได้จัดเตรียมของที่ระลึกจากเครือข่ายพันธมิตร อาทิ ผ้าพันคอไหมจากอำเภอแม่แจ่มและอำเภอปากช่อง และผ้าประดับกระเป๋าสำหรับเสื้อสูทจากศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา จังหวัดลำพูน สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมอีกด้วย


ภาพ – วิชาญ โพธิ


ข่าวที่เกี่ยวข้อง