คัดลอก URL แล้ว
[FOLLOW UP] วิกฤติหนัก! “รายได้ไม่พอจ่าย” ยิ่งจนยิ่งกระทบ – เหลือไม่พอจ่ายหนี้

[FOLLOW UP] วิกฤติหนัก! “รายได้ไม่พอจ่าย” ยิ่งจนยิ่งกระทบ – เหลือไม่พอจ่ายหนี้

ท่ามกลางราคาสินค้าและบริการ ที่มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้คนไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์ “รายได้ไม่พอใช้จ่าย” ตามค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น ขณะที่ล่าสุดวานนี้ (5 ก.ย. 2565) สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) รายงานราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเกือบทุกหมวด ดันค่าใช้จ่ายครัวเรือนเดือน ส.ค. เฉลี่ยที่ 18,000 บาท

โอดวิกฤติหนักรายได้ไม่เพิ่ม สวนทางค่าใช้จ่าย – กว่าครึ่งไม่มีเงินจ่ายหนี้!

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคไทย “ยุคข้าวยากหมากแพง” 2,676 คน เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและพฤติกรรมในช่วงที่ราคาสินค้าและบริการปรับสูงขึ้น โดยศูนย์วิจัย EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ ช่วงวันที่ 8 – 22 ก.ค. 2565 พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีรายจ่ายเพิ่มมากขึ้น โดยกว่า 68% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า “มีรายจ่ายเพิ่มขึ้นในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา และเกือบ 1 ใน 4 มองว่า รายจ่ายเพิ่มขึ้นมากกว่า 10%”

เมื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง ของทั้งรายได้และรายจ่าย พบว่าผู้บริโภคถึง 45% ระบุว่า “ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ค่าครองชีพที่สูงขึ้นค่อนข้างมาก” โดยเฉพาะกลุ่มรายได้น้อย ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน มีสัดส่วนได้รับผลกระทบสูงกว่ากลุ่มรายได้อื่นๆ ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงการที่ค่าครองชีพที่สูงขึ้น จะส่งผลกระทบต่อคนรายได้น้อยมากกว่า โดยนอกจากรายได้ไม่พอรายจ่าย กลุ่มตัวอย่างเกือบ

“ผักสด – เนื้อสัตว์ – บะหมี่กึ่ง” พาเหรดขึ้นราคา ตามต้นทุนผลิตพุ่งไม่หยุด!

ขณะที่ ‘นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์’ ผู้อำนวยการ สนค. เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของสิงหาคม 2565 อยู่ที่ 7.86% ซึ่งขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนกรกฎาคม 2565 ซึ่งสูงขึ้น 7.61% และคาดว่าเงินเฟ้อของไทยน่าจะถึงจุดสูงสุดแล้ว โดยปัจจัยสำคัญยังคงเป็นราคาพลังงานที่เติบโตถึง 30.50% แม้ราคาน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ จะปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ราคาน้ำมันดีเซล ก๊าซหุงต้ม และค่าไฟฟ้า ซึ่งเป็นต้นทุนการขนส่ง และต้นทุนการผลิตยังคงสูงขึ้น รวมทั้งค่าบริการ

ทั้งนี้ ในเดือน ส.ค. สินค้าในหมวด “อาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์” โดยเฉพาะผักสด ได้แก่ พริกสด ต้นหอม ผักคะน้า ต่างมีราคาปรับสูงขึ้น เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหาย จากอุทกภัยในหลายจังหวัด รวมทั้งเนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ เครื่องประกอบอาหาร และอาหารสำเร็จรูป ราคาปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุนการผลิต ราคาวัตถุดิบ และค่าขนส่ง ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายเดือน ส.ค.เฉลี่ยยังอยู่ที่กว่า 18,000 บาท/ครัวเรือน

5 อันดับสูงสุด ค่าใช้จ่ายครัวเรือน เดือน ส.ค.

สำหรับค่าเฉลี่ยค่าใช้จ่ายครัวเรือน ประจำเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา พบว่า ค่าใช้จ่าย 5 อันดับแรกที่มีสัดส่วนสูงที่สุด ได้แก่

  1. ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าบริการโทรศัพท์มือถือ ตกเฉลี่ย 4,276 บาท
  2. ค่าเช่าบ้าน ค่าสวัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ค่าแก๊สหุงต้ม เครื่องใช้ในบ้าน ตกเฉลี่ย 3,967 บาท
  3. ค่าเนื้อสัตว์ เนื้อไก่ และสัตว์น้ำ ตกเฉลี่ย 1,769 บาท
  4. ค่าอาหารบริโภคในบ้าน และสั่งอาหาร Delivery ตกเฉลี่ย 1,610 บาท
  5. ค่าอาหารนอกบ้าน ข้าวราดแกง ตามสั่ง ฟาสฟู้ด ตกเฉลี่ย 1,236 บาท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง