คัดลอก URL แล้ว
สาธารณสุขอาร์เจนตินา ระบุ ปอดอักเสบเสียชีวิต 3 ราย เป็นโรคลีเจียนแนร์ ไม่ใช่โรคใหม่

สาธารณสุขอาร์เจนตินา ระบุ ปอดอักเสบเสียชีวิต 3 ราย เป็นโรคลีเจียนแนร์ ไม่ใช่โรคใหม่

KEY :

จากกรณีที่มีประเทศอาร์เจนติตา รายงานผู้ป่วยปอดอักเสบไม่ทราบสาเหตุและมีผู้ป่วยเสียชีวิตเสียชีวิตไปแล้ว 4 รายในประเทศ จากผู้ป่วยจำนวน 11 ราย และได้มีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็น “ไวรัสปริศนา” จนนำไปสู่การตรวจสอบสารพันธุกรรมต่าง ๆ ของเชื้อที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุของโรคนี้

ซึ่งในการตรวจสอบในรายงานเบื้องต้นระบุว่า ไม่พบว่าเป็นไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 รวมถึงไม่ใช่เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดไข้หวัดใหญ่ หรือไวรัส Hanta virus แต่อย่างใด

อาร์เจนตินายืนยัน เป็น ลีเจียนแนร์ 

Carla Vizzotti รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของอาร์เจนตินา รายงานผลการตรวจสอบสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่พบทั้งหมดในกลุ่มก้อนนี้ โดยยืนยันว่า ผลการตรวจสอบจีโนมพบว่า เป็นของเชื้อแบคทีเรียลิจิโอเนลลานิวโมฟิวลา

ซึ่งป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในระบบปรับอากาศ และสามารถติดต่อกันได้ผ่านการสูดดม แต่ยังไม่มีรายงานการติดต่อจากคนสู่คน และเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้สามารถรักษาได้ด้วยาปฏิชีวนะ

สำหรับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ รมต.สาธารณสุขของอาร์เจนตินา ระบุว่า พบในระบบปรับอากาศที่ไม่สะอาด และมีความชื้น ทำให้เชื้อสามารถติดมากับละอองฝอยของน้ำในระบบปรับอากาศ และกระจายไปยังผู้ป่วยได้

สำหรับอาการที่พบเมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้คือ มีอาการไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ไอ ปวดศีรษะ หายใจถี่

โดยในขณะนี้อยู่ในระหว่างการเร่งประเมินทางด้านการระบาดวิทยาให้เสร็จสิ้นและดำเนินการควบคุมสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาล ในระหว่างนี้ได้มีการย้ายผู้ป่วยไปยังสถานที่อื่นแล้ว

เกี่ยวกับโรคลีเจียนแนร์

สำหรับโรคลิเจียนแนร์ (Legionella) นั้น มักเกิดจากระบบปรับอากาศที่สกปรก ไม่ได้ล้างแอร์เป็นเวลานาน ทำให้มีฝุ่นเกาะ เมื่อรวมกับความชื้นทั้งจากตัวของเครื่องปรับอากาศ และท่อน้ำทิ้ง ทำให้มีการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงเชื้อแบคทีเรียลิจิโอเนลลานิวโมฟิวลา ที่ก่อให้เกิดโรคลิเจียนแนร์ (Legionella) นี้ด้วย

ทำให้เชื้อชนิดนี้ ลอยไปกับละอองฝอยของอากาศที่เป่าออกมาจากเครื่องปรับอากาศ และเมื่อหายใจเอาละอองน้ำที่มีเชื้อเข้าไป ก็จะเกิดการติดเชื้อได้

ดังนั้นวิธีการป้องกันคือ การล้างแอร์ ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศเป็นประจำ อย่างน้อยทุก 6 เดือน เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคและแบคทีเรียต่าง ๆ สำหรับกรณีที่เป็นระบบแอร์รวม ควรเปิดน้ำทิ้งจากหอหล่อเย็นให้แห้ง หมั่นทำความสะอาดตะกอนต่าง ๆ รวมถึงเติมน้ำยาฆ่าเชื้อรา หรือฆ่าเชื้อด้วยการผสมคลอรีนในปริมาณที่เหมาะสม ในระบบ และทำความสะอาดหอหล่อเย็นไม่ให้มีตะไคร่เกาะ


ข่าวที่เกี่ยวข้อง