KEY :
- ก่อนหน้านี้มีการขุดพบตุ๊กตาหินอ่อน รูปร่างแตกต่างผสมผสานหลายเชื้อชาติ หลังขุดพบจากการบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ซึ่งจารึกที่พบบนประติมากรรมหินสลักบางตัวระบุเป็นภาษาจีน ว่าทำที่มณฑลกวางตุ้ง มณฑลกวางโจว
- ประติมากรรมหินหลักเหล่านี้ปรากฏในภาพถ่ายเก่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วันนี้ (16 กรกฎาคม 65) ที่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว หากใครเดินทางมาเที่ยวชมวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชในวังช่วงนี้ อาจจะแปลกตากับตุ๊กตาหินอ่อนที่มีลักษณะของตุ๊กตาหินทั้งหมดมีรูปร่างแตกต่างผสมผสานหลายเชื้อชาติ การแต่งตัวคล้ายฝรั่ง คนจีน มีทั้งหญิงและชาย บางตัวสลักข้อความภาษาจีนด้านหลัง และตุ๊กตาหินอ่อนชาวยุโรป และมีตุ๊กตารูปปั้นของชาวสยาม ลักษณะการแต่งกายคล้ายสมัยรัชกาลที่ 5
ซึ่งสภาพของตุ๊กตาหินทุกตัวมีความสมบูรณ์ ตั้งประดับ อวดโฉม โดยรอบบริเวณพระศรีรัตนเจดีย์ และพระอุโบสถ หลังขุดพบจากการบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จึงนำมาทำความสะอาดแล้วนำมาจัดวางเพื่อให้ นักท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยแล้วชาวต่างชาติไได้ชื่นชมความสวยงามและถ่ายภาพเป็นที่ระลึก
ทั้งนี้เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ เปิดเผยว่า เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 ในการปรับปรุงเส้นทางเข้าชมภายในพระบรมมหาราชวัง บริเวณประตูมณีนพรัตน์ไปยังประตูสวัสดิโสภา ระหว่างการดำเนินการปรับปรุงก่อสร้างได้ขุดพบประติมากรรมหินสลักจำนวนมาก จึงได้ทำการเปิดการขุดค้นทางโบราณคดี จากหลักฐานพบว่าเป็นประติมากรรมรูปบุคคลหลากหลายเชื้อชาติและสัตว์ในเทพนิยาย ซึ่งจารึกที่พบบนประติมากรรมหินสลักบางตัวระบุเป็นภาษาจีน ว่าทำที่มณฑลกวางตุ้ง มณฑลกวางโจว
จากการสืบค้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในเบื้องต้นพบว่า ประติมากรรมหินหลักเหล่านี้ปรากฏในภาพถ่ายเก่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประดับตกแต่งอยู่โดยรอบพระอารามและมีการโยกย้ายในรัชสมัยต่อๆ กันมา ซึ่งมีหลักฐานจากภาพที่ตีพิมพ์ในหนังสือทั้งในประเทศและต่างประเทศ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการอนุรักษ์ซ่อมแซมประติมากรรมหินสลัก และนำมาประดับในวัดพระศรีรัตนศาสดารามบริเวณตำแหน่งเดิมหรือใกล้เคียงตามหลักฐาน อย่างไรก็ตาม ประชาชนสามารถเข้าชมได้ตั้งแต่เวลา 08.30 น. ถึง เวลา 15.30 น.
ภาพ – วิชาญ โพธิ