คัดลอก URL แล้ว
ความสำคัญ ‘คาร์ซีท’ และข้อกฎหมายที่ควรรู้ ก่อนมีผลบังคับใช้

ความสำคัญ ‘คาร์ซีท’ และข้อกฎหมายที่ควรรู้ ก่อนมีผลบังคับใช้

KEY :

กลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึง สำหรับ ‘คาร์ซีท’ (Car Seat) หรือ ‘ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก’ ภายหลังทาง ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565 ประกาศปรับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จราจรทางบกฉบับล่าสุด มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 123 แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

ทั้งนี้ หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

โดยบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 120 วันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนย่อมเป็นห่วงในความปลอดภัยของบุตร หลาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางด้วย ‘รถยนต์’ ความปลอดภัยต้องมาก่อนเสมอ และการใช้ ‘คาร์ซีท’ ก็เริ่มเป็นนิยมมากขึ้น ซึ่งในต่างประเทศเรื่องนี้ บ้านเขาให้ความสำคัญมาก ทั้งการออกกฎหมายบังคับใช้ การให้ความรู้ต่าง ๆ ในการใช้งาน อาทิ อย่างในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเทศประเทศที่ให้ความสำคัญต่อเรื่องดังกล่าว

กฎหมายของญี่ปุ่นอาจไม่ได้เข้มงวดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ เกี่ยวกับประเภทของที่นั่งที่จะใช้และตำแหน่งที่นั่ง ซึ่งตามกำหนดให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี ต้องนั่งคาร์ซีท แบบหันหน้าไปทางด้านหลัง จนกว่าเด็กอายุ 2 ขวบ หรือน้ำหนักไม่เกิน 9 กิโลกรัม และคาร์ซีทแบบหันหน้าไปทางด้านหน้าสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี และน้ำหนักไม่เกิน 18 กิโลกรัม และ ‘เบาะเสริม’ สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี และน้ำหนักไม่เกิน 36 กิโลกรัม

อย่างไรก็ตามในประเทศญี่ปุ่น หากเด็กไม่อยู่ในคาร์ซีทและถูกตำรวจจับกุม จะไม่มีการปรับแตาจะถูกหักคะแนนใบขับขี่แทน

จะเห็นได้ว่าประเภทการใช้งานของ ‘คาร์ซีท’ นั้นทางผู้ผลิตได้มีการแบบประเภทการใช้งานในแต่ละช่วงอายุไว้อย่างชัดเจน เพื่อความเหมาะสมและความปลอดภัยเมื่อต้องนั่งโดยสาร

สถิติการเกิดอุบัตเหตุในเด็กจากรถยนต์

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล และหัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยว่า จากสถิติพบว่าเด็กที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทั้งหมดพบว่าร้อยละ 20.5 มีเหตุจากการโดยสารรถยนต์ทุกประเภท ซึ่งรวมทั้งรถปิคอัพ รถเก๋ง รถสองแถว รถตู้ รถโดยสาร หรือคิดเป็นร้อยละ 35 ของการเสียชีวิต เฉพาะกลุ่มผู้โดยสาร ในปี 2559 พบการเสียชีวิตของเด็กต่ำกว่า 15 ปีจากอุบัติเหตุจราจรทั้งหมดคิดเป็น 704 ราย เป็น อุบัติเหตุรถยนต์ทุกประเภทรวม 120 ราย

ความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของผู้โดยสารรถยนต์เกิดจากผู้โดยสารเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วของรถยนต์ เมื่อเกิดการชนกระแทกความเร็วของรถยนต์ลดลงอย่างกะทันหันแต่ผู้โดยสารยัง เคลื่อนที่ต่อภายในรถยนต์ทำให้ชนกระแทกถูกโครงสร้างภายในรถยนต์หรือกระเด็นออกนอกรถ

ดังนั้นการยึดเหนี่ยวผู้โดยสารไว้ไม่ให้เคลื่อนที่ต่อเมื่อรถยนต์ถูกหยุดยั้งให้ลดความเร็วลงกะทันหัน จึงเป็นหลักการที่สำคัญในการสร้างความปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บในรถยนต์

ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กในการโดยสารรถยนต์(child seat) นับได้ว่าเป็นนวัตกรรมที่ส่งผลในการลดการตายของเด็กจากการเดินทางด้วยรถยนต์อย่างมาก ประเทศพัฒนาทั้งในสหรัฐ แคนาดา ออสเตรเลีย และยุโรปตะวันตกได้มีคำแนะนำและกฎหมายบังคับใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กมานานหลายปีแล้ว ในสหรัฐอเมริกาได้ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง

รวมทั้งการให้คำแนะนำและแนวทางการลดการบาดเจ็บโดยใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กตั้งแต่ปี ค .ศ. 1983 ได้มีการศึกษาที่พบว่า ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กนี้จะลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในเด็กทารกและ เด็ก 1-4 ปี ถึงร้อยละ 69 ถ้าใช้อย่างถูกวิธี ขณะเดียวกันจะลดความเสี่ยงต่อการตายในเด็กอายุมากกว่า 5 ปีได้ร้อยละ 45 และลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บรุนแรงร้อยละ 50

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง ‘คาร์ซีท’

รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด นี่เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ ขณะที่การอุ้มเด็กนั่งบนตักแล้วพ่อแม่คาดเข็มขัดนิรภัย ในความเป็นจริงก็ไม่ปลอดภัย เพราะเวลาเกิดเหตุจะมีพลังงานการเคลื่อนที่ จนทำให้อ้อมกอดของแม่ไม่สามารถรั้งลูกไว้อยู่ ทำให้เด็กกระเด็นออกนอกรถและเสียชีวิตหลายรายต่อปีจากความเข้าใจผิดดังกล่าว

โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์ที่มีถุงลมนิรภัย การอุ้มเด็กนั่งบนตักทำให้เด็กเข้าใกล้ถุงลมนิรภัยเกินไป เวลาเกิดเหตุจะมีพลังงานย้อนกลับ จึงทำให้อันตรายมากเช่นกัน

นอกจากนี้เข็มขัดนิรภัยภายในรถยนต์ไม่ได้ออกแบบมาให้คาดพอดีกับเด็ก มีความเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บกระดูกไขสันหลัง ไขสันหลังและช่องท้อง สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 9 ปีหรือสูงน้อยกว่า 135 ซม. อาจใช้เข็มขัดนิรภัยปกติไม่ได้ ให้พิจารณาการใช้ที่นั่งนิรภัยเสมอ

ที่นั่งนิรภัยแต่ละช่วงอายุ

การใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กนี้ต้องใช้ให้เหมาะสมกับอายุและขนาดของเด็ก วิธีการเลือกชนิดของที่นั่งนิรภัย และวิธีการใช้ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

ในกรณีรถปิกอัพ ห้ามมิให้มีผู้โดยสารในกะบะหลัง โดยเพาะอย่างยิ่งเด็กโดยเด็ดขาด ผู้โดยสารในกะบะหลังมีความเสี่ยงมากกว่าผู้นั่งในรถ 8 เท่าตัว เด็กที่นั่งในรถปิกอัพต้องใช้ที่นั่งนิรภัยเหมือนกัน แต่หากที่นั่งตอนหลังมีความกว้างไม่เพียงพอที่จะวางที่นั่งนิรภัยได้ ให้วางที่นั่งนิรภัยกับที่นั่งตอนหน้าและต้องไม่มีถุง
ลมข้างคนขับ

การเตรียมความพร้อมกับกฎหมายบังคับใช้ ‘คาร์ซีท’

โดยระยะเวลา 120 วัน ก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้ ไม่ใช่เป็นเพียงเวลาที่ประชาชนต้องเตรียมตัว แต่เป็นเวลาที่รัฐ ชุมชน องค์กร บริษัท หน่วยงานบริการสุขภาพเด็ก หน่วยงานบริการการศึกษาเด็กปฐมวัย ต้องเตรียมตัว ต้องมีมาตรการช่วยเหลือการเข้าถึงที่นั่งนิรภัย

อย่างไรก็ตามในเรื่องของการใช้ ‘คาร์ซีท’ ยังคงเป็นข้อถกเถียงอย่างมากในโลกออนไลน์ จนเกิดความเห็นที่แตกต่างกันออกไป ทั้งประเด็นมองว่าจะยิ่งเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในกับผู้ปกครองหรือไม่ และบางส่วนยังไม่เข้าใจถึงความสำคัญของ ‘คาร์ซีท’

ก็หวังว่าในระหว่างตัวกฎหมายจะมีผลบังคับใช้นั้น ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะออกมาให้ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ให้เพียงพอ สร้างความเข้าใจ รวมทั้งภาครัฐควรมีมาตรการเพื่อเข้ามาดูแลในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน


ข้อมูล :


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เพื่อการนำเสนอเนื้อหาที่ดี รวมถึงการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากคุณใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆนั้น แสดงว่าคุณยอมรับนโยบายคุกกี้และนโยบายส่วนบุคคลของเรา