คัดลอก URL แล้ว
สิงคโปร์เดินหน้าพลังงานนิวเคลียร์ ตั้งเป้าปี 2050 ผลิตให้ได้ 10%

สิงคโปร์เดินหน้าพลังงานนิวเคลียร์ ตั้งเป้าปี 2050 ผลิตให้ได้ 10%

KEY :

รายงานฉบับใหม่ของประเทศสิงคโปร์เตรียมเดินหน้าโครงการพลังงานนิวเคลียร์อีกครั้ง โดยมุ่งเป้าหมายให้สามารถเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าให้ได้ 10% ภายในปี 2050 เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนให้เหลือศูนย์ ซึ่งในปัจจุบันนี้พลังงานไฟฟ้า 95% ของสิงคโปร์มาจากการใช้ก๊าซในการผลิตไฟฟ้า ส่วนที่เหลือมาจากการใช้ถ่านหิน น้ำมัน และเชื้อเพลิงอื่น ๆ ในการผลิต

ซึ่งในกระบวนการผลิตไฟฟ้าของสิงคโปร์นี้ ก่อให้เกิดการปลดปล่อยคาร์บอนราว 40% ของกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศสิงคโปร์ ดังนั้นเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนออกสู่สิ่งแวดล้อม หนึ่งในพลังงานทางเลือกที่ถูกพูดถึงคือ “พลังงานนิวเคลียร์”

(ที่มา – nccs.gov.sg)

ทางเลือกเก่าด้วยเทคโนโลยีใหม่

ด้วยขนาดพื้นที่ของประเทศสิงคโปร์ที่เป็นเกาะ มีพื้นที่ขนาดเล็ก ทำให้เป็นข้อจำกัดในการจะพิจารณาพลังงานทางเลือกต่าง ๆ ได้ไม่มากนัก ที่ผ่านมาจึงเคยมีการศึกษาแนวทางการสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้ามาแล้ว แต่ผลการศึกษาในครั้งนั้นได้ข้อสรุปว่า “ไม่เหมาะกับสิงคโปร์” เนื่องจากขนาดของโรงไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ และปัญหาด้านความปลอดภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้

แต่ในปัจจุบัน มีการพัฒนาปรับปรุงในด้านของเตาปฏิกรณ์รุ่นใหม่ ที่มีทดสอลแล้วในประเทศจีน ฝรั่งเศส และสหรัฐฯ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่า “มีความปลอดภัยสูงกว่า” เตาปฏิกรณ์ในแบบเดิม นั่นคือ เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็ก หรือ Small Modular Reactors (SMR) ที่ถูกออกแบบมาให้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ไม่กิน 300 MWh

เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หลิงหลง-1 ของจีน กำลังการผลิต 125 เมกะวัตต์ไฟฟ้า (MWe)
(แฟ้มภาพ – ซินหัว , 13 ก.ค. 2021)

ซึ่งสิงคโปร์ประเมินว่า ในปี 2030 นั้นพลังงานนิวเคลียร์จะมีศักยภาพเพียงพอและพร้อมที่จะเริ่มต้นในประเทศได้ นอกจากนี้ยังเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันความมั่นคงทางพลังงานให้กับสิงคโปร์ได้อีกด้วย จากปัญหาภายนอกต่าง ๆ อย่างที่เกิดขึ้นในขณะนี้ จากการเปิดปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียต่อยูเครน และส่งผลให้ราคาก๊าซ-น้ำมันผันผวนอย่างต่อเนื่อง

มีความปลอดภัยเพียงพอ

จากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมาเกี่ยวกับปัญหาของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ทำให้มีความกังวลเรื่องของความปลอดภัย การรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสี ซึ่งจากเทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์รุ่นใหม่อย่าง SMR นั้นมีความปลอดภัยที่สูงกว่า เนื่องจากขนาดเตาที่เล็ก ความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาจึงน้อยกว่า รวมถึงของเสียที่เกิดขึ้นจากโรงงานผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์ก็น้อยกว่าด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ ในปัจจุบันยังมีการพัฒนาเตาขนาดเล็กเหล่านี้ที่ยังสามารถพัฒนาเป็น โรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบลอยน้ำ หรือ Floating Nuclear Power Plant เหมือนกับในรัสเซียที่สร้าง Akademik Lomonosov ซึ่งเป็นโรงผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ลอยน้ำลำแรกของโลก ซึ่งหากสร้างในรูปแบบนี้ ก็สามารถนำไปลอยไว้นอกชายฝั่งเพื่อผลิตไฟฟ้ากลับมาบนฝั่งได้

Akademik Lomonosov -โรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ลอยน้ำลำแรกของโลก
(ภาพ – FNPP)

โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสิงคโปร์ ประเมินว่า เป็นก้าวสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงสิงคโปร์ไปสู่พลังงานทางเลือกใหม่ ๆ ที่มีความปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบฟิวชั่น ซึ่งต่างจากเตาปฏิกรณ์แบบฟิชชั่นที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้ โดย

ซึ่งเตาปฏิกรณ์ฟิวชั่นนี้ มักถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์” เนื่องจากเป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบเดียวกับที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ แม้ว่าเตาปฏิกรณ์แบบฟิวชั่นนั้น ยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา และมีความก้าวหน้าแล้วเช่น

แม้ในปัจจุบันยังอยู่ในระหว่างการศึกษาและพัฒนา แต่ก็ความเป็นไปได้ที่จะประสบความสำเร็จในระดับของการพัฒนาเพื่อใช้งานได้จริง และถึงเวลานั้น ทางการสิงคโปร์ก็ได้มองถึงเตาปฏิกรณ์ในชนิดนี้ไว้เช่นกัน


ข้อมูล :


ข่าวที่เกี่ยวข้อง