คัดลอก URL แล้ว
รู้เท่าทัน ‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’ ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

รู้เท่าทัน ‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’ ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

ประเด็นน่าสนใจ

ในช่วงนี้เรามักจะเห็นข่าวแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ระบาดอย่างหนัก จากขบวนการของมิจฉาชีพ ทั้งการหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว จนนำไปสู่การหลอกให้โอนเงิน สร้างความเสียหายให้กับประชาชนที่หลงเชื่ออย่างมาก ซึ่งเราจะเห็นได้ตามที่ปรากฏในข่าวเกือบทุก ๆ วัน

และยิ่งไปกว่านั้นแก๊งคอลเซ็นเตอร์เหล่านี้ ได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์วิธีในการหลอกลวงอยู่เสมอตามสถานการณ์ ทั้งการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ การแอบอ้างเป็นพนักงานของบริษัทขนส่งเอกชน การทวงหนี้นอกระบบ การหลอกเหยื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีฟอกเงิน คดียาเสพติด หรือแอบอ้างว่าเป็นบริษัทประกัน

ซึ่งขบวนการของแก๊งคอลเซ็นเตอร์จะมีการทำงานกันอย่างเป็นระบบชัดเจน ทั้งการสร้างทีมงาน การเปิดบัญชีม้า สร้างความเสียหายกระทบไปถึงผู้ที่ไปรับเปิดบัญชี เพื่อแลกเงินไม่กี่ร้อยบาท แต่กลับอาจมีคดีติดตัว ทั้งการฟอกเงิน หรือนำบัญชีธนาคารไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย

ถึงแม้ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐจะมีการออกประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือนถึงวิธีการหลอกลวงของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แต่ก็ยังมีผู้เสียหายหน้าใหม่อยู่เรื่อย ๆ และยิ่งไปกว่านั้นจากข้อมูลของทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยังสืบทราบได้ว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์เหล่านี้ ส่วนใหญ่จะกับดานอยู่ในแถบประเทศเพื่อนบ้านเราทั้งสิ้น โดยเฉพาะในกัมพูชา ซึ่งเบอร์โทรศัพท์ส่วนใหญ่จะเป็นเบอร์แปลก ๆ ทั้งสิ้น

‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’ มาในรูปแบบไหนบ้าง…?

ทวงหนี้นอกระบบ

พฤติการณ์แก๊งคอลเซ็นเตอร์กลุ่มนี้จะสุ่มโทรศัพท์ไปหาเหยื่อ พร้อมอ้างว่า มีคนกู้เงินจำนวนหนึ่ง โดยระบุว่าคนที่กู้เงินนั้นได้ให้ชื่อเหยื่อกับเบอร์โทรศัพท์ไว้ หรืออ้างว่าญาติของเหยื่อไปกู้เงินมา แล้วให้ชื่อเหยื่อเป็นคนจ่ายหนี้แทน

พัสดุมียาเสพติด

แก๊งคอลเซ็นเตอร์จะโทรศัพท์หาเหยื่อ พร้อมอ้างพัสดุที่ส่งไปต่างประเทศมีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด จะต้องคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งที่เหยื่อไม่เคยส่งอะไรไปเลย ซึ่งถ้าหากเหยื่อหลงกล ก็จะมีการหลอกให้โอนเงินหลักหมื่นหลักแสนมาให้เพื่อไปตรวจสอบ

หลอกว่าเกี่ยวข้องกับคดีฟอกเงิน

แก๊งคอลเซ็นเตอร์จะโทรศัพท์หาเหยื่อ ป.ป.ง. อ้างว่าเหยื่อเกี่ยวพันกับคดีฟอกเงิน ให้โอนเงินเพื่อมาตรวจสอบ

หลอกว่าเป็นบริษัทประกัน

แก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรศัพท์อ้างเป็นเจ้าหน้าที่บริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง มีการพูดคุยเรื่องรับสินไหม ต่อมาโอนสายให้คุยกับบุคคลที่อ้างว่าเป็นตำรวจ และหลอกว่ามีผู้นำบัญชีไปใช้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ต้องอายัดบัญชีแต่ถ้าหากใช้เงิน ต้องโอนเงินกลับไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ

อ้างเป็นเป็นการไฟฟ้าฯ แจ้งว่าจะตัดไฟ

แก๊งคอลเซ็นเตอร์จะแอบอ้างเป็นพนักงานของการไฟฟ้านครหลวง เพื่อหลอกลวงผู้ใช้ไฟฟ้าว่ามียอดค้างชำระให้รีบติดต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อชำระค่าไฟฟ้าเป็นการเร่งด่วน มิเช่นนั้นจะถูกตัดไฟฟ้า

ซึ่งทาง การไฟฟ้านครหลวง ได้ออกมายืนยันว่าแล้ว ปัจจุบันไม่มีนโยบายเรียกเก็บค่าไฟฟ้าผ่านทาง Call Center แต่อย่างใด และไม่มีนโยบายให้พนักงานเรียกเก็บค่าไฟตามบ้าน

หลอกทวงค่าปรับใบสั่งจราจร

แก๊งคอลเซ็นเตอร์จะแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ โทรทวงค่าปรับใบสั่งจราจรที่ค้างชำระ โดยอ้างว่าเหยื่อกระทำผิดกฎหมายจราจร และให้ชำระค่าปรับด้วยการโอนเงินไปยังหมายเลขบัญชีที่ได้ระบุไว้

ในส่วนนี้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ออกมายืนยันแล้วว่า ตำรวจมีช่องทางให้ชำระค่าปรับใบสั่งจราจรได้ 3 ช่องทาง คือ จ่ายทางธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกธนาคาร และตู้บุญเติม จุดบริการชำระเงินอื่น ๆ ได้แก่ ไปรษณีย์ทุกสาขา และจุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส ที่มีสัญลักษณ์ คำว่า “PTM” และสามารถเดินทางไปชำระได้ที่สถานีตำรวจทุกแห่ง

ยังไม่นับอุบายในรูปใหม่ ๆ ทั้งการใช้รูปภาพเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ และมีการท้าให้เปิดกล้อง ซึ่งเมื่อเปิดกล้องและพบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจตามภาพที่ปรากฏนั่งอยู่ แต่ภาพของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่พูดนั้น มีเพียงแค่ปากและตาที่ขยับเท่านั้น ซึ่งมีบรรดากูรูด้านไอที ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการดังกล่าวว่าเป็น deepfake หรือ deepfake dubs ซึ่งเป็นแอปฯ ที่สามารถทำให้ปากขยับตามเสียงพูดได้

ข้อสังเกตว่าเป็น ‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’ หรือไม่

ในส่วนแรกที่เรามักจะพบเจอบ่อย ๆ คือ เบอร์โทรศัพท์หมายเลขแปลก ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีทั้งเบอร์มือถือ หรือเบอร์จากต่างจังหวัด รวมถึงเบอร์โทรศัพท์จากต่างประเทศ ซึ่งมักจะขึ้นต้นด้วย +830 / +870

พร้อมแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการ บริษัทขนส่งหรือธนาคารชื่อดังรายใหญ่เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ พร้อมด้วยข้ออ้างต่าง ๆ อาทิ พบบัญชีเงินฝากไปพัวพันกับการค้ายาเสพติดหรือการฟอกเงิน หรือ ได้รับเงินรางวัลแต่ต้องจ่ายเงินส่วนหนึ่งก่อนเพื่อรับเงินรางวัล เป็นต้น

แก๊งคอลเซ็นเตอร์พวกนี้การทำงานกันอย่างเป็นทีม โดยมักจะมีอุบายว่าจะโอนสายไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ (ปลอม) เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้เหยื่อคล้อยตามและหลงเชื่อ

วิธีเช็กและรับมือกับ ‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’

วิธีที่ง่ายที่สุด คือ เมื่อพบเบอร์แปลก พยายามอย่ารับสายเพื่อลดความเลี่ยงในการถูกหลอก หรือเพิ่มความปลอดภัยด้วยการติดตั้งแอปพลิเคชั่น Whoscall ซึ่งเป็นแอปฯ ที่จะช่วยกรองเบอร์โทรศัพท์ที่โทรเข้ามาหาเราได้

หรือหากมีการรับสายไปแล้วควรตั้งสติอย่าหลงเชื่อ ทั้งการแอบอ้างว่าเป้นเจ้าหน้าที่รัฐ หรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ ระบุว่าเราได้ไปกระทำผิด และหลอกให้โอนเงินเพื่อตรวจสอบบัญชี อย่าให้ข้อมูลส่วนตัวเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เลขบัตรประชาชน รวมทั้งเลขบัญชี รวมทั้งควรตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์ หรือ เลขบัญชี เพื่อความแน่ใจ ซึ่งปัจจุบันได้มีการทำแบล็คลิสต์รายชื่อของพวกแก๊งมิจฉาชีพเหล่านี้ไว้

‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’ ในกัมพูชาตั้งฐานหลอกคนไทย

เมื่อวันที่ 12 ก.พ.65 พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ตำรวจ PCT และ DES ได้เดินทางกลับจากกัมพูชาแล้ววานนี้ พร้อมนำผู้ต้องหา 21 ราย กลับมาดำเนินคดีได้สำเร็จ ภายหลังทางการได้ประสานความร่วมมือปฏิบัติการจับกุมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่ฝังตัวอยู่ในกัมพูชา และเดินทางไปยังประเทศกัมพูชา เพื่อพบกับ ผู้แทนฝ่ายรัฐบาลกัมพูชา ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยกับเจ้าหน้าที่กัมพูชา ได้เปิดปฏิบัติการเข้าตรวจค้นเป้าหมายจำนวน 3 จุดพร้อมกัน คือ

รวมทั้ง 3 จุด สามารถจับตัวผู้ต้องหาได้ทั้งสิ้น 21 ราย โดยเจ้าหน้าที่กัมพูชาจะนำตัวผู้ต้องหาทั้งหมดส่งให้เจ้าหน้าที่ ตม.จว.สระแก้ว เพื่อกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย ในข้อหา เป็นอั้งยี่ซ่องโจร มีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ

แนวทางการแก้ไขปัญหา ‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’

ทาง สำนักงาน กสทช. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้ร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาแก๊ง Call Center หลอกลวงประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล โดยได้กำชับผู้ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ (IDD) ทั้ง 6 ราย

ได้แก่ บริษัท เอไอเอ็น โกลบอลคอม จำกัด บริษัท ดีแท็ค ไตรเน็ต จำกัด บริษัทแอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ท จำกัด บริษัท โอทาโร่ เวิลด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด บ ริษัททรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ดำเนินการการแก้ไขปัญหาแก๊ง Call Center หลอกลวงอย่างเคร่งครัด

โดยได้กำหนดมาตรการ ดังนี้

แม้ปัจจุบันทางหน่วยงานรัฐจะมีมาตรการป้องกันมิจฉาชีพเหล่านี้ในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็อยู่ที่ตัวเราเองด้วยเช่นกัน ควรหาศึกษาข้อมูลของแก๊งมิจฉาชีพเหล่านี้ จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อและสูญเสียเงินในอนาคต

ข้อมูล


ข่าวที่เกี่ยวข้อง